xs
xsm
sm
md
lg

คลิปสุดยอด เหมือนดูอยู่ต่อหน้า F-15 “ด็อกไฟต์”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


การต่อสู้พันตูอย่างใกล้ชิดกลางเวหาระหว่างนักบินคู่สงครามมีมาตั้งแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยใช้ปืนพกยิงเข้าใส่ศัตรูในระยะประชิด บ้างก็ปาเชือก หรือตาข่ายหวังจะให้พันกับใบพัดของเครื่องบินอีกฝ่ายหนึ่ง พอสงครามโลกครั้งที่ 2 ไล่ล่ากันด้วยปืนกลอากาศ ในสงครามเวียดนามเครื่องบินเอฟ-4 “แฟนธอม 2” รุ่นแรกๆ ได้รับบทเรียนเมื่อต้องเจอกับเครื่องบินขับไล่ มิก-17 และมิก-19 ของเวียดนามเหนือ จรวดนำวิถีทำงานไม่ได้ในระยะใกล้เช่นนั้น จึงถูกยิงตกไปหลายลำเนื่องจากไม่ได้ติดปืนสำหรับทำ “ด็อกไฟต์” .. ผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหมกล่าวว่า โอกาสที่นักบินยุคใหม่จะได้ทำสัประยุทธ์แบบนี้คงจะไม่มีอีกแล้ว แต่หลายคนได้เตือนว่า ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานอาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เครื่องบินรบทุกลำแม้กระทั่งเครื่องบินยุคที่ 5 ล้ำหน้าที่สุด ก็ยังจะต้องติดปืนไว้เผื่อเหนียวจนทุกวันนี้ “ด็อกไฟต์” ของ F-15C ทั้งสองลำในคลิปนี้เป็นฉากที่หาดูได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน แม้จะเป็นแค่การฝึกซ้อมก็ตาม.

.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - บริษัทเรย์ธีออน (Raytheon) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตอากาศยานเพื่อการทหารในสหรัฐฯ เพิ่งจะเผยแพร่วิดีโอคลิปชิ้นหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นฉากสู้รบแบบพันตูกันกลางอากาศระหว่างเครื่องบินรบ เอฟ-15ซี “อินทรีผยอง” 2 ลำของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เหนือทะเลแปซิฟิกของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นฉากที่หาดูได้ยากยิ่งในยุคใหม่

คลิปได้ช่วยลบล้างคำสบประมาทให้แก่เครื่องบินตระกูล F-15 อีกครั้งหนึ่ง ที่เคยมีนักวิจารณ์กล่าวว่า “ลำมันใหญ่เกินไปที่จะไปทำด็อกไฟต์ (Dogfight) กับใครเขาได้”

คลิปมีความยาวเกือบ 10 นาที แต่คุ้มค่าที่จะเฝ้าติดตามชมตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะมันแสดงให้เห็นการชิงไหวชิงพริบระหว่างนักบินของ F-15C ที่นั่งเดี่ยวทั้ง 2 ลำ แสดงให้เห็นการช่วงชิงความได้เปรียบเพื่อครองท้องฟ้า โดยใช้สายตามองหาเครื่องบินข้าศึก ไม่ต่างกับเหล่าเสืออากาศในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ระบบตรวจจับด้วยอิเล็กทรอนิกส์ และระบบเรดาร์ทันสมัยยังไม่เกิดขึ้น

เอฟ-15 ซี ออกแบบมาเป็นเครื่องบินขับไล่ระยะไกล ปฏิบัติการได้อย่างเป็นอิสระด้วยตัวเอง ติดอุปกรณ์การบิน อุปกรณ์นำร่อง และเรดาร์ทันสมัย รวมทั้งจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานพิสัยทำการกลาง และไกล ควบคุมโดยนักบินเพียงคนเดียว เพียงแต่ว่าในสถานการณ์หนึ่งจะไม่มีอะไรดีเท่ากับปืนกลอากาศ ในการห้ำหั่นกับอีกฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากไม่อยู่ในวิสัยที่จะใช้ขีปนาวุธได้

