คลิกเพื่อชมแผนที่ขนาดใหญ่
.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ข่าวหนึ่งซึ่งเป็นที่ฮือฮาในเวียดนามสัปดาห์ที่แล้วก็คือ นักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ได้นำแผนที่เก่าแก่อายุนับร้อยปีของราชอาณาจักรจีนราชวงศ์ชิงออกเผยแพร่ แสดงให้เห็นว่าจีนไม่เคยครอบครองหมู่เกาะพาราเซล และหมู่เกาะสแปร็ตลีย์มาก่อน ซึ่งจีนกล่าวอ้างมาตลอดว่าเป็นเจ้าของมานานนับพันปี
แผนที่ปี 1904 ซึ่งพิมพ์ด้วยวัสดุกระดาษปนผ้าไหม ที่ศาสตราจารย์ฝ่าม หว่าง กวน (Phan Hoang Quan) นำออกเผยแพร่ครั้งแรกในวันที่ 20 ก.ค.2555 ตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์แห่งหนึ่งในนครเซี่ยงไฮ้ แสดงอาณาเขต และแว่นแคว้นต่างๆ ทั้งหมดของจีนสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน
แผนที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แหงชาติในกรุงฮานอย นักวิจัยรายนี้กับคณะได้ค้นพบ ต่อมา ได้จัดถ่ายสำเนา และนำออกติดตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ฯ ดังกล่าวในวันพุธ 25 ก.ค. ขณะที่สื่อต่างๆ รายงานข่าวครึกโครม และได้รับความสนใจจากสาธารณชน มีผู้เข้าชมนับหมื่น หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋รายงานในเว็บไซต์ภาษาเวียดนาม
เพียงข้ามวัน สื่อออนไลน์ของจีนได้ตีพิมพ์ทั้งภาพ และข่าวรายงานเหตุการณ์นี้ แต่ยังไม่มีรายงานใดโดยสำนักข่าวของทางการ และยังไม่มีการแสดงท่าทีใดๆ จากทางการจีน ซึ่งโดยปกติจะตอบเรื่องนี้อย่างฉับไว
แผนที่สมัยราชวงศ์ชิง แสดงอาณาเขตของราชอาณาจักรฮั่นทางตอนใต้สุดถึงเพียงเกาะไหหลำเท่านั้น ไม่ได้ระบุถึงเกาะหว่างซากับเจื่องซา ชื่อที่เวียดนามเรียกหมู่เกาะพาราเซลซึงอยู่ตอนเหนือ และสแปร็ตลีย์ที่อยู่ใต้ลงไปในทะเลจีนใต้
แผนที่ฉบับนี้ได้ช่วยแสดงความชัดเจนของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนหลายชิ้น ที่ฝ่ายเวียดนามนำออกแสงมาตั้งแต่ 2553 เพื่อตอกย้ำว่า จีนไม่เคยเป็นเจ้าของหมู่เกาะพิพาททั้งสองแห่ง ตลอดช่วงเวลากว่า 100 ปีมานี้
ผศ.หว่าง กวน กล่าวว่า ยังมีแผนที่จีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ้อง (หรือซุง) เป็นต้นมาอีกหลายฉบับ ซึงเป็นแผนที่วาดแสดงโครงร่างทั้งหมด เนื่องจากในยุคโน้น ยังไม่มีการพิมพ์แผนที่ด้วยระบบที่ทันสมัย แต่ทั้งหมดล้วนไม่ได้ระบุหมู่เกาะทั้งสองแห่งที่จีนในปัจจุบันกล่าวอ้างเป็นเจ้าของเช่นกัน และเวียดนามควรรีบแจ้งให้จีนทราบ และแสดงความจริงให้ประชาคมระหว่างประเทศได้ประจักษ์
แผนที่กับเอกสารเหล่านี้ในเวียดนาม ไม่เคยปรากฏต่อสาธารณชนมาก่อน เนื่องจากเก็บเอาไว้ในหมวดเอกสารประวัติศาสตร์ที่บุคคลภายนอกเข้าถึงได้ยากมาก
แผนที่ปี 1904 ซึ่งพิมพ์ด้วยวัสดุกระดาษปนผ้าไหม ที่ศาสตราจารย์ฝ่าม หว่าง กวน (Phan Hoang Quan) นำออกเผยแพร่ครั้งแรกในวันที่ 20 ก.ค.2555 ตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์แห่งหนึ่งในนครเซี่ยงไฮ้ แสดงอาณาเขตและแว่นแคว้นต่างๆ ทั้งหมดของจีนสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน
แผนที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แหงชาติในกรุงฮานอย นักวิจัยรายนี้กับคณะได้ค้นพบ ต่อมา ได้จัดถ่ายสำเนา และนำออกติดตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ฯ ดังกล่าวในวันพุธ 25 ก.ค. ขณะที่สื่อต่างๆ รายงานข่าวครึกโครมและได้รับความสนใจจากสาธารณชนมีผู้เข้าชมนับหมื่น หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋รายงานในเว็บไซต์ภาษาเวียดนาม
.
