xs
xsm
sm
md
lg

สื่อจีนเกทับบลัฟแหลก J-10B เหนือ Su-30 เวียดนาม-อินเดียทุกทาง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพจาก Wikipedia เครื่องบินรบเอนกประสงค์ J-10 มังกรคะนอง รุ่นแรก กำลังทะยานขึ้นจากสนามบินแห่งหนึ่งที่ไม่ได้ระบุชื่อและที่ตั้ง ทันทีที่แจ้งเกิดก็ได้เกิด และเป็นที่ฮือฮาเนื่องจากมีหน้าตาไปละม้ายคล้ายกับ F-16 ของสหรัฐฯ แต่ในวันนี้จีนได้ลบข้อครหาทั้งหมด พัฒนา J-10 จนถึงเวอร์ชั่น B1ซึ่งติดอุปกรณ์ใหม่เอี่ยมทั้งหมด แต่ไม่ทราบด้วยเหตุผลใดที่จู่ๆ สื่อของทางการก็นำเอาเครื่องบินรุ่นนี้ ซึ่งปัจจุบันเป็นกำลังหลักของกองอากาศ ไปเกทับบลัฟแหลก Su-30 ของรัสเซียที่เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซียและมาเลเซียมีประจำการในปัจจุบัน.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - สื่อของทางการจีนได้ออกรายงานในสัปดาห์นี้ โดยนำเครื่องบินรบอเนกประสงค์ J-10 ไปเปรียบเทียบกับ Su-30 ของรัสเซีย ที่ประจำการในเวียดนาม อินเดีย รวมทั้งมาเลเซียกับอินโดนีเซียในปัจจุบัน อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย โดยระบุว่า เครื่องบินรบของจีนที่ปรับปรุงขึ้นใหม่เหนือกว่าในทุกด้าน

นิตยสารข่าวโกลบอล ไทมส์ ของจีนกล่าวในเว็บไซต์ว่า J-10B ที่พัฒนาใหม่ได้ติดอุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมการบิน และเรดาร์ใหม่ที่สามารถสแกนเป้าหมายได้ไกลกว่า กว้างกว่ารุ่นเก่า และยังลดการสะท้อนเรดาร์ของข้าศึกลง ซึ่งทำให้ “ล่องหน” ได้มากกว่าเดิมอีกด้วย

รายงานของสื่อจีนดูราวกับเป็นความพยามตอบโต้ข่าวในสื่อกลาโหมรัสเซียที่ออกมาสัปดาห์ที่แล้ว ระบุว่า อินเดียมีปัญหากับการซื้อเครื่องบินรบราฟาล (Rafale) ล็อตใหญ่จากฝรั่งเศส และหันมาพัฒนา Su-30MKI โดยเพิ่มขีดความสามารถในการติดขีปนาวุธนิวเคลียร์

สื่อรัสเซียรายงานปลายสัปดาห์ที่แล้วเช่นกันว่า เวียดนามกำลังเจรจาซื้อ Su-30 อีก 18 ลำ ทั้งหมดเป็น Su-30KN ที่พัฒนาใหม่ล่าสุด ล้ำหน้ากว่าทุกรุ่นในตระกูล Su-27/30 ในสงครามทางอากาศ ซึ่ง Su-30 รุ่นที่แล้วภายใต้รหัส MK2V เวียดนามเน้นสงครามทางทะเล คือการปราบเรือดำน้ำ และทำลายเรือรบข้าศึก

นักวิเคราะห์กลาโหมกล่าวว่า การจัดซื้อ Su-30KN ของเวียดนามสอดคล้องกับการเซ็นซื้อระบบป้องกันทางอากาศล้ำหน้าที่ผลิตในประเทศเบลารุสอีก 20 ชุด นั่นคือ เตรียมรับมือกับ J-20 “สเตลธ์” ของจีน หากเกิดสงครามขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ไม่มีใครกล่าวถึง J-10 แต่อย่างใด

ความเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ ยังมีขึ้นหลังจากสื่อออนไลน์ภาษาเวียดนาม กับสื่อกลาโหมในรัสเซียปูดข่าวว่า ระบบเรดาร์ของเบลารุสที่เวียดนามใช้อยู่ในปัจจุบัน สามารถจับความเคลื่อนไหวของ J-20 ได้ระหว่างการฝึกซ้อมครั้งหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสื่อออนไลน์

อย่างไรก็ตาม โกบอล ไทมส์ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ หากเน้นไปที่ขีดความสามารถใหม่ของ J-10B ซึ่งในปัจจุบัน เป็นกำลังหลักของกองทัพอากาศ