ตัวละครในคลิปประกอบด้วย F-15C จำนวน 3 ลำ เครื่องบินติดอุปกรณ์เตือนการณ์ล่วงหน้าอีก 1 ลำ ช่วยนำทาง และชี้เป้าให้แก่ F-15 กับอีกลำหนึ่งซึ่งถูกสมมติให้เป็นข้าศึก ระหว่างพักรบยกแรกยังมีเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศอีก 1 ลำ เข้ามาเป็นตัวประกอบด้วย

คลิปนี้ถ่ายทำด้วยกล้องวิดิโอระบบ HD ของ Sony และถ่ายโดยนักบินทั้งหมด อีกส่วนหนึ่งถ่ายจาก F-15C ลำที่ 3 ทั้งหมดเป็นเหตุการณ์การแข่งขันเพื่อชิงถ้วยรางวัลของบริษัทเรย์ธีออน ที่จัดขึ้นในปี 2011 เป็นการประชันระหว่างเครื่องบินเอฟ-15 ของฝูงบินที่ 44 “ค้างคาวดูดเลือด” (Vampire Bats) กับฝูงบินที่ 67 “ไอ้ไก่ชน” (Fighting Cocks) ซึ่งประจำการในญี่ปุ่นเช่นกัน

“ภาพทะเลจำนวนหนึ่งติดเข้ามาด้วยขณะที่เราพันตูกันเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก รุกไล่อย่างเกรี้ยวกราดราวกับปิศาจจากขุมนรก อย่างที่รุ่นพี่ของเราเคยทำมาก่อนพวกเราเมื่อ 70 ปีก่อน” นักบินคนหนึ่งกล่าวในเว็บไซต์ข่าวของเรย์ธีออน

ในคลิปยังแสดงให้เห็นสมรรถนะของเครื่องบินรบทั้งสองลำในการบินไต่ความสูงด้วยความเร็วเหนือเสียง การทิ้งตัวลงสู่เบื้องล่างด้วยความเร็วสูง หลบหนีการไล่กวดของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นเดียวกันการพลิกตัว การกลับลำ เพื่อรุกไล่ หรือหลบหนีการติดตาม ทั้งนี้ เพื่อพลิกสถานการณ์กลับไปเป็นฝ่ายไล่ล่า ซึ่งทำให้ได้เปรียบในการทำด็อกไฟต์

หลายฉากแสดงให้เห็นการปล่อย “พลุร้อน” เพื่อเป็นเป้าล่ออาวุธนำวิธีของอีกฝ่ายหนึ่ง อันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติทั้งในการฝึก และในนาทีแห่งการปฏิบัติจริงเพื่อการอยู่รอด

