xs
xsm
sm
md
lg

เปิดอีกครั้ง “สวนน้ำพุบ้านเซียงยืน” แหล่งหย่อนใจคู่เวียงจันทน์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพมุมสูงถ่ายจากบนอาคาร 7 ชั้น พิธีเปิดจัดขึ้นตอนค่ำๆ บรรยากาศสลัวๆ หากเป็นยามค่ำคืนก็คงจะสว่างไสวและสีสันเจิดจ้า สวนน้ำพุบ้านเซียงยืน หรือ น้ำพุเวียงจันทน์ ที่ชาวต่างประเทศเรียกขานกันมานานนับร้อยปี เปิดใช้อีกครั้งหนึ่งหลังการก่อสร้างปรับปรุงใหม่ตั้งแต่ปลายปี 2554 แล้วเสร็จเฟสแรก ยังจะต้องจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอีกจำนวนหนึ่ง ที่นี่เคยเป็นแลนด์มาร์คอีกแห่งหนึ่งของเมืองหลวง. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการลาวได้ทำพิธีเปิดใช้สวนสาธารณะน้ำพุบ้านเซียงยืน นครเวียงจันทน์อีกครั้งหนึ่งปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังก่อสร้างเฟสที่ 1 แล้วเสร็จ เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่มีแสงสี และภูมิทัศน์ที่ดูทันสมัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และนี่คือสวนหย่อมคู่บ้านคู่เมืองที่ใช้การมานานกว่า 100 ปี

ชาวต่างชาติเรียกที่นี่ว่า “น้ำพุเวียงจันทน์” เพราะเป็นแลนด์มาร์กแห่งหนึ่งของเมืองหลวง นานหลาบสิบปีก่อนที่จะมีน้ำพุขนาดใหญ่ที่บริเวณสวนอนุสาวรีย์ประตูชัยทุกวันนี้ แต่ชาวลาวเรียกว่า “น้ำพุบ้านเชียงยืน” เมืองจันทบูลีถิ่นที่ตั้ง ซึ่งในยุคอาณานิคมกว่า 100 ปี ฝรั่งเศสได้สร้างขึ้นให้เป็นบริเวณตลาดกลางเมือง

พิธีเปิดจัดขึ้นวันที่ 23 ส.ค.2555 โดยนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด กรมการเมืองพรรคประชาชนปฏิบัติลาว และรองนายกรัฐมานตรี กับนายสุกัน มะหาลาด เจ้าครอง (ผู้ว่าราชการ) นครเวียงจันทน์ ในโอกาสรำลึกวันประวัติศาสตร์ “23 สิงหา” ที่ชาวเมืองหลวงลุกฮือขึ้นยึดอำนาจ ก่อนฝ่ายคอมมิวนิสต์จะเข้าจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในวันที่ 2 ธ.ค.2518

ในช่วงหลังการปฏิวัติปลดปล่อยประเทศ “น้ำพุเวียงจันทน์” รายล้อมด้วยสถานที่สำคัญระดับชาติ ใกล้ที่สุดก็คือ อาคาร 7 ชั้นหลังเก่าที่เคยเป็นกระทรวงวัฒนธรรมและแถลงข่าว มุมหนึ่งเป็นที่ตั้งของร้านหนังสือสากลที่เคยพลุกพล่านด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพโซเวียต กับประเทศบริวารยุโรปตะวันออกเมื่อก่อน

ข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งของถนนเสดถาทิลาด เป็นที่ตั้งสำนักข่าวสารปะเทดลาว หนังสือพิมพ์ประชาชน และเวียงจันทน์ไทม์ส ไม่ไกลออกไปเป็นสำนักงานใหญ่รัฐวิสาหกิจการบินลาว โรงแรมล้านช้างอันเก่า อยู่ติดๆ กันเป็นกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงวัฒนธรรม กับกระทรวงการต่างประเทศได้ย้ายไปยังที่ตั้งแห่งใหม่หลายปีมาแล้ว รัฐวิสาหกิจการบินลาวย้ายไปยังสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ บริเวณน้ำพุตกมีสภาพทรุดโทรมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งทางการอนุญาตให้บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งลงทุนพัฒนาขึ้นใหม่ ภายใต้สัญญาสัมปทาน 30 ปี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในย่านใจกลางเมืองหลวง

