.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นไป สหรัฐฯ จะกลับคืนสู่เอเชียอย่างเป็นขบวนการ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ กลับมาพร้อมเขี้ยวเล็บต่างๆ เต็มอัตราศึก และต่างไปจากเมื่อหลายทศวรรษก่อน สหรัฐฯ กลับมาอย่างไฮเทค ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปโฉมการทำสงครามไปอีกขั้น
สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยปรากฏให้เห็นในย่านนี้มาก่อน อย่างน้อยก็อย่างเป็นทางการ นั่นก็คือ ยานบินไร้คนบังคับที่สหรัฐฯ มีใช้หลากหลายรุ่น รวมทั้ง MQ-1 Predator ที่เชื่อว่าผู้คนแถบนี้จะได้เห็นกันชินตาในอนาคตอันใกล้ แม้ว่าพักหลังๆ นี้จะมีการถกเถียงในแง่ศีลธรรมเกี่ยวกับปฏิบัติการของมันอย่างหนาหูมากขึ้นก็ตาม
นับตั้งแต่ปี 2538 ที่ออกงานแรก MQ-1 เพรเดเตอร์ “นักล่า” ตัวนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือหลักของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย (ในความหมายของสหรัฐฯ)
ถึงปัจจุบัน ยานรุ่นนี้ผ่านการใช้งานมาเป็นระยะทางกว่า 1 ล้านไมล์ มีประวัติปฏิบัติการในหลายประเทศ จากตะวันออก และแอฟริกา ไปจนถึงบอสเนีย และในสงครามโคโซโว จากภารกิจบินลาดตระเวน ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา เพรเดเตอร์กลายเป็นยานโจมตีที่น่าเกรงขาม เมื่อพัฒนาให้ติดจรวดเฮลไฟร์ (Hellfire) หรือ “ไฟนรก”
“นักล่า” ยังคงปฏิบัติภารกิจหลักในการไล่ล่าโจมตีทำลายที่ตั้งกองโจรอัลกออิดะ ทั้งในอัฟกานิสถาน และในปากีสถาน หน่วยงานที่ใช้มากที่สุดนอกจากกองทัพอากาศแล้ว ก็ยังรวมทั้งองค์การประมวลข่าวกลางหรือ “ซีไอเอ” ด้วย
ยานเพรเดเตอร์ยังอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารผู้นำอัลกออิดะคนสำคัญจำนวนหนึ่ง คนเหล่านั้นถูกปลิดชีพโดยไม่รู้ตัวขณะเดินทางไปในกองคาราวานลับ หรือในรถยนต์ส่วนตัวบนท้องถนน หลายคนเสียชีวิตในเวลากลางคืน
และว่ากันว่า เพรเิดอร์อยู่เบื้องหลังการสังหารประธานาธิบดีมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียเมื่อต้นปีนี้
.
ปฏิบัติการทางทหารของเพรเดเตอร์เป็นเรื่องที่สหรัฐฯ ไม่ปรารถนาจะเปิดเผย แต่สถิติที่มีผู้เก็บรวบรุมเอาไว้ระบุว่า ในปากีสถานเพียงแห่งเดียวปีนี้กองทัพอากาศสหรัฐส่งเพรเดเตอร์ออกปฏิบัติการโจมตีสัปดาห์ละ 34 เที่ยว ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงปฏิบัติการลับสุดยอดภายใต้ซีไอเอ
เมื่อใช้ในภารกิจที่ไม่ติดอาวุธ เจ้า “นักล่า” ตัวนี้จะได้รหัส RQ-1 ซึ่งอักษร “R” นั้นไปจากคำว่า “Reconnaissance” ซึ่งหมายถึงการลาดตระเวน และ “Q” ใช้หมายถึงยานไร้คนบังคับ (Unmanned Aerial Vehicle) และเลข “1” บ่งบอกให้ทราบว่ามันคือยานตัวแรกของซีรีส์นี้