กล้องยังแสดงให้เห็นการ “ล็อกเป้า” ถึง 2 ครั้ง ซึ่งบอกให้ทราบว่าลำของข้าศึก “ร่วง” ไปแล้ว
.
<bR><FONT color=#000033>เอฟ-16เอ, เอฟ-15ซี กับ เอฟ-15อี บินเข้ารูปขบวนเหนือ ทุ่งน้ำมัน ที่กำลังลุกไหม้ในช่วงสงคราม พายุทะเลทราย ซึ่งเริ่มวันที่ 17 ม.ค.2534 เอฟ-15 เป็นเครื่องบินรบชั้นเยี่ยมอีกซีรีส์หนึ่งของกองทัพอากาศสหรัฐ เคยเป็นเจ้าเวหาเหนือทะเลทรายตะวันออกกลางในสงครามทั้ง 3 ครั้ง รวมทั้งในสงครามแคว้นโคโซโว ยูโกสลาเวียซึ่งอยู่ในยุโรปตะวันออก  ปีที่แล้ว เอฟ-15ซี สองลำได้ทำ ด็อกไฟต์ เหนือทะเลแปซิฟิกของญี่ปุ่นให้ทุกฝ่ายได้ประจักษ์ในขีดความสามารถสำหรับการพันตูกระชั้นชิดกลางเวหา ไม่ว่าเทคโนโลยีอากาศยานหรือเทคโนโลยีอาวุธจะก้าวไกลสักเพียงไรก็ตาม ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานโอกาสเช่นนี้เกิดขึ้นได้เสมอ. -- US Air Force Photo/Tech Sgt Fernando Serna.</b>
1
<bR><FONT color=#000033>เอฟ-15ซี อินทรีผยอง หมายเลข 22 จากฝูงบินขับไล่ที่ 67 Fighting Cocks ฐานทัพอากาศคาเดนะ (Kadena) ประเทศญี่ปุ่น ฝูงเดียวกับที่ทำ ด็อกไฟต์ ในวิดีโอคลิป เป็นภาพขณะร่วมฝึกกับกองกำลังทางอากาศของประเทศเจ้าภาพ วันที่ 25 ก.พ.2553 ตระกูล เอฟ-15 เป็นเครื่องบินรบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอีกซีรีส์หนึ่งของแม็คดอนเนลดักลัสซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทโบอิ้งในปัจจุบันและผู้ผลิตยังพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลากว่า 20 ปี เชื่อกันว่าจะประจำการในกองทัพอากาศไปจนถึงช่วงปี 2565. -- US Air Force Photo/Tech Sgt Angelique Perez. </b>
2
เอฟ-15 “อินทรีผยอง” สร้างขึ้นในทศวรรษที่ 1970 โดยบริษัทแม็คดอนเนลดักลัส (McDonnell Douglas) นั่นคือ ยุคที่อดีตสหภาพโซเวียตผลิตเครื่องบินขับไล่ มิก-25 “Foxbat” หรือ “ไอ้ค้างคาวจิ้งจอก” ขึ้นมา สร้างความหวาดผวาให้แก่สหรัฐฯ และนาโตที่ยังไม่มีเครื่องบินรบรุ่นไหนสามารถทำความเร็วได้ขนาดนั้น

เอฟ-15เอ ที่นั่งเดี่ยวลำแรกเข้าประจำการกองทัพอากาศในปี 2532 แต่ก็สร้างขึ้นมาเพียง 6 ลำเท่านั้น แม็คดอนเนลดักลัสซึ่งต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทโบอิ้ง ผู้สร้างเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ยังคงพัฒนา F-15 ต่อมาอีกหลายรุ่นรวมทั้งรุ่น 2 ที่นั่งสำหรับนักบินฝึก คือ F-15B/D ก่อนจะข้ามมาเป็น F-15E Strike Eagle “อินทรีถลา” เครื่องบินโจมตีอเนกประสงค์ที่สามารถปฏิบัติการได้ในทุกสภาพภูมิอากาศเช่นทุกวันนี้

ผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหมกล่าวว่า F-15 รุ่นหลังๆ ยังสร้างขึ้นมาเพื่อเตรียมพันตูกับเครื่องบินรบตระกูล Su-27/30 ของค่ายโซเวียต-รัสเซียอีกด้วย นับเป็นเครื่องบินรบสหรัฐฯ อีกรุ่นหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด มีการผลิตออกมาเกือบ 1,200 ลำ และเป็นเครื่องบินรบหลักปฏิบัติการโจมตีในสงครามทะเลทรายทั้ง 4 ครั้ง

เอฟ-15 ยังเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเครื่องบินรบยุคที่ 4+ เช่น F-18 ซึ่งเป็นเครื่องบินอเนกประสงค์ขนาดกลาง และ F-35 เครื่องบิน “สเตลธ์” เทคโนโลยีล้ำยุค ซึ่งเป็นเครื่องบินรบยุคที่ 5 โบอิ้งยังพัฒนา F-15SE “Silent Eagle” รูปทรงสเตลธ์ และใช้เทคโนโลยีของเครื่องบินรบยุคที่ 5 เช่นเดียวกัน

