xs
xsm
sm
md
lg

ปิดประชุม รมต.อาเซียนไร้แถลงการณ์ร่วม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ขณะขึ้นกล่าวในพิธีปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 45 ในกรุงพนมเปญ  วันที่ 13 ก.ค. --AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </font></b>

เอเอฟพี - หลายวันของการเจรจราทางการทูตที่ร้อนแรง สิ้นสุดลงด้วยความล้มเหลวในวันนี้ (13 ก.ค.) หลังความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อพิพาทดินแดนกับจีนไม่สอดคล้องกัน ส่งผลให้ชาติสมาชิกอาเซียนไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมตามธรรมเนียมปฏิบัติในที่ประชุมในวันนี้ได้

รัฐมนตรีต่างประเทศจาก 10 ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ในสัปดาห์นี้ พยายามที่จะสรุปแถลงการณ์ขั้นสุดท้ายในกัมพูชา ที่จัดขึ้นเพื่อหารือความคืบหน้าร่างระเบียบปฏิบบัติที่มีเป้าหมายคลายความตึงเครียดในทะเลจีนใต้

จีนอ้างสิทธิครอบครองเหนือพื้นที่ทั้งหมดในทะเลที่อุดมด้วยทรัพยากร ทั้งยังเป็นเส้นทางเดินเรือทางการค้าที่สำคัญ แต่ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน ต่างก็อ้างสิทธิเหนือพื้นที่แห่งนี้เช่นกัน

ฟิลิปปินส์กล่าวตำหนิต่อความล้มเหลวในที่ประชุมว่า ฟิลิปปินส์ไม่เห็นด้วยกับการไม่มีประกาศแถลงการณ์ร่วม ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนในการดำรงอยู่ของอาเซียนมาตลอด 45 ปี ฟิลิปปินส์ต้องการให้อาเซียนออกแถลงการณ์ประณามจีน จากกรณีการเผชิญหน้าระหว่างเรือรบของฟิลิปปินส์ และจีน บริเวณสันดอนสการ์โบโรห์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา แต่กัมพูชาที่เป็นพันธมิตรจีน และดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนหมุนเวียนในปีนี้ ได้ออกมาคัดค้านข้อเรียกร้องของฟิลิปปินส์

คำแถลงของฟิลิปปินส์ระบุว่า ความแตกแยกที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามข้อตกลงอาเซียนก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาข้อพิพาทด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ใช่ในลักษณะของทวิภาคี ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศเพื่อนบ้านทางเหนือ (จีน) ควรที่จะยอมรับ

จีนเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินรายใหญ่ของกัมพูชา และนักการทูตบางคนกล่าวว่า กัมพูชารับบทบาทเป็นผู้ช่วยจีนด้วยการปิดกั้นการกล่าวถึงข้อกล่าวหาการละเมิดสิทธิต่างๆ

นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา แสดงความรู้สึกเสียใจต่อความไม่ลงรอยกันภายในกลุ่ม แต่กล่าวว่า เขาไม่สามารถยอมรับได้ที่แถลงการณ์ร่วมจะกลายเป็นตัวประกันของปัญหาระดับทวิภาคี (ระหว่างฟิลิปปินส์ และจีน)

นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมการประชุมในวันพฤหัสบดี กล่าวแสดงความหวังต่อความสามัคคีของอาเซียน และกระตุ้นความคืบหน้าข้อระเบียบปฏิบัติที่ถูกมองว่า จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งในทะเลจีนใต้

นักวิเคราะห์หลายรายกล่าวว่า ความขัดแย้งนี้อาจปนอยู่ในการเจรจาครั้งต่อๆ ไปในอนาคตระหว่างอาเซียน และจีน

“กัมพูชาแสดงตัวว่าเป็นเสียงของจีน นี่จะทำให้การเจรจราระเบียบปฏิบัติขั้นสุดท้ายกับจีนยากลำบากยิ่งขึ้น แต่ก็ยากที่จะเชื่อว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนไม่สามารถหาแนวทางที่เป็นที่พอใจให้แก่ทุกฝ่ายได้” คาร์ล เธเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น