เพเดเตอร์จะได้รหัส MQ-1 เมื่อติดอาวุธ และอุปกรณ์ในภารกิจโจมตี ซึ่งอักษร “M” หมายถึง “Multirole” หรือ “หลายบทบาท” นั่นเอง
ในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา บริษัทเจเนอรัลอโทมิคส์ (General Atomics) ผลิต RQ-1 กับ MQ-1 ให้รัฐบาลสหรัฐฯ กว่า 350 ลำ รวมมูลค่าราว 70,000 ล้านดอลลาร์
ยานเพรเดเตอร์ไม่ได้วิเศษวิโสไปทุกอย่าง มันมีจุดอ่อนมากมาย มีประวัติการถูกยิงตกไปหลายสิบลำ บ้างก็เกิดขัดข้องทางเทคนิค และโหม่งโลก อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันตนเองได้ถึง 100% มันเหมาะสำหรับการโจมตีข้าศึกที่ไม่มีการป้องกันทางอากาศ เพราะจรวดต่อสู้อากาศยานขนาดเล็กชนิดประทับไหล่ยิง ก็สามารถสอยมันร่วงได้โดยง่าย
แต่สหรัฐฯ ก็มีทางเลือก หากภารกิจใดหนักหน่วง และสุ่มเสี่ยงมากกว่า MQ-9 Reaper รุ่นน้องที่มีขนาดใหญ่โตกว่า บินเร็วกว่า และติดเขี้ยวเล็บได้มากกว่าก็จะขึ้นปฏิบัติการแทนแบบเอาให้สมน้ำสมเนื้อ
แม้จะมีขนาดใหญ่โตต่างกัน ติดอาวุธได้มากกว่ากัน สร้างความหายนะได้มากกว่าเพรเดเตอร์ แต่ด้วยรูปร่างหน้าตาของมันที่เหมือนกันราวกับแกะ ทำให้หลายคนชอบที่จะเรียก MQ-9 “รีปเปอร์” ตัวนี้ว่า Predator B อันเป็นเครื่องต้นแบบ
ยาน MQ-1 เพรเดเตอร์ยังมี “ชื่อเสีย” ในเรื่องการทำให้คนที่ไม่รู้ อีโหน่อีเหน่เสียชีวิตมาแล้วเป็นจำนวนมากทั้งในอิรัก อัฟกานิสถาน และปากีสถาน ซึ่งสหรัฐฯ เรียกสิ่งนี้ว่า “การสูญเสียที่ไม่มีทางเลี่ยง” (Collateral Damage) หรือการสูญเสียแบบตัวประกันที่เลี่ยงได้ยาก
แต่ถึงแม้จะถูกประณามว่าปฏิบัติการป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรม MQ-1 เพรเดเตอร์ ก็ยังเป็นยาน UAV สำหรับการโจมตีเพียงชนิดเดียวที่ใช้แพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน
มันยังมีความน่าสะพรึงกลัวครบถ้วน บินได้ด้วยความเร็วเท่าๆ กับเครื่องบินโดยสารที่บินเร็วลำหนึ่ง บินได้ทั้งในระดับต่ำ และสูง ทั้งกลางวัน และกลางคืน ขึ้นอยู่กับลักษณะภารกิจ และพื้นที่ปฏิบัติการ วันนี้เพรเดเตอร์ยังติดอาวุธได้หลากหลายชนิดยิ่งขึ้น ทั้งจรวดอากาศสู่พื้น และอากาศสู่อากาศ ปัจจุบัน สหรัฐฯ กำลังพัฒนาให้มันติด “สมาร์ทบอมบ์” ได้อีกด้วย
มันบินไปทำลายเป้าหมายได้ไกลกว่า 720 กม. ก่อนจะบินกลับฐาน และบินอยู่กลางอากาศได้นานกว่า 14 ชั่วโมง ไกลพอ และนานพอที่จะไปถล่มใครก็ได้ จากฐานปฏิบัติการในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ มีอยู่เพียงเท่านี้ หากมี UAV อีกนับสิบๆ ชนิด กับหลายโครงการที่อยู่ในช่วงการทดสอบ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไปไกลกว่าใครๆ รวมทั้งเพรเดเตอร์ที่เก่าแสนเก่า และยังใช้เครื่องยนต์ 4 สูบใบพัดติดเทอร์โบชาร์เจอร์"
ไปทำความรู้จักกับ “นักล่ากลางหาว” ที่น่าเกรงขาม ก่อนที่มันจะมาถึง.
