xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ ยังต้องขุดอีกกว่า 300 กรณี พาทหารที่เหลือกลับจากลาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นายโจชัว โทนีย์ (Joshua Toney) -- 2 จากขวามือ -- นักโบราณคดีจากหน่วยร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายในปฏิบัติการ มลรัฐฮวายกับทีมงานกำลังรับฟังการบอกเล่าของนายโห่กวางบ่าง (Ho Quang Bang) ผู้เห็นเหตุการณ์ชาวเวียดนาม วันที่ 7 พ.ค.2555 ภาพรวมในวันที่เกิดเหตุ ขณะเตรียมการขุดค้นหาทหารสหรัฐฯ ที่เสียชีวิตและสูญหาย ในแขวงสะหวันนะเขตของลาว สองฝ่ายกำลังจะร่วมกันขุดค้นหาเศษซากและอัฐิของคนเหล่านั้นอีก. -- DoD Photo/Nina Hughes/US Navy.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เช่นเดียวกับฤดูแล้งทุกปี ลาวกับสหรัฐฯ กำลังจะเริ่มค้นหาทหารที่สูญหายตั้งแต่ครั้งสงครามอีกครั้งหนึ่ง ปัจจุบัน มีทหารที่ยังไม่ได้กลับบ้านเกิดอีกกว่า 300 คน นับตั้งแต่สงครามในลาวยุติลงในปี 2518

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองฝ่ายประชุมหารือกันในสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการปฏิบัติการร่วมเป็นเวลา 6 เดือน ในช่วงปลายปี 2555 ถึงต้นปี 2556 หนังสือพิมพ์ “ประชาชน” ของศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวรายงาน

การประชุมจัดขึ้นในวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเสดถาพาเลซ นครเวียงจันทน์ ฝ่ายสหรัฐฯ นำโดย พล.จ.สตีเฟน ทอม จากกองทัพบกสหรัฐฯ ที่ประจำในรัฐฮาวาย กับ นางคาเร็น บี สจ๊วต เอกอัครราชทูตประจำลาว ฝ่ายลาวนำโดย นายสุทำ สากนนิยม เอกอัครราชทูต และหัวหน้ากรมยุโรป-อเมริกา กระทรวงการต่างประเทศลาว

สองฝ่ายได้ทบทวนผลการปฏิบัติงานในระยะ 6 เดือนปี 2554-2555 และหารือรายละเอียดแผนปฏิบัติการ 6 เดือนปี 2555-2556 โดยฝ่ายลาวยืนยันให้ความร่วมมือช่วยเหลือสหรัฐฯ “บนจิตใจแห่งแนวทางนโยบายมนุษยธรรม และความอาจสามารถและเงื่อนไขที่เป็นจริงของตน”

“ฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความขอบคุณ และประเมินค่าสูงการช่วยเหลือของประชาชนเช่นเดียวกับรัฐบาลลาวในงานด้านมนุษยธรรมดังกล่าว และให้คำมั่นจะร่วมส่วนในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนในท้องถิ่นเช่นเดียวกับรัฐบาลลาวอย่างสุดความสามารถ” สื่อของพรรคกล่าว

สองฝ่ายยังแสดงความพึงพอใจต่อการเยือนสหรัฐฯ ของนายทองลุน สีสุลิด รองนายกฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศลาวในเดือน ก.ค.2553 และการเยือนลาวของนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค.ปีนี้ และเห็นพ้องกันว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์สองฝ่าย

