xs
xsm
sm
md
lg

ธนาคารกลางพม่าขอเป็นอิสระกำหนดนโยบายการเงิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>สำนักงานใหญ่ธนาคารกลางพม่า  (Central Bank of Myanmar)  ในเมืองเนปีดอ ภาพวันที่ 17 พ.ค.2555 ขณะเตรียมการหาทางลดอัตราแลกเปลี่ยนลงหลังจากปล่อยให้ลอยตัวก่อนหน้านี้เพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน ธนาคารกลางหวั่นว่าอัตราแลกเปลี่ยนใหม่จะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจ ปัจจุบันธนาคารกลางกำลังแสวงหาความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ. --REUTERS/Soe Zeya Tun. </b>
.

เอเอฟพี - รองผู้ว่าการธนาคารกลางพม่าระบุว่า ธนาคารกลางพม่าพยายามที่จะทำให้ธนาคารมีอิสรภาพในการกำหนดนโยบายทางการเงิน ในขณะที่รัฐบาลกำลังปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ

“หากธนาคารมีเสถียรภาพทางการเงิน นักลงทุนสามารถเข้ามาลงทุนในประเทศด้วยความมั่นใจอย่างเต็มที่” นายหม่อง หม่อง วิน กล่าวในการให้สัมภาษณ์ พร้อมระบุว่า อิสรภาพของธนาคารกลางจะเป็นเครื่องหมายที่แสดงออกถึงระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีที่ทันสมัย

นายหม่อง หม่อง วิน กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่คาดว่าเกิดขึ้นในชั่วเวลาข้ามคืน แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางพม่า (CBM) ต้องการที่จะรับพนักงานเพิ่มเพื่อขยายความสามารถของธนาคาร

สำหรับร่างกฎหมายธนาคารกลางฉบับใหม่ขณะนี้ อยู่ที่สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อรอการพิจารณา และจะต้องผ่านมติเห็นชอบจากรัฐสภา ก่อนที่ธนาคารจะสามารถแยกตัวเป็นอิสระจากการควบคุมนโยบายด้านการเงินของรัฐบาลได้

“กฎหมายธนาคารกลางพม่า จะได้รับการแก้ไขให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับระบบของธนาคารกลาง” นายหม่อง หม่อง วิน หนึ่งในสองรองผู้ว่าการธนาคารกลางพม่า กล่าว

นอกจากนั้น ธนาคารกลางพม่ากำลังมองหาความช่วยเหลือจากต่างชาติเพื่อเข้าฝึกฝนพนักงาน และเมื่อต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับธนาคารแห่งประเทศไทยในความร่วมมือความช่วยเหลือทางเทคนิค

รายงานที่เผยแพร่เมื่อเดือน พ.ค. ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ธนาคารกลางพม่าเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงการคลัง และไม่มีกรอบนโยบายทางการเงิน ธนาคารกลางพม่าควรได้รับอิสระในการดำเนินงาน และความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุอย่างชัดเจนของเสถียรภาพด้านราคาภายในประเทศ

เว็บไซต์ของธนาคารกลางพม่าระบุว่า วัตถุประสงค์หลักนโยบายทางการเงินของธนาคาร คือ การรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค และส่งเสริมการออมในประเทศ ด้วยการใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือหลัก และในปัจจุบันกำหนดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 10

ในเดือน มิ.ย. ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้ให้คำมั่นที่จะปฏิรูปประเทศระลอกที่สอง โดยมีเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลาง หลังจากเดินหน้าปฏิรูปการเมืองหลายประการ และในการปฏิรูปเศรษฐกิจระยะแรกของรัฐบาลชุดใหม่เมื่อเดือน เม.ย. รัฐบาลได้เริ่มลอยค่าเงินจ๊าต ยกเครื่องระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นอัตราเดียวกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าและการลงทุน.
<bR><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางพม่า (Central Bank of Myanmar) กำลังทำงานที่สำนักงานใหญ่เมืองเนปีดอ วันที่ 17 พ.ค.2555 ธนาคารกลางกำลังเพิ่มจำนวนพนักงาน และแสวงหาความร่วมมือด้านการฝึกอบรมจากต่างประเทศ ปัจจุบันธนาคารกลางกำลังพยายามหาความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการเงินของประเทศ. --  REUTERS/Soe Zeya Tun.</b>
<bR><FONT color=#000033>ชายชาวพม่ากำลังใช้บริการจากเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารกันบอซา (Kanbawza Bank) ที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้ง วันที่ 25 มิ.ย. 2555 แบงก์เอกชนเหล่านี้มีอิสระค่อนข้างมาก แต่รองผู้ว่าการธนาคารกลางพม่าระบุในสัปดาห์นี้ว่า ธนาคารกลางต้องการที่จะกำหนดนโยบายทางการเงินอย่างเป็นอิสระรวมทั้งการกำกับดูแลธคารพาณิชย์ทั้งหลายในระบบ ในขณะที่รัฐบาลปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ -- AFP PHOTO/Soe Than Win.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น