xs
xsm
sm
md
lg

UN ระบุเหตุรุนแรงรัฐยะไข่ล่าสุดมีผู้ไร้ที่อยู่มากกว่า 20,000 คน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชาวเมืองปอก์ต่อว์รวบรวมข้าวของจากซากบ้านที่ถูกเผาทำลาย จากเหตุความรุนแรงครั้งล่าสุด วันที่ 27 ต.ค. ชาวมุสลิมจำนวนมากล่องเรือหนีไปยังค่ายผู้ลี้ภัย หาเกาะหรือหมู่บ้านตามชายฝั่งที่ปลอดภัยเพื่อพักอาศัย สหประชาชาติระบุว่า จากเหตุรุนแรงระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้ทำให้มีผู้อพยพไร้ที่อยู่มากกว่า 22,000 คน และส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม.--REUTERS/Soe Zeya Tun. </font></b>

เอเอฟพี - ประชาชนมากกว่า 22,000 คน ที่ส่วนใหญ่มาจากชุมชนมุสลิมต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัยของตนเองในภาคตะวันตกของพม่า สหประชาชาติระบุวันนี้ (28 ต.ค.) หลังเกิดความรุนแรง และการลอบวางเพลิงระลอกใหม่ที่ทำให้ประชาชนหลายสิบคนเสียชีวิต

ย่านที่อยู่อาศัยถูกทำลายอย่างราบคาบในเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ในช่วงสัปดาห์นี้ ที่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิรูปของประเทศ ประชาชนราว 75,000 คนต้องอาศัยอยู่ในค่ายพักแรมที่แออัดหลังเกิดเหตุปะทะกันระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.

นายอาโช๊ค นีกาม หัวหน้าสำนักงานสหประชาชาติในนครย่างกุ้ง ระบุว่า รัฐบาลประเมินตัวเลขในเช้าวันนี้ (28) ว่า มีประชาชน 22,587 คน ต้องอพยพออกจากที่อยู่ และบ้าน 4,665 หลัง ถูกไฟเผาเสียหาย ในเหตุนองเลือดครั้งล่าสุด

“นี่เป็นการประมาณการในปัจจุบัน และเราสงสัยว่าอาจจะมีตัวเลขเพิ่มขึ้น” นายนีกาม กล่าว และว่าผู้ไร้ที่อยู่อาศัย 21,700 คน เป็นชาวมุสลิม

การต่อสู้ครั้งล่าสุด มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 80 คน ตามการระบุของรัฐบาล ที่ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตรวมทั้งหมดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. สูงกว่า 170 คน

ในเมืองมินเบีย หนึ่งใน 8 เมืองที่ได้รับผลกระทบจากการต่อสู้ เจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโสกล่าวว่า มีประชาชนมากกว่า 4,000 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมไร้ที่อยู่อาศัย หลังบ้านเรือนหลายร้อยหลังใน 6 หมู่บ้านถูกเผาทำลาย

“ผู้ประสบภัยบางรายอาศัยอยู่ในบ้านของญาติพี่น้อง บางคนอาศัยในค่ายพักแรม แต่พวกเขายังพักอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่ถูกเพลิงไหม้” เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าว

นายนีกาม ที่เพิ่งเดินทางกลับจากการเยือนรัฐยะไข่ กล่าวว่า สหประชาชาติกังวลถึงสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจลุกลามออกไปได้ และอาจเป็นอุปสรรคมากขึ้นต่อการเข้าถึงผู้ไร้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่ห่างไกล และในเวลานี้สหประชาชาติได้ระดมอาหาร และที่พักไปยังชุมชนผู้ไร้ที่อยู่อาศัย แต่ยังคงต้องการอีกเป็นจำนวนมาก

ส่วนผู้อพยพยทางเรือที่เดินทางถึงเมืองซิตตะเวต่างพยายามหาที่พักอาศัยในค่ายพักแรมชานเมืองซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมโรฮิงญาตั้งแต่เหตุความไม่สงบเมื่อเดือน มิ.ย.

โฆษกรัฐยะไข่ กล่าวเมื่อวันเสาร์ (27) ว่า ประชาชนประมาณ 6,000 คน เดินทางมาถึงเมืองซิตตะเว และเจ้าหน้าที่พยายามจัดหาที่อยู่ให้แก่คนเหล่านี้ในพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากค่ายพักที่มีอยู่แน่นขนัดไปด้วยผู้คน

ความเกลียดชังระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในรัฐยะไข่นับตั้งแต่ความรุนแรงปะทุขึ้นในเดือน มิ.ย. ชาวโรฮิงญา 800,000 คนในพม่า ถูกมองว่าเป็นผู้อพยพเข้าประเทศผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

ด้านฮิวแมนไรท์วอชเผยภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อวันเสาร์ (27) แสดงให้เห็นภาพการทำลายล้างอย่างกว้างขวาง บ้านเรือน และทรัพย์สินต่างๆ ในพื้นที่ของชาวมุสลิมโรฮิงญาในเมืองจอก์โพ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวท่อส่งก๊าซสำคัญจากพม่าไปจีน ซึ่งภาพถ่ายนั้นเผยให้เห็นความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างพื้นที่แนวชายฝั่งเมื่อเดือน มี.ค. ยังคงเต็มไปด้วยที่อยู่อาศัย และเรือ แต่หลังจากเหตุความรุนแรงครั้งล่าสุด สิ่งก่อสร้างต่างๆ หายไปจากพื้นที่.
<br><FONT color=#000033>ประชาชนหอบข้าวของอพยพยออกจากเมืองปอก์ต่อว์ หลังเดินทางถึงค่ายผู้ลี้ภัย ชานเมืองซิตตะเว วันที่ 28 ต.ค.--REUTERS/Soe Zeya Tun. </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น