สิงคโปร์เป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มี F-15 ประจำการ นอกจากนั้น ก็มีเพียงอีกไม่กี่ประเทศทั่วโลกซึ่งได้แก่ คือ อิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย ญี่ปุ่น และเกาหลี

สิงคโปร์สั่งซื้อ F-15 ล็อตแรกจำนวน 12 ลำ ในปี 2548 และเนื่องจากความไม่แน่นอนในการส่งมอบ F-35 ทำให้ต้องสั่งซื้อ F-15 อีก 2 ล็อต ปัจจุบัน มีประจำการทั้งสิ้น 24 ลำ เป็น F-15SG ทั้งหมด ซึ่งก็คือ เวอร์ชันสำหรับส่งออกของ F-15E แบบเดียวกันทุกอย่างกับ F-15K ที่สหรัฐฯ ขายให้เกาหลี

เอฟ-15 ของสิงคโปร์แวดล้อมด้วย Su-30 ทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม นั่นคือคู่ปรับที่สมน้ำสมเนื้อกัน เนื่องจากเครื่องบินรบอเนกประสงค์ตระกูล Su-27/30 นั้น อดีตสหภาพโซเวียตสร้างขึ้นมาเพื่อให้ “ฆ่าได้ทุกอย่างที่ขวางหน้า” และยังเน้นความคล่องแคล่วในการทำด็อกไฟต์เป็นพิเศษอีกด้วย

นักการทหารจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า การขับเคี่ยวพันตูอย่างกระชั้นชิดกลางอากาศนั้น กำลังจะกลายเป็นอดีต เนื่องจากเครื่องบินรบรุ่นใหม่มีความเร็วสูงขึ้น และติดอาวุธระยะไกลที่แม่นยำมากขึ้น

แต่ข้อจำกัดของขอบเขตของน่านฟ้ายังคงทำให้เครื่องบินรบของฝ่ายต่างๆ มีโอกาสเจอหน้ากันอย่างใกล้ชิดได้เสมอ และถ้าหากกลายเป็นการเผชิญหน้าระหว่างคู่อริ ด็อกไฟต์ก็อาจจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้.

แกะรอย F-15s สงครามอ่าวถึงศึกโคโซโว



กองทัพอากาศสหรัฐฯ เริ่มส่ง F-15C, D และ E ไปประจำการที่อ่าวเปอร์เซียในเดือน ส.ค.2533 เพื่อยุทธการโล่ทะเลทราย และพายุทะเลทราย และในการขับเคี่ยวกับเครื่องบินรบของฝ่ายอิรัก ฝ่ายสหรัฐฯ สามารถเอาชนะการศึกเวหาได้ 36 ครั้ง จากทั้งหมด 39 ครั้ง สำหรับ F-15E ส่วนใหญ่ปฏิบัติการเวลากลางคืน ตามไล่ล่าโจมตีฐานที่ตั้งจรวดสคัด (SCUD) กับฐานปืนใหญ่อิรัก

ในสงครามทะเลทรายปี 2534 ตามตัวเลขที่สามารถยืนยันได้ของฝ่ายสหรัฐฯ F-15C สามารถ “สังหาร” อากาศยานอิรักได้ทั้งหมด 34 ลำ เกือบทั้งหมดยิงร่วงด้วยจรวดนำวิถีจากระยะไกล นับจำนวนได้ดังนี้คือ มิก-29 “ฟัลครัม” 5 ลำ, มิก-25 “ฟ็อกซ์แบ็ต” 2 ลำ, มิก-23 “ฟล็อกเกอร์” 8 ลำ, มิก-21 “ฟิชเบดส์” 2 ลำ, ซู-25 “ฟ็อกซ์ฟูต” 2 ลำ, ซู-22 “ฟิตเตอร์ส” 4 ลำ, ซู-7 1 ลำ, มิราจเอฟ-1 6 ลำ, อิล-76 (บ.ขนส่ง) 1 ลำ, พิลาตัส พีซี-9 (บ.ฝึก) 1 ลำ กับเฮลิคอปเตอร์ Mi-8 อีก 2 ลำ

