xs
xsm
sm
md
lg

ลาวยืนยันเขื่อนยักษ์ไซยะบูลีลงมือก่อสร้างแล้ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ชายชาวเขมรยืนอาบน้ำวัวในแม่น้ำโขง ในกรุงพนมเปญ วันที่ 7 พ.ย. ลาวจัดพิธีวางศิลาฤกษ์เริ่มต้นการก่อสร้างเขื่อนมูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์บนแม่น้ำโขง ในวันพุธ (7) แม้จะมีเสียงคัดค้านจากนักสิ่งแวดล้อมและประเทศเพื่อนบ้านต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนยักษ์แห่งนี้ก็ตาม. --  REUTERS/Samrang Pring. </font></b>

เอเอฟพี - ลาวเริ่มงานก่อสร้างเขื่อนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ที่เป็นประเด็นขัดแย้งแล้ว เจ้าหน้าที่ชาวลาวยืนยันวานนี้ (8 พ.ย.) ในความพยายามที่จะกลายเป็นศูนย์กลางทางพลังงานของภูมิภาค แม้จะมีเสียงคัดค้านจากนักสิ่งแวดล้อมก็ตาม

การก่อสร้างในส่วนหลักของเขื่อนไฟฟ้ามูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์ ที่เมืองไซยะบูลี หลังระงับโครงการไปประมาณ 18 เดือน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ ได้เริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากลาวระบุว่า ได้ปรับรูปแบบเขื่อนแก้ไขข้อกังวลของประเทศเพื่อนบ้าน

“เราเริ่มงานบนแม่น้ำตั้งแต่วันพุธ (7) หลังพิธีวางศิลาฤกษ์” นายวีระพน วีระวง รัฐมนตรีช่วยกระทรวงพลังงานของลาวกล่าว และปฏิเสธรายงานก่อนหน้าที่ระบุว่านายกรัฐมนตรีของลาวกล่าวว่างานก่อสร้างยังไม่ได้เริ่มขึ้น

โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าแห่งนี้ ที่ดำเนินการโดยบริษัท ช.การช่างของไทย มีความเห็นขัดแย้งกันระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขง 4 ประเทศ คือ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย ที่ต่างพึ่งพาอาศัยแม่น้ำสายนี้ในการชลประทาน และการประมง โดยไทยเห็นชอบที่จะซื้อพลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จากเขื่อนแห่งนี้ แต่กัมพูชา และเวียดนามวิตกว่า เขื่อนจะสร้างความเสียหายให้แก่การเกษตร และอุตสาหกรรมการประมงของประเทศ

ลาวระบุว่าโครงการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ในปลายปี 2562

“ทูตของเวียดนาม และกัมพูชาได้เข้าร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์” นายวีระพง กล่าว หลังถูกถามว่า ประเทศเพื่อนบ้านได้แสดงความคิดเห็นร้องเรียนเกี่ยวกับการเริ่มต้นการก่อสร้างอย่างเป็นทางการหรือไม่

ลาวเชื่อว่า เขื่อนแห่งนี้จะช่วยให้ประเทศกลายเป็นแบตเตอรี่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการขายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน แต่นักสิ่งแวดล้อมระบุว่า โครงการจะสร้างผลกระทบต่อประชาชนราว 60 ล้านคนที่พึ่งพาแม่น้ำสายนี้ในการคมนาคม เป็นแหล่งอาหาร และเศรษฐกิจ นอกจากนั้น สายพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขงจะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากสารอาหารสำคัญถูกดักไว้ที่เขื่อน และปลาหลายสิบสายพันธุ์ไม่สามารถว่ายขึ้นไปยังต้นน้ำเพื่อวางไข่ได้.
กำลังโหลดความคิดเห็น