xs
xsm
sm
md
lg

UN วิตกค่ายลี้ภัยเหตุรุนแรงในพม่าแออัดเกินขีดจำกัด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>มุสลิมโรฮิงญาเดินอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่ตั้งอยู่ชานเมืองซิตตะเว  วันที่ 30 ต.ค. ค่ายพักแรมชั่วคราวหลายแห่งแออัดไปด้วยผู้ลี้ภัยอพยพเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิ.ย. และจากเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นล่าสุดในเดือนนี้ ทำให้มีผู้อพยพยระลอกใหม่หนีภัยมาอาศัยค่ายเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เกินกว่าที่ค่ายจะรองรับและดูแลได้อย่างทั่วถึง--  AFP PHOTO/Soe Than Win. </font></b>

เอเอฟพี - อาหาร น้ำ และความช่วยเหลือทางการแพทย์กำลังขาดแคลนในค่ายพักแรมชั่วคราวทางพื้นที่ตะวันตกของพม่า ที่มีผู้อยู่อาศัยเกินกว่าศักยภาพที่จะรองรับได้ หน่วยงานของสหประชาชาติระบุวานนี้ (30 ต.ค.) ขณะที่ทางการพม่าพยายามควบคุมการโจมตีกันระหว่างชุมชน

เหตุนองเลือดระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมในรัฐยะไข่เป็นเหตุให้ประชาชนมากกว่า 28,000 คนต้องหลบหนีออกจากที่พักอาศัยในเดือนนี้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

“มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องบังคับใช้กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ป้องกันความรุนแรงเพิ่มเติม และให้การเข้าถึงเป็นไปโดยสะดวก เพื่อให้ความช่วยเหลือสามารถนำไปถึงผู้ที่ต้องการ” หน่วยงานของสหประชาชาติกล่าว

การต่อสู้อย่างต่อเนื่องที่ปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 21 ต.ค. ที่มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน และแหล่งที่อยู่อาศัยถูกเผาทำลายราบคาบจากการลอบวางเพลิงโจมตี เจ้าหน้าที่สหประชาชาติระบุว่า การต่อสู้ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เกิดการทำลายล้างอย่างกว้างขวางและการอพยพย้ายที่อยู่ของผู้คนเป็นจำนวนมาก

ประชาชนหลายพันคนที่ส่วนใหญ่มาจากชุมชนมุสลิมในรัฐยะไข่ต้องเดินทางไปยังค่ายพักแรมชั่วคราว ที่ในเวลานี้มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอยู่แล้วกว่า 75,000 คน ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โจมตีกันในเดือน มิ.ย.

“เมื่อรวมกับผู้ลี้ภัยกลุ่มใหม่ ค่ายพักแรมที่แน่นขนัดอยู่ก่อนแล้วก็ไม่สามารถรองรับได้ไหว ทั้งในด้านพื้นที่ หรือสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เช่น อาหาร และน้ำ” UNHCR ระบุ และว่า ราคาอาหารในบริเวณดังกล่าวปรับสูงขึ้นเท่าตัว และไม่มีแพทย์เพียงพอจะรักษาผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ

เจ้าหน้าที่รัฐระบุเมื่อวันอังคาร (30) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงปืนสังหารชาวยะไข่ 1 คน ระหว่างการปะทะกันครั้งใหม่ ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุรรุนแรงครั้งล่าสุดเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 89 คน

“มีประชาชนจำนวนหลายพันคนที่นั่น เราไม่ทราบว่าสถานการณ์ผ่อนคลายลงหรือยังในตอนนี้ เพราะการสื่อสาร และการคมนาคมเป็นไปอย่างยากลำบาก” เจ้าหน้าที่กล่าวถึงเหตุการต่อสู้ในเมืองจอก์โพ หนึ่งในหลายเมืองที่เกิดเหตุความรุนแรง

UNHCR ระบุว่า ประชาชนมากกว่า 3,000 คน เดินทางโดยเรือมุ่งหน้าไปยังเมืองซิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ หวังที่จะหาที่พักแรมในค่ายที่อยู่ตามแนวชายฝั่งใกล้ชานเมือง และ UNHCR ยังแสดงความวิตกเกี่ยวกับการเข้าถึงผู้ไร้ที่อยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงยากอย่างแสนสาหัส และว่าไม่สามารถระบุจำนวนผู้ที่หลบหนีขึ้นเขาได้ว่ามีจำนวนเท่าใด

หน่วยงานระบุว่า ประชาชนอีกประมาณ 6,000 คน ติดอยู่บนเรือ หรือบนเกาะเล็กๆ ตามแนวชายฝั่งด้านตะวันตกของพม่า และกำลังหาหนทางที่ปลอดภัยเพื่อที่พวกเขาจะสามารถรับความช่วยเหลือได้

ด้านโฆษกรัฐยะไข่ระบุว่า เหตุความไม่สงบอาจต่อเนื่องลุกลามออกไป อาจนานหลายเดือน หรือหลายปีกว่าจะสงบ

พม่าปฏิเสธข้อเสนอของอาเซียนที่จะเปิดการเจรจาหารือในการควบคุมเหตุความขัดแย้ง และเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ผู้บัญชาการรักษาความปลอดภัยแนวพรมแดนบังกลาเทศระบุว่า ได้ผลักดันชาวมุสลิมโรฮิงญามากกว่า 160 คน ที่หลบหนีออกจากรัฐยะไข่ให้กลับประเทศนับตั้งแต่เหตุความรุนแรงระลอกใหม่ปะทุขึ้น โดยระบุว่า บังกลาเทศไม่สามารถรับผู้ลี้ภัยกลุ่มใหม่จากพม่าได้ เนื่องจากมีผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแล้วประมาณ 300,000 คน.
<br><FONT color=#000033>ชาวมุสลิมโรฮิงญาที่เพิ่งเดินทางหนีภัยความรุนแรงมาจากเมืองปอก์ต่อว์ ยืนอยู่ข้างที่พักในค่ายพักแรมชั่วคราวที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล ชานเมืองซิตตะเว--  AFP PHOTO/Soe Than Win. </font></b>
<br><FONT color=#000033>ชายชาวมุสลิมโรฮิงญานั่งอยู่ในเรือประมงที่ทอดสมอใกล้กับค่ายพักแรมชั่วคราว ที่ตั้งอยู่ชานเมืองซิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ วันที่ 30 ต.ค. --  AFP PHOTO/Soe Than Win. </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น