xs
xsm
sm
md
lg

วิทยาลัยครูปากเซ “สร้างครู” ได้อีกกว่า 800 คน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>พิธีมอบประกาศนียบัตรและปริญญาบัตรสำหรับพ่อพิมพ์และแม่พิมพ์ของชาติในวันที่ 28 ก.ค.2555 ที่วิทยาลัยครูปากเซ ซึ่งปีนี้มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่างๆ 861 คน ปีการศึกษาที่ผ่านมามีนักศึกษากว่า 3,000 คน ในนั้นกว่า 2,000 เป็นนักศึกษาหญิง ที่นี่เป็น 1 ใน 8 สถาบันการศึกษาในลาวที่ผลิตครูผู้สอนสำหรับโรงเรียนระดับต่างๆ ทั่วประเทศ. -- ภาพ:  เวียงจันทน์ใหม่. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - วิทยาลัยครูปากเซ แห่งเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สถาบันการศึกษาเก่าแก่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ปีนี้ผลิตครูทุกระดับได้ 861 คน ในขณะที่ลาวยังคงมุ่งหน้าผลิตบุคลากรด้านนี้ต่อไป

พิธีมอบปริญญาบัตร และประกาศนียบัตรสำหรับพ่อพิมพ์ และแม่พิมพ์ของชาติในอนาคต จัดขึ้นในวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่หอประชุมใหญ่ของวิทยาลัย นางแสงเดือน หล้าจันทะบูน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับนายสมสะหนิด บุดติวง รองเจ้าแขวงจำปาสัก ไปร่วมในพิธีด้วย สื่อของทางการรายงาน

เมื่อก่อนนี้ ในประเทศไทยวิทยาลัยครูอยู่หลายแห่ง ทั้งในส่วนกลาง และในต่างจังหวัด แต่ปัจจุบัน ทุกแห่งได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหมดแล้ว หลักสูตรตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนต่างๆ ได้เปลี่ยนไปทั้งหมด แต่ในลาวปัจจุบัน ยังมี “สถาบันสร้างครู” ถึง 8 แห่ง รวมทั้งที่เมืองเอกของแขวงจำปาสักนี้ด้วย

ลาวยังต้องการครูที่มีคุณภาพในระดับต่างๆ เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่อนุบาล จนถึงระดับมัธยมศึกษา ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชน ในยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติจนถึงปี 2563

ปัจจุบัน มีการเปิดสอนหลักสูตรครูทุกระดับแตกต่างกันไป ทั้งครูอนุบาล ครูประถม และครูมัธยม หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่รายงาน

สำหรับวิทยาลัยครูปากเซ ก่อตั้งขึ้นในปี 2505 ปีนี้ครบรอบ 50 ปีพอดี ปีการศึกษา 2545-2555 ที่ผ่านมา มีบุคลากรทั้งหมด 147 คน มีนักศึกษาจำนวน 3,645 คน เป็นหญิงถึง 2,098 คน

วิทยาลัยแห่งนี้เปิดสอนวิชาครูในหลายระบบ มีทั้งนักศึกษาเรียนภาคปกติ ภาคค่ำ และภาคเรียนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ สำหรับการศึกษาต่อเนื่องด้วย หนังสือพิมพ์รายวันของทางการนครเวียงจันทน์รายงาน.
.
<bR><FONT color=#000033>รถตู้แล่นออกจากประตูใหญ่ของวิทยาลัยครูปากเซในภาพวันที่ 28 ก.ย.2552 ปีนี้ครอบ 50 ปีการก่อตั้งพอดี ที่นี่เป็นสถาบันการศึกษาเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ผลิตพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาติโดยเฉพาะ. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.  </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น