xs
xsm
sm
md
lg

ลาวยันหยุดสร้างแล้ว ลั่นเขื่อนไซยะบูลีต้องโปร่งใส

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ International River Network ซึ่งระบุว่าเป็นแม่น้ำโขงช่วงเมืองไซยะบูลี ที่บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทยจะสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาด 1,260 เมกะวัตต์ แต่รัฐบาลลาวได้ตกลงเลื่อนออกไปเมื่อปีที่แล้วตามมติของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง โดยการร้องขอจากเวียดนามซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ปากแม่น้ำนานาชาติสายนี้ ทางการลาวยืนยันว่าไม่มีการก่อสร้างใดๆ อีกตั้งแต่นั้น นอกจากการสำรวจทางธรณีวิทยาและปฏิบัติการของ 2 บริษัทที่ปรึกษาอิสระ ลาวกล่าวว่าจะทำให้โครงการนี้โปร่งใสที่สุดและเป็นเขื่อนทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เจ้าหน้าที่ของลาวกล่าวว่า จะยังไม่สร้างเขื่อนไซยะบูลีอีก จนกว่าจะมีการปรึกษาหารือจนเป็นที่ยอมรับของบรรดาหุ้นส่วนต่างๆ เพื่อทำให้โครงการเขื่อนมูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์มีความโปร่งใสมากที่สุด และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

สื่อของทางการอ้างการเปิดเผยของนายวีละพน วีละวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ลาว

การให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีผู้นี้มีขึ้นหลังจากช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขงในลาว กล่าวหาว่า บริษัท ช.การช่าง จากประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ลงทุนในโครงการ ยังคงดำเนินการก่อสร้างต่อไปลับๆ โดยไม่ปฏิบัติตามคำมั่นต่อประชาคมระหว่างประเทศ ที่จะหยุดก่อสร้างลงชั่วคราว เพื่อศึกษาผลกระทบใหม่อย่างรอบด้าน

“เราวางแผนจะเชื้อเชิญหุ้นส่วนร่วมการพัฒนาทั้งหลาย และสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงไปเยี่ยมชมโครงการ เพื่อให้ได้ประจักษ์ต่อการพัฒนาด้วยตนเอง” หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์ส อ้างคำกล่าวของรัฐมนตรีช่วยว่าการ

“เขื่อนไซยะบูลีจะพัฒนาให้เป็นโครงการเขื่อนที่โปร่งใส และทันสมัยมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก” นายวีละพนกล่าวกับเวียงจันทน์ไทม์ส แต่ก็ยอมว่า การสำรวจชั้นดินด้านธรณีศาสตร์ ยังคงดำเนินต่อไป

รัฐมนตรีลาวยังเปิดเผยอีกว่า รัฐบาลได้ว่าจ้างกลุ่ม Poyry กับบริษัท Companie Nationale du Rhone เป็นที่ปรึกษาอิสระ ทั้งสองแห่งได้แนะนำให้ดัดแปลงแก้ไขโครงการ เพื่อให้ความมั่นใจต่อประเทศเพื่อนบ้านว่า เขื่อน 1,360 เมกะวัตต์ ที่เมือง (อำเภอ) ไซยะบูลี ในแขวง (จังหวัด) ไซยะบูลีจะไม่ส่งผลกระทบข้ามพรมแดน
.
 <bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บบล็อกของอดีตเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ ประจำนครเวียงจันทน์ ผู้ซึ่งใช้นามแฝงว่า Prince Roy ถ่ายวันที่ 23 มี.ค.2554 แสดงให้เห็นคนงานกับเครื่องจักรกำลังตัดถนนเข้าไปยังไซต์ก่อสร้างเขื่อน ที่เห็นอยู่บนพื้นเป็นถุงบรรจุสารแอมโมเนียมไนไตรต์ที่ใช้ประกอบระเบิด รัฐมนตรีของลาวผู้หนึ่งเปิดเผยในสัปดาห์นี้ว่า การก่อสร้างเขื่อนมูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์ได้หยุดลงตั้งแต่ปีที่แล้ว จนกว่าจะมีการปรึกษาหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้เป็นที่พอใจก่อน.</b>
.
ปีที่แล้ว เวียดนามซึ่งอยู่ตอนปลายสุดของแม่น้ำโขง และจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากความเปลี่ยนแปลงใดๆ ในลำน้ำสายนี้ได้ฟื้นโครงการเขื่อนไซยะบูลี ให้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) ทบทวน โดยได้รับการสนับสนุนจากกัมพูชา และฝ่ายลาวตกลงยืดเวลาการก่อสร้างออกไป

บริษัทลูกของกลุ่มบริษัทน้ำมัน และก๊าซแห่งชาติเวียดนามหรือ “ปิโตรเวียดนาม” ก็เป็นผู้ลงทุนในโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขงขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ใกล้กับเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง

บริษัท ปิโตรเวียดนามผลิตไฟฟ้า จำกัด เซ็นบันทึกช่วยความจำกับทางการลาวในวันที่ 12 ต.ค.2550 เพื่อศึกษาเป็นเวลา 30 เดือน แต่นั้นมา ยังไม่มีการเปิดเผยใดๆ อีกเกี่ยวกับโครงการเขื่อน 1,410 เมกะวัตต์ มูลค่าก่อสร้างราว 4,000 ล้านดอลลาร์

ยังมีโครงการเขื่อนกั้นลำน้ำโขงในลาวอีกอย่างน้อย 2 แห่ง ซึ่งเป็นของนักลงทุนจากจีน คือ เขื่อนปากแบงขนาด 1,300 เมกะวัตต์ ในแขวงอุดมไซ กับเขื่อนปากลาย 1,320 เมกะวัตต์ ในแขวงไซยะบูลี นอกจากนั้น บริษัทจากไทยยังเป็นเจ้าของโครงการเขื่อนกั้นลำน้ำโขงอีก 3 หรือ 4 แห่งในภาคใต้ของลาว

ปัจจุบัน จึงมีเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียวที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คือ โครงการดอนสะโฮงขนาด 240 เมกะวัตต์ ของกลุ่มเมกะเฟิร์ส จากมาเลเซีย แต่สร้างกั้นทางน้ำไหลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “ฮูสะโฮง” ในเขตสี่พันดอน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดในดินแดนลาว.
กำลังโหลดความคิดเห็น