2
3
4
เพียงข้ามวัน สื่อออนไลน์ของจีนได้ตีพิมพ์ทั้งภาพ และข่าวรายงานเหตุการณ์นี้ แต่ยังไม่มีรายงานใดโดยสำนักข่าวของทางการ และยังไม่มีการแสดงท่าทีใดๆ จากทางการจีน ซึ่งโดยปกติจะตอบเรื่องนี้อย่างฉับไว
แผนที่สมัยราชวงศ์ชิงแสดงอาณาเขตของราชอาณาจักรฮั่นทางตอนใต้สุดถึงเพียงเกาะไหหลำเท่านั้น ไม่ได้ระบุถึงเกาะหว่างซา กับเจื่องซา ที่เวียดนามมเรียกหมู่เกาะพาราเซลซึงอยู่ตอนเหนือ และสแปร็ตลีย์ที่อยู่ใต้ลงไปในทะเลจีนใต้
แผนที่ฉบับนี้ได้ช่วยแสดงความชัดเจนของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนหลายชิ้น ที่ฝ่ายเวียดนามนำออกแสงมาตั้งแต่ 2553 เพื่อจอกน้ำว่า จีนไม่เคยเป็นเจ้าของหมู่เกาะพิพาททั้งสองแห่ง ตลอดช่วงเวลากว่า 100 ปีมานี้
ผศ.หว่าง กวน กล่าวว่า ยังมีแผนที่ และเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เป็นภาษาจีนอีกหลายฉบับ ซึ่งล้วนไม่ได้ระบุหมู่เกาะทั้งสองแห่งที่จีนในปัจจุบันกล่าวอ้างเป็นเจ้าของ และเวียดนามควรรีบแจ้งให้จีนและประชาคมระหว่างประเทศได้ทราบข้อเท็จจริง
แผนที่กับเอกสารเหล่านี้ในเวียดนาม ไม่เคยปรากฏต่อสาธารณชนมาก่อน เนื่องจากเก็บเอาไว้ในหมวดเอกสารประวัติศาสตร์ที่บุคคลภายนอกเข้าถึงได้ยาก
นักวิจัยรายเดียวกันนี้กล่าวว่า โรงพิมพ์แห่งเดียวกันในนครเซี่ยงไฮ้ตีพิมพ์แผนที่ฉบับนี้ซ้ำอีกครั้งในปี 1910 โดยแสดงเนื้อหาเดียวกัน และขอบเขตของราชอาณาจักรจีนอันเดียวกัน เชื่อว่าทางการจีนมีแผนที่ปี 1910 ไว้ในครอบครองเช่นกัน
ศ.หว่าง กวนกับคณะยังได้แสดงเอกสารประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ชิงอีกชิ้นหนึ่ง ที่ระบุว่า เขตแดนทางตอนใต้ของจีนสิ้นสุดที่ “ทะเลใต้” บริเวณภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งเป็นภูเขาที่อยู่ในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ในปัจจุบันอีกด้วย
หลักฐานใหม่นี้ขัดแย้งกับการกล่าวอ้างของนายทหารจีนคนหนึ่ง ในรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์สัปดาห์ที่แล้ว ที่อ้างว่า จีนครอบครองหมู่เกาะทั้งสองแห่งมาตลอด และเพิ่งจะกลายเป็นข้อขัดแย้งก็ในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งประเทศแถบนี้รุกล้ำเข้าครอบครองและอ้างการเป็นเจ้าของ
หลายปีมานี้ เวียดนามได้นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกแสดงหลายชิ้นเพื่อยืนยันว่าหมู่เกาะพิพาทเป็นอาณาเขตปกครองของเวียดนามมาแต่โบราณเช่นกัน
.
