xs
xsm
sm
md
lg

อาเซียนร้าวแม้ได้ข้อตกลงร่วมทางทะเลแก้ไขพิพาทจีนใต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา แถลงข่าวต่อสื่อที่อาคารสันติภาพ ในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 20 ก.ค. อาเซียนบรรลุฉันทมติข้อขัดแย้งทะเลจีนใต้ แต่กัมพูชากล่าวโทษฮานอยและมะนิลาที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถออกคำแถลงได้ในครั้งแรก. --  AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>

เอเอฟพี - ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ระบุวานนี้ (20 ก.ค.) ให้คำมั่นที่จะทำงานร่วมกันมุ่งสู่ “ระเบียบปฏิบัติ” (Code of conduct) ในทะเลจีนใต้ แต่กลับล้มเหลวที่จะแก้ไขรอยร้าวที่ขัดขวางการประชุมระดับภูมิภาคเมื่อสัปดาห์ก่อน

กัมพูชาที่ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนหมุนเวียนในปัจจุบันประกาศว่า ชาติสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบในหลักการทางทะเล 6 ประการ ที่ความตึงเครียดได้ปะทุขึ้นเมื่อไม่นานนี้กับเวียดนาม และฟิลิปปินส์ที่กล่าวหาถึงพฤติกรรมที่แข็งกร้าวขึ้นของปักกิ่ง

คำแถลงที่ยังรวมถึงความมุ่งมั่นที่จะเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่ใช่กำลังในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เป็นความพยายามที่จะขจัดความรู้สึกว่า กลุ่มอาเซียนแตกแยกกัน

ด้านฟิลิปปินส์กล่าวว่า มีความยินดีกับผลสรุปที่ออกมา

ความไม่ลงรอยในเหตุพิพาทดินแดนกับปักกิ่ง ทำให้อาเซียนไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันตามธรรมเนียมปฏิบัติหลังจบการประชุมได้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ก่อตั้งอาเซียนมา 45 ปี

สัญญาณของความไม่ลงรอยยังคงปรากฎ เมื่อนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา แถลงข่าวในวันศุกร์ว่า หลักการ 6 ประการที่มีนั้น คล้ายกับสิ่งที่ถูกปฏิเสธโดยเวียดนาม และฟิลิปปินส์เมื่อสัปดาห์ก่อน และตำหนิสองประเทศสำหรับทางตันก่อนหน้านี้

“ทำไม 2 ชาติอาเซียนถึงคัดค้านอย่างหนัก และในตอนนี้พวกเขากลับเห็นชอบ” นายฮอร์ นัมฮง กล่าว

นักการทูตหลายคนได้กล่าวว่าจุ ดติดขัดสำคัญก่อนหน้านี้ คือ การปฏิเสธของกัมพูชาที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดจีนที่จะกล่าวถึงความขัดแย้งทางทะเลในแถลงการณ์ร่วม ขณะที่ฟิลิปปินส์ต้องการให้อ้างอิงถึงเหตุประจันหน้ากับจีนที่แนวปะการังสการ์โบโรห์ ในทะเลจีนใต้

จีนอ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำทั้งหมดที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นเส้นทางเดินเรือทางการค้าที่สำคัญ แต่ชาติสมาชิกอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน ต่างอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ทับซ้อนในบริเวณดังกล่าวเช่นกัน

ข้อตกลง 6 ประการ ที่ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์อย่างเฉพาะเจาะจง มีขึ้นหลังความพยายามทางการทูตของนายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ที่เดินทางเยือนฮานอย และมะนิลาเมื่อวันพุธ (18) ก่อนเยือนพนมเปญในเวลาต่อมา

นายฮอร์ นัมฮง กล่าวว่า ผู้แทนทางการทูตได้เลือกเจรจากับเวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพราะสองประเทศนี้ทำให้เกิดปัญหาที่นำไปสู่ความล้มเหลวในการออกแถลงการณ์ร่วมกัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น