นักล่าไร้คนขับ US Air Force Photo
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นไป สหรัฐฯ จะกลับคืนสู่เอเชียอย่างเป็นขบวนการ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ กลับมาพร้อมเขี้ยวเล็บต่างๆ เต็มอัตราศึก และต่างไปจากเมื่อหลายทศวรรษก่อน สหรัฐฯ กลับมาอย่างไฮเทค ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปโฉมการทำสงครามไปอีกขั้น
สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยปรากฏให้เห็นในย่านนี้มาก่อน อย่างน้อยก็อย่างเป็นทางการ นั่นก็คือ ยานบินไร้คนบังคับที่สหรัฐฯ มีใช้หลากหลายรุ่น รวมทั้ง MQ-1 Predator ที่เชื่อว่าผู้คนแถบนี้จะได้เห็นกันชินตาในอนาคตอันใกล้ แม้ว่าพักหลังๆ นี้จะมีการถกเถียงในแง่ศีลธรรมเกี่ยวกับปฏิบัติการของมันอย่างหนาหูมากขึ้นก็ตาม
นับตั้งแต่ปี 2538 ที่ออกงานแรก MQ-1 เพรเดเตอร์ “นักล่า” ตัวนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือหลักของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย (ในความหมายของสหรัฐฯ)
ถึงปัจจุบัน ยานรุ่นนี้ผ่านการใช้งานมาเป็นระยะทางกว่า 1 ล้านไมล์ มีประวัติปฏิบัติการในหลายประเทศ จากตะวันออก และแอฟริกา ไปจนถึงบอสเนีย และในสงครามโคโซโว จากภารกิจบินลาดตระเวน ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา เพรเดเตอร์กลายเป็นยานโจมตีที่น่าเกรงขาม เมื่อพัฒนาให้ติดจรวดเฮลไฟร์ (Hellfire) หรือ “ไฟนรก”
“นักล่า” ยังคงปฏิบัติภารกิจหลักในการไล่ล่าโจมตีทำลายที่ตั้งกองโจรอัลกออิดะ ทั้งในอัฟกานิสถาน และในปากีสถาน หน่วยงานที่ใช้มากที่สุดนอกจากกองทัพอากาศแล้ว ก็ยังรวมทั้งองค์การประมวลข่าวกลางหรือ “ซีไอเอ” ด้วย
ยานเพรเดเตอร์ยังอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารผู้นำอัลกออิดะคนสำคัญจำนวนหนึ่ง คนเหล่านั้นถูกปลิดชีพโดยไม่รู้ตัวขณะเดินทางไปในกองคาราวานลับ หรือในรถยนต์ส่วนตัวบนท้องถนน หลายคนเสียชีวิตในเวลากลางคืน
และว่ากันว่า เพรเิดอร์อยู่เบื้องหลังการสังหารประธานาธิบดีมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียเมื่อต้นปีนี้
.
ปฏิบัติการทางทหารของเพรเดเตอร์เป็นเรื่องที่สหรัฐฯ ไม่ปรารถนาจะเปิดเผย แต่สถิติที่มีผู้เก็บรวบรุมเอาไว้ระบุว่า ในปากีสถานเพียงแห่งเดียวปีนี้กองทัพอากาศสหรัฐส่งเพรเดเตอร์ออกปฏิบัติการโจมตีสัปดาห์ละ 34 เที่ยว ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงปฏิบัติการลับสุดยอดภายใต้ซีไอเอ
เมื่อใช้ในภารกิจที่ไม่ติดอาวุธ เจ้า “นักล่า” ตัวนี้จะได้รหัส RQ-1 ซึ่งอักษร “R” นั้นไปจากคำว่า “Reconnaissance” ซึ่งหมายถึงการลาดตระเวน และ “Q” ใช้หมายถึงยานไร้คนบังคับ (Unmanned Aerial Vehicle) และเลข “1” บ่งบอกให้ทราบว่ามันคือยานตัวแรกของซีรีส์นี้
เพเดเตอร์จะได้รหัส MQ-1 เมื่อติดอาวุธ และอุปกรณ์ในภารกิจโจมตี ซึ่งอักษร “M” หมายถึง “Multirole” หรือ “หลายบทบาท” นั่นเอง
ในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา บริษัทเจเนอรัลอโทมิคส์ (General Atomics) ผลิต RQ-1 กับ MQ-1 ให้รัฐบาลสหรัฐฯ กว่า 350 ลำ รวมมูลค่าราว 70,000 ล้านดอลลาร์
ยานเพรเดเตอร์ไม่ได้วิเศษวิโสไปทุกอย่าง มันมีจุดอ่อนมากมาย มีประวัติการถูกยิงตกไปหลายสิบลำ บ้างก็เกิดขัดข้องทางเทคนิค และโหม่งโลก อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันตนเองได้ถึง 100% มันเหมาะสำหรับการโจมตีข้าศึกที่ไม่มีการป้องกันทางอากาศ เพราะจรวดต่อสู้อากาศยานขนาดเล็กชนิดประทับไหล่ยิง ก็สามารถสอยมันร่วงได้โดยง่าย
แต่สหรัฐฯ ก็มีทางเลือก หากภารกิจใดหนักหน่วง และสุ่มเสี่ยงมากกว่า MQ-9 Reaper รุ่นน้องที่มีขนาดใหญ่โตกว่า บินเร็วกว่า และติดเขี้ยวเล็บได้มากกว่าก็จะขึ้นปฏิบัติการแทนแบบเอาให้สมน้ำสมเนื้อ
แม้จะมีขนาดใหญ่โตต่างกัน ติดอาวุธได้มากกว่ากัน สร้างความหายนะได้มากกว่าเพรเดเตอร์ แต่ด้วยรูปร่างหน้าตาของมันที่เหมือนกันราวกับแกะ ทำให้หลายคนชอบที่จะเรียก MQ-9 “รีปเปอร์” ตัวนี้ว่า Predator B อันเป็นเครื่องต้นแบบ
ยาน MQ-1 เพรเดเตอร์ยังมี “ชื่อเสีย” ในเรื่องการทำให้คนที่ไม่รู้ อีโหน่อีเหน่เสียชีวิตมาแล้วเป็นจำนวนมากทั้งในอิรัก อัฟกานิสถาน และปากีสถาน ซึ่งสหรัฐฯ เรียกสิ่งนี้ว่า “การสูญเสียที่ไม่มีทางเลี่ยง” (Collateral Damage) หรือการสูญเสียแบบตัวประกันที่เลี่ยงได้ยาก
แต่ถึงแม้จะถูกประณามว่าปฏิบัติการป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรม MQ-1 เพรเดเตอร์ ก็ยังเป็นยาน UAV สำหรับการโจมตีเพียงชนิดเดียวที่ใช้แพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน
มันยังมีความน่าสะพรึงกลัวครบถ้วน บินได้ด้วยความเร็วเท่าๆ กับเครื่องบินโดยสารที่บินเร็วลำหนึ่ง บินได้ทั้งในระดับต่ำ และสูง ทั้งกลางวัน และกลางคืน ขึ้นอยู่กับลักษณะภารกิจ และพื้นที่ปฏิบัติการ วันนี้เพรเดเตอร์ยังติดอาวุธได้หลากหลายชนิดยิ่งขึ้น ทั้งจรวดอากาศสู่พื้น และอากาศสู่อากาศ ปัจจุบัน สหรัฐฯ กำลังพัฒนาให้มันติด “สมาร์ทบอมบ์” ได้อีกด้วย
มันบินไปทำลายเป้าหมายได้ไกลกว่า 720 กม. ก่อนจะบินกลับฐาน และบินอยู่กลางอากาศได้นานกว่า 14 ชั่วโมง ไกลพอ และนานพอที่จะไปถล่มใครก็ได้ จากฐานปฏิบัติการในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ มีอยู่เพียงเท่านี้ หากมี UAV อีกนับสิบๆ ชนิด กับหลายโครงการที่อยู่ในช่วงการทดสอบ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไปไกลกว่าใครๆ รวมทั้งเพรเดเตอร์ที่เก่าแสนเก่า และยังใช้เครื่องยนต์ 4 สูบใบพัดติดเทอร์โบชาร์เจอร์"
ไปทำความรู้จักกับ “นักล่ากลางหาว” ที่น่าเกรงขาม ก่อนที่มันจะมาถึง.
นักล่าไร้คนขับ US Air Force Photo
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20