5
แผนที่ใหม่นี้อาจจะเป็นหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่สนับสนุนการกล่าวอ้างของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวอเมริกัน และชาวออสเตรเลีย ที่เคยแถลงก่อนหน้านี้ว่า จีนอาจจะสร้างหลักฐานเท็จขึ้นมากล่าวอ้างเป็นเจ้าของหมู่เกาะพิพาท
ปัจจุบัน คอมมิวนิสต์จีน จีนไต้หวัน และเวียดนาม ต่างก็กล่าวอ้างเป็นเจ้าของเกาะหมู่พาราเซล และจีนกับเวียดนามอ้างเป็นเจ้าของหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ทั้งหมด และฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน กับไต้หวัน กล่าวอ้างเป็นเจ้าของบางส่วนหมู่เกาะทางตอนใต้ที่เชื่อว่ารุ่มรวยด้วยพลังงานอยู่ใต้ผืนน้ำ
แต่ในขณะเดียวกัน จีนกลับกล่าวอ้างเป็นเจ้าของน่านน้ำเกือบ 80% ในทะเลจีนใต้ โดยสิ่งที่เรียกว่า “แผนที่เส้นประ 9 เส้น” ซึ่งได้ล่วงล้ำเข้าไปในเขตไหล่ทวีป หรือน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้านแถบนี้หลายประเทศ ขณะที่จีนประกาศว่า ปัญหาพิพาทนี้จะต้องแก้ไขโดยการเจรจาสองฝ่ายเป็นกรณีๆ ไป
ในเดือนนี้ จีนประกาศจัดตั้งเขตปกครองที่รวมเอาทั้งสองหมู่เกาะเข้าไปด้วย และในช่วงเดียวกัน ประธานาธิบดีเวียดนามได้ลงนามผ่านร่างกฎหมายการปกครองหมู่เกาะทั้งสองแห่งเพิ่มเติม และอีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือ จีนได้ประกาศการก่อตั้งกองกำลังทหารเพื่อพิทักษ์เขตปกครองใหม่โดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม ในกรณีพิพาททะเลจีนใต้นี้ จีนมีมิตรไม่มากนัก สัปดาห์ที่แล้ว วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ นายจอห์น แม็คเคน แห่งพรรครีพับลิกัน ได้ออกวิจารณ์ว่า การที่จีนส่งเรือรบเข้าหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ (และติดหล่ม) สัปดาห์ก่อนนั้น “เป็นการยั่วยุโดยไม่มีความจำเป็น” และ “จีนไม่สมควรเป็นมหาอำนาจ เนื่องจากขาดความรับผิดชอบ”
ผู้บัญชาการกองทัพเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบดูแล “เส้นทางเดินเรือเสรีทะเลจีนใต้” ได้ออกวิจารณ์ก่อนหน้านั้นว่า จีนกล่าวอ้างเขตแดนทางทะเลจนเกินขอบเขตที่กฎหมายระหว่างประเทศจะอนุญาตให้ได้
รัสเซียเป็นสมาชิกถาวรแห่งสหประชาชาติล่าสุด ที่แสดงจุดยืนชัดเจนเรื่องนี้อย่างชัดเจน คือใ ห้ทุกฝ่ายแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ไม่มีการใช้อาวุธ และไม่มีการข่มขู่จะใช้อาวุธ และการแก้ไขกรณีพิพาทจะต้องเคารพกฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นท่าทีของกลุ่มอาเซียนที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ
รัสเซียย้ำจุดยืนนี้อีกครั้งหนึ่งในคำแถงร่วมรัสเซีย-เวียดนาม ที่ออกในวันศุกร์ 27 ก.ค.2555 วันสุดท้ายการเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการ โดยประธานาธิบดีเวียดนามม นายเจืองเติ๋นชาง.