xs
xsm
sm
md
lg

ลาวเดินหน้าสร้างเขื่อนยักษ์บนแม่น้ำโขงในสัปดาห์นี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพจากเว็บไซต์ International River Network ซึ่งระบุว่าเป็นแม่น้ำโขงช่วงเมืองไซยะบูลี ที่บริษัท ช.การช่าง จากไทยจะสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาด 1,260 เมกะวัตต์ แต่รัฐบาลลาวได้ตกลงเลื่อนออกไปเมื่อปีที่แล้ว ล่าสุดลาวประกาศว่าจะเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนในสัปดาห์นี้ และระบุว่าเขื่อนแห่งนี้จะโปร่งใสและเป็นเขื่อนทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก. </font></b>

เอเอฟพี - ลาวระบุวันนี้ (5 พ.ย.) ว่า จะเริ่มต้นก่อสร้างเขื่อนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์บนแม่น้ำโขงในสัปดาห์นี้ หลังปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงการเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อนบ้าน

“หลังจากเตรียมการนาน 2 ปี รัฐบาลลาวจะทำพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 7 พ.ย. และจะเริ่มก่อสร้างตัวเขื่อนในแม่น้ำโขงในสัปดาห์นี้” นายวีระพน วีระวง รัฐมนตรีช่วยกระทรวงพลังงานกล่าว

โครงการเขื่อนไฟฟ้าไซยะบูลีมูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์ ที่ดำเนินการโดยกลุ่มบริษัท ช.การช่างของไทย ได้แบ่งแยกความเห็นของประเทศอนุภาคลุ่มน้ำโขง 4 ประเทศ คือ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย ที่ต่างพึ่งพาระบบแม่น้ำสายนี้ในการประมง และชลประทาน และการก่อสร้างถูกระงับนาน 18 เดือน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นายวีระพน กล่าวว่า รูปแบบเขื่อนบางส่วนถูกปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน และยืนยันว่า การก่อสร้างจะเป็นไปตามกำหนดที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2562

เขื่อนขนาด 1,260 เมกะวัตต์ ที่เป็นเขื่อนแรกจากทั้งหมด 11 แห่งบนเส้นทางน้ำสำคัญสายนี้ จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเสี่ยงจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในภูมิภาค

ลาว ที่เป็นหนึ่งในประเทศด้อยพัฒนาของโลกเชื่อว่าเขื่อนจะช่วยให้ลาวกลายเป็น “แบตเตอรี่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จากการขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านที่ร่ำรวยกว่า

ไทยเห็นชอบที่จะซื้อพลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จากโครงการนี้ แต่กัมพูชา และเวียดนามวิตกว่าเขื่อนจะทำลายอุตสาหกรรมประมงและการเกษตรของประเทศ

นักสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า เขื่อนจะส่งผลกระทบต่อประชาชน 60 ล้านคนที่พึ่งพาแม่น้ำในการคมนาคม แหล่งอาหาร และเศรษฐกิจ นอกจากนั้น สายพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขงจะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากสารอาหารสำคัญถูกดักไว้เหนือเขื่อน และปลาหลายสิบสายพันธุ์ไม่สามารถว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นไปวางไข่เหนือเขื่อนได้

ในเดือน ก.ค. นายวีระพนกล่าวกับหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์สว่า เขื่อนแห่งนี้จะเป็นเขื่อนที่โปร่งใส และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่การก่อสร้างจะไม่คืบหน้าจนกว่าความวิตกกังวลของประเทศเพื่อนบ้านจะได้รับการแก้ไข

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโครงการจะจัดการกับประเด็นปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ การอพยพของปลา และการไหลของตะกอน ด้วยการรวมเส้นทางที่ทำให้ปลาประมาณ 85% สามารถว่ายไปตามแม่น้ำได้ และระบบจ่ายน้ำป้องกันตะกอนตกค้าง.
กำลังโหลดความคิดเห็น