การครองน่านฟ้าเริ่มขึ้นในวันที่ 3 ของสงคราม เครื่องบินอิรักหลายลำถูกยิงตกขณะพยายามหลบหนีเข้าสู่ดินแดนอิหร่านมากกว่าจะพยายามต่อกรกับเครื่องบินสหรัฐฯ ในนั้น F-15C ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการครองน่านฟ้า และ F-15E ทำหน้าที่หลักในการโจมตีภาคพื้นดิน ทำลายเฮลิคอปเตอร์ Mi-8 ได้อีก 1 ลำโดยใช้ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ ระหว่างสงครามอ่าวปี 2534 สหรัฐฯ สูญเสีย F-15E ไป 2 ลำในเหตุการณ์ไฟไหม้ภาคพื้นดิน อีก 1 ลำได้รับความเสียหายเมื่อฐานทัพอากาศดาห์ราน (Dharan) ในซาอุดีอาระเบีย ถูกอิรักยิงถล่มด้วยจรวดสคัด

ต่อมา F-15s ยังได้เข้าทำหน้าที่ในปฏิบัติการ Southern Watch บินตรวจการณ์เขตห้ามบิน (No-Fly Zone) ในภาคใต้อิรัก, ปฏิบัติการช่วยเหลือในตุรกี, สนับสนุนนาโตในบอสเนียและในปี 2547 กองทัพบกสหรัฐฯ สูญเฮลิคอปเตอร์ UH-60 “แบล็กฮอว์ก” ไป 2 ลำ เนื่องจากถูก F-15C ของกองทัพอากาศยิงตกในภาคเหนืออิรัก โดยเข้าใจว่าเป็น ฮ.ของศัตรู ในปี 2542 ต่อมาระหว่างไปสนับสนุนปฏิบัติการของพันธมิตรนาโตในแคว้นโคโซโว F-15C ของสหรัฐฯ ยิงมิก-29 ของยูโกสลาเวียตกไป 4 ลำ ด้วยจรวด AIM-120.