ยังต้องขุดอีกเยอะ US Navy/US Air Force
 <bR><FONT color=#000033>นายโห่กวางบ่าง (Ho Quang Bang) ผู้เห็นเหตุการณ์ชาวเวียดนามชี้มือขณะบอกเล่าเหตุการณ์ในวันที่เครื่องบินรบสหรัฐฯ ลำหนึ่งงตกลง ในแขวงสะหวันนะเขตของลาว ในภาพวันที่ 7 พ.ค.2555 เคยเป็นศัตรูกันครั้งสงคราม ในยามสันติต้องหันมาร่วมมือช่วยเหลือกันค้นหาคนหาย ลาวและสหรัฐฯ จะร่วมกันขุดค้นอีกครั้งหนึ่งช่วงหน้าแล้งปีนี้กับต้นปีหน้ารวมเวลา 6 เดือน ยังมีอีกกว่า 300 กรณีที่ต้องสืบเสาะ. -- DoD Photo/Nina Hughes/US Navy.</b>
2
 <bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 16 พ.ค.2555 จ.ส.อ.เจสซี จอห์นสัน (Sgt 1st Class Jesse Johnson) กับทีมงานจากศูนย์ค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติการ จากมลรัฐฮาวายร่วมกับทีมงานและคนงานชาวลาวทำงาน มีเครื่องจักรช่วยอีกแรง สงครามผ่านไป 40 ปี อัฐิกับเศษซากของทหารที่เสียชีวิตเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่การขุดค้นหาหลักฐานยังดำเนินต่อไป เพื่อนำกลับไปยังครอบครัวและผู้เสียชีวิตได้ตายตาหลับ. -- DoD Photo/Nina Hughes/US Navy.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>พันจ่าอากาศเอกเลียม บรินน์ (Liam Brinn) ตักดินใส่ไว้ในตะกร้าระหว่างการขุดค้นในแขวงสะหวันนะเขตของลาววันที่ 30 พ.ค.2555 ทีมงานชาวอเมริกัน 14 คนปฏิบัติงานเป็นภารกิจสุดท้ายของหน้าแล้งปี 2554-2555 ฤดูแห่งการขุดค้นกำลังใกล้เข้ามาอีกแล้ว เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กับเจ้าหน้าที่ลาวประชุมและตกกันเรื่องนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาในนครเวียงจันทน์. -- DoD Photo/Nina Hughes/US Navy.</b>
4
<bR><FONT color=#000033>จ่าอะแลง คัสโตร (Alain Castro) แห่งกองทัพบกสหรัฐจากศูนย์ร่วมค้นหาฯ ซึ่งตั้งอยู่ภายในฐานทัพอากาศฮิกแคม (Hickam Air Force Base) มลรัฐฮาวาย กำลังตักดินในปฏิบัติการขุดค้นวันที่ 13 พ.ค.2555 ในแขวงสะหวันนะเขตของลาว ทีมค้นหาชาวอเมริกัน 14 คน ใช้เวลา 35 วันในภารกิจสุดท้ายสำหรับหน้าแล้ง 2554-2555 ขณะที่ฤดูแล้งใหม่กำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่นานและ ยังเหลืออีกว่า 300 กรณีที่จะต้องขุดกันต่อตลอดหลายปีข้างหน้า. -- DoD Photo/Nina Hughes/US Navy.</b>
5
 <bR><FONT color=#000033>จ่าอะแลง คัสโตร (Alain Castro) แห่งกองทัพบกสหรัฐจากศูนย์ร่วมค้นหาฯ ซึ่งตั้งอยู่ภายในฐานทัพอากาศฮิกแคม (Hickam Air Force Base) มลรัฐฮาวาย กำลังตรวจดูเศษซากต่างๆ ที่ได้จากการขุดค้นในวันที่ 13 พ.ค.2555 ในแขวงสะหวันนะเขตของลาว ทีมค้นหาชาวอเมริกัน 14 คน ใช้เวลา 35 วันในภารกิจสุดท้ายสำหรับหน้าแล้ง 2554-2555 และ ยังเหลืออีกว่า 300 กรณีที่จะต้องขุดกันต่อตลอดหลายปีข้างหน้า. -- DoD Photo/Nina Hughes/US Navy.</b>
6
<bR><FONT color=#000033>ทีมงานจากสหรัฯ กับคนงานชาวลาวร่วมกันทำงานในวันที่ 12 มี.ค.2555 ระหว่างการขุดค้นในแหล่งเครื่องบินตกอีกแห่งหนึ่ง ในแขวงสะหวันนะเขตของลาวเช่นกัน สำหรับไซต์นี้มีเจ้าหน้าที่จากมลรัฐฮาวายอีก 15 คนทำการขุดค้นหา แต่ละปีทำงานได้เพียง 6 เดือน และจะต้องแข่งกับเวลามากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสงครามผ่านไป 40 ปียิ่งนานโอกาสจะพบสิ่งที่ต้องการก็ยิ่งมีน้อยลงเรื่อยๆ. -- DoD photo/Mercedes L Crossland/US Air Force. </b>
7
นับตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา และ 30 ปีผ่านไป เจ้าหน้าที่ลาวกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้ร่วมกันขุดค้นหาเศษซากของทหารสหรัฐฯ ที่เสียชีวิต และยังสูญหายในดินแดนลาวได้ทั้งหมด 258 กรณี และยังจะต้องขุดค้นหาอีก 317 กรณีที่เหลือต่อไป “ประชาชน” รายวันรายงาน

เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ทางการลาวได้มอบอัฐิ และสิ่งเศษเหลือของทหารอเมริกันให้แก่ฝ่ายสหรัฐฯ เป็นครั้งล่าสุด พิธีจัดขึ้นที่สนามบินแขวงสะหวันนะเขต ทั้งหมดเป็นหลักฐานวัตถุที่ได้จากการค้นขุดค้น “กรณีที่ 1,341” ในเขตเมืองวีละบูลี

ตามตัวเลขของฝ่ายสหรัฐฯ มีทหารอเมริกันที่สูญหายไปในดินแดนลาวแต่ครั้งสงครามจำนวน 575 คน จนถึงปัจจุบัน ทางการลาวได้ส่งมอบซากอัฐิกับสิ่งของเครื่องใช้ผู้ตายให้ฝ่ายสหรัฐฯ แล้วจำนวน 257 คน และยังได้มอบอัฐิกับสิ่งเศษเหลือที่เชื่อว่าเป็นของทหารอเมริกันอีกจำนวนหนึ่งให้ฝ่ายสหรัฐฯ นำกลับไปพิสูจน์

ทหารอเมริกันส่วนใหญ่เสียชีวิตในแขวงภาคกลาง และภาคใต้ของลาวปัจจุบัน และส่วนใหญ่เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตก ทั้งที่ถูกยิงในลาว และถูกยิงไปจากดินแดนเวียดนาม ในช่วงปีแห่งสงคราม

นอกจากจะตั้งฐานทัพใหญ่โตในดินแดนเวียดนามที่เป็นเขตสู้รบแล้ว สหรัฐฯ ยังตั้งฐานทัพอีกหลายแห่งในดินแดนไทย และฟิลิปปินส์ ใช้ทั้งสองประเทศเป็นฐานปฏิบัติการโจมตีทิ้งระเบิดในดินแดนเวียดนาม ลาว และกัมพูชา เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลที่สหรัฐฯ หนุนหลังในทั้งสามประเทศนี้ต่อสู้กับการรุกคืบของกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์.
กำลังโหลดความคิดเห็น