ตามรายงานก่อนหน้านี้ บริษัทเอเชียการลงทุน และบริการจำกัด ได้ออกแบบอาณาบริเวณน้ำพุบ้านเซียงยืนถึง 6 ครั้ง เนื่องจาก “ล้ำสมัย” และเน้นในเชิงพาณิชย์มากเกินไป ขณะที่ทางการต้องการให้สะท้อนความเป็นลาว สอดคล้องขนบธรรมเนียมและประเพณีของชาวลาว
.
<bR><FONT color=#000033>นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด (เสื้อสีครีม-ไปขวา) รองนายกฯ นายสุกัน มะหาลาด ผู้ว่าราชการนครเวียงจันทน์ กับ<i> ศ.ดร. บ่อแสงคำ วงดาลา</i> รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม ร่วมกับผู้บริหารบริษัทเอเชียการลงทุนและบริการทำพิธีเปิดใช้เฟสที่ 1 ในค่ำวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.</b>
2
การก่อสร้างเฟสที่ 1 ใช้เงินลงทุนราว 10,000 ล้านกีบ (อัตราซื้อ 257.70 กีบ/บาท-ธนาคารการค้าต่างประเทศ-27 ส.ค.2555) กับอีกราว 3,000 ล้านกีบในเฟสที่ 2 หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่รายงาน

ปัจจุบัน น้ำพุมีระบบควบคุมทันสมัยพุ่งได้แรงขึ้น มีระบบไฟฟ้าสว่างไสว สมบูรณ์ด้วยระบบแสงสี และเสียง ปรับภูมิทัศน์โดยรอบ ปลูกไม้ประดับ จัดเส้นทางสัญจร มีร้านค้า ส่วนเฟสที่ 2 จะมีห้องน้ำสาธารณะ กับศูนย์แลกเปลี่ยนเงินตรา

ทั้งหมดมีกำหนดแล้วเสร็จในปลายปีนี้ ต้อนรับการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEM ซึ่งลาวเป็นเจ้าภาพ สื่อของทางการนครเวียงจันทน์กล่าว

การพัฒนาสวนน้ำพุเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณท่องเที่ยวย่านใจกลางเมืองหลวง รวมทั้งจะมีการจัด “ถนนคนเดิน” เริ่มจากบริเวณโรงแรมลาวพลาซ่าใกล้กับศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติถนนสามแสนไทย ตัดไปยังถนนเสดถาทิลาด ไปสิ้นสุดที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงถนนเจ้าฟ้างุม กับโรงแรมล้านช้าง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสวนสาธารณะเจ้าอนุวงศ์ และจะเป็นบริเวณเมืองใหม่อันฟู่ฟ่าในอนาคต

สวนน้ำพุยังอยู่ใกล้โบราณสถานสำคัญ รวมทั้งพิพิธภัณฑ์วัดสีสะเกิด วัดพระแก้ว และวัดที่มีชื่อเสียงอีกหลายแห่งตามถนนเสดถาทิลาด บนเส้นทางไปยังสนามบิน

นอกจากนั้น ยังแวดล้อมด้วยโรงแรมกับบ้านพักทันสมัย อาคารสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคม ร้านค้ามินิมาร์ท-ซูเปอร์มาร์เกต ภัตตาคารทั้งอาหารลาว เวียดนาม และอาหารสากล รวมทั้งร้าน “ขอบใจเดอ” แหล่งกินดื่มยอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกด้วย.
.

<bR><FONT color=#000033>ชาวต่างชาติ 2 คนเดินผ่านหน้าร้านอาหารฝรั่งเศสเลอโปรวังซาน (Le Provencal) ที่หัวมุมสวนหย่อมน้ำพุเวียงจันทน์ ในภาพเดือน มี.ค.2551 ติดๆ กันเป็นร้านเบเกอรีเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งและที่นี่กำลังเปลี่ยนไปตามยุคสมัย. -- ภาพโดยวุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.</b>
3
 <bR><FONT color=#000033>นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้อาศัยร่วมเงาที่ตึก 7 ชั้นช่วยบดบังแสดงแดดจ้าเวลาเที่ยงวัน นั่งพักผ่อนกันใกล้น้ำพุเวียงจันทน์ ในภาพเดือน มี.ค.2551 ที่นี่เป็นแหล่งแวะหย่อนใจของชาวลาวและชาวต่างชาติมานานนับร้อยปีและทุกอย่างกำลังเปลี่ยนไป. -- ภาพโดยวุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.</b>
4
<bR><FONT color=#000033>ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ช่วงใกล้ๆ แหม่มรูปร่างสมบูรณ์แข็งแรง กำลังสาละวนเลือกซื้อหนังสือและนิตยสารในภาพเดือน มี.ค.2526 ลูกศรสีแดงชี้ไปยังป้าย USSR มุมจำหน่ายสแตมป์ที่ระลึกจากโซเวียต ร้านหนังสือของรัฐแห่งนี้ตั้งอยู่มุมหนึ่งของบริเวณสวนน้ำพุเวียงจันทน์ที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นกว่า 100 ปีก่อน ร้านได้ย้ายออกไปจากที่นี่กว่าสิบปีมาแล้ว และสวนหย่อมอันเก่าแก่คู่เมืองหลวงก็กำลังเปลี่ยนไป. -- ภาพโดยวุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.  <b>
5
กำลังโหลดความคิดเห็น