อินทรีจ้าวเวหา
US Air Force Photos
<bR><FONT color=#000033>เอฟ-15อี ของกองทัพอากาศสหรัฐจากฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 335 ปล่อยพลุร้อนระหว่างการฝึกเหนือรัฐแคโรไลนาในภาพวันที่ 17 ธ.ค.2553 เครื่องบินตรนะกูล เป็นเครื่องบินรบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอีกซีรีส์หนึ่งของแม็คดอนเนลดักลัสซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทโบอิ้งในปัจจุบัน มีการผลิตออกมาเกือบ 1,200 ลำ ในช่วงกว่า 20 ปีมานี้และผู้ผลิตยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เชื่อกันว่าจะประจำการในกองทัพอากาศไปจนถึงช่วงปี 2565. -- US Air Force Photo/Staff Sgt Michael B Keller. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>มองจากด้านบนของ F-15D ที่นั่งคู่ของกองทัพอากาศสหรัฐ เห็นการเก็บงานที่หมดจดเป็นนวัตรกรรมชิ้นหรูอีกชิ้นหนึ่งของแม็คดอนเนลดักลัส F-15 เป็นรากฐานการพัฒนาต่อมาเป็น F-18 และ F-35/2 (Lightning 2) ที่ไปไกลจนสุดกู่ กลายเป็นเครื่องบินรบทันสมัยที่สุดในโลกปัจจุบัน. -- US Air Force Photo.  </b>
4
 <bR><FONT color=#000033>เอฟ-15ซี กองทัพอากาศสหรัฐขณะลงจอดที่ฐานทัพอากาศคาเดนะ (Kadena) ญี่ปุ่นวันที่ 23 ก.พ.2553 เพื่อร่วมฝึกกับกองกำลังป้องกันทางอากาศของประเทศเจ้าภาพ ปีถัดมาเครื่อง F-15C ของสหรัฐทำ ด็อกไฟต์ กันที่นี่ให้คนรุ่นใหม่ได้ดูเป็นบุญตา นักวิเคราะห์กลาโหมบางคนบอกว่าการต่อสู้แบบพันตูใกล้ชิดกลางเวหาเช่นนี้นับวันจะหมดไปเมื่ออากาศยานในยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ใช้ระบบอาวุธนำวิถีที่ยิงระยะไกลและสมรรถนะสูง .. แต่การต่อสู้แบบดั้งเดิมของเหล่าเสืออากาสแบบนี้ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ. -- US Air Force Photo/Tech Sgt Rey Ramon.</b>
5
<bR><FONT color=#000033>เอฟ-15ซี อินทรีผยอง จากฝูงบินส่วนหน้าที่ 493 กำลัง แท็กซี่ ก่อนบินขึ้นจากฐานทัพอากาศลาเคนเฮธ (Lakenheath) ในอังกฤษวันที่ 1 ก.ย.2553 ระหว่างการสับเปลี่ยนกำลังของหน่วยควบคุมอากาศยานเหนือทะเลบอลติคของนาโต ฝูงบินเอฟ-15 ของสหรัฐกำลังจากที่นี่ไปเพื่อให้กองทัพอากาศเยอรมนีเข้าปฏิบัติหน้าที่แทน นี่คือเครื่องบินรบสมรรถนะเยี่ยมที่สุดอีกซีรีส์หนึ่งของสหรัฐฯ ปฏิบัติการได้ในทุกสภาพภูมิอากาศ พัฒนามาต่อเนื่องตลอดเวลากว่า 20 ปีมานี้และยังคงพัฒนาต่อไป. -- US Air Force Photo/Staff Sgt Stephen Linch. <b>
6
 <bR><FONT color=#000033>เอฟ-15ซี อินทรีผยอง กับ เอฟ-15อี อินทรีถลา จากฝูงบินที่ 366 ฐานทัพอากาศเมาน์เทนโฮม รัฐไอดาโฮ บินเข้าขบวน 6 ลำ ในภาพวันที่ 13 ต.ค.2552 จากเทือกเขาร็อคกีถึงอะแลสกา จากทะเลบอลติกถึงมหาสมุทรแปซิฟิก-มหาสมุท่รอินเดีย จนถึงทะเลทรายอิรัก เอฟ-15 ครองความเป็นเจ้าทางอากาศในสงครามอ่าวเปอร์เซีย 3 ครั้งที่ผ่านมา และเชื่อกันว่าจะยังคงประจำการต่อไปจนถึงปี 2568. -- US Air Force Photo/Master Sgt Kevin J Gruenwald.</b>
7
<bR><FONT color=#000033>เอฟ-15SG กองทัพอากาศสิงคโปร์ที่ท่าอากาศยานดาร์วิน ในภาคเหนือออสเตรเลียในภาพวันที่ 13 เม.ย.2554 นี่คือเวอร์ชั่นส่งออกของ F-15E อินทรีถลา แบบเดียวกับ F-15K ที่สหรัฐฯ ขายให้เกาหลี สิงคโปร์เป็นเพียงชาติเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มี F-15 ประจำการ แวดล้อมด้วยคู่ปรับที่สมน้ำสมเนื้อในการพันตูกลางอากาศ คือ Su-27/30 แฟล็งเคอร์ ทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนาม. -- ภาพ: วิกิพีเดีย/Eugene Butler/Jetphotos.Net. </b>
8
กำลังโหลดความคิดเห็น