สำนักข่าวหว่านเกิว (Hoan Cau) สื่อออนไลน์ภาษาเวียดนามที่ปูดข่าวเรดาร์จับเครื่องบิน J-20 สัปดาห์ก่อนยอมรับว่า หากเทียบกับ J10A กับ J-11 แล้ว J-10B เป็นเครื่องบินรบสมรรถนะสูงสุดของจีนในปัจจุบัน และอาจจะเทียบชั้นราฟาลของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเครื่องบินรบยุค 4++ ได้อีกด้วย
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพจาก Wikipedia เครื่องบินรบเอนกประสงค์ J-10 ของกองทัพอากาศจีนอีกลำหนึ่ง ที่สนามบินแห่งหนึ่งที่ไม่เปิดเผยชื่อ สื่อของทางการกล่าวในสัปดาห์นี้ว่า J-10B1 ที่พัฒนาใหม่ล่าสุดเหนือกว่า Su-30 ทุกลำในย่านนี้ นักวิเคราะห์มองว่าสื่อของจีนกำลังพยายามตอบโต้ข่าวที่อินเดียหันมาพัฒนา Su-30 เพื่อให้ติดอาวุธนิวเคลียร์ได้ และเวียดนามกำลังเจรจาซื้อ Su-30KN อีก 18 ลำ เป็น รุ่นท็อป ของซีรีส์นี้จากรัสเซีย คราวนี้เพื่อสงครามทางอากาศโดยเฉพาะ.</b>
.
จีนประสบความสำเร็จในการทดสอบ J-10 ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2551 เครื่องต้นแบบออกมามีรูปร่างหน้าตาคล้าย F-16 ของสหรัฐฯ แทบจะทุกกระเบียด แม้ว่ารายละเอียดจะต่างกันอยู่ในหลายจุดก็ตาม จากนั้น ก็เริ่มพัฒนา J-10B เพิ่มขีดความสามารถในด้านต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการรบ

ขณะเดียวกัน สื่อของจีนได้รายงานในสัปดาห์ต้นเดือนนี้ว่า การทดสอบเครื่องบิน J-15 ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบินนั้น ได้งวดเข้ามาทุกที จนเกือบจะเดินสายการผลิตได้แล้ว การพัฒนาไปถึงขั้นที่ว่า ระบบเรดาร์อะไรต่างๆ ของ J-15 มีประสิทธิภาพสูงกว่าของ Su-33 ต้นแบบอีกด้วย

จีนซื้อโครง Su-33 ที่สหภาพโซเวียตเก่าทิ้งเอาไว้จากสาธารณรัฐยูเครนและนำไปพัฒนาเป็นเครื่องต้นแบบ J-15 ขณะเดียวกัน ก็ซื้อโครงเรือบรรทุกเครื่องบินวาร์แย็กซึ่งเป็นโครงต้นแบบเดียวกันกับเรือบรรทุกเครื่องบินแอดมิรัลคูซเน็ตซอฟของกองทัพเรือรัสเซียปัจจุบัน แต่โซเวียตสร้างยังไม่แล้วเสร็จ และทิ้งเอาไว้ในยูเครน จีนนำไปทำขึ้นใหม่กลายเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของประเทศ

จีนประกาศจะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินของตนเองในระยะ 10-20 ปีข้างหน้า และพัฒนา J-15 เป็นการเตรียมรับอนาคต

กองทัพเรืออินเดียเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินที่สร้างจากต้นแบบของโซเวียตเช่นกัน ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือจากรัสเซีย ปัจจุบัน เรือวิกรมดิฐย์ (INS Vigramaditya) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 2 อยู่ระหว่างออกแล่นทดสอบระบบต่างๆ ในทะเล

แต่ต่างไปจากรัสเซีย ที่กำลังจะยกเลิก Su-33 และใช้่เครื่องบินรุ่นใหม่ประจำบนเรือคูซเน็ตซอฟ จีนกำลังพัฒนา “Su-33” เวอร์ชันของตนเอง อินเดียเลือกพัฒนามิก-29 (MiG-29) ที่ผลิตในประเทศ ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินลำล่าสุด.
 <bR><FONT color=#000033>เครื่องบินรบเอนกประสงค์ Su-30 ของกองทัพอากาศเวียดนาม ซึ่งสื่อออนไลน์ในจีนนำไปตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อต้นปีนี้ เพียงข้ามเดือนหลังได้รับจากรัสเซียลอตสุดท้าย 8 ลำที่สั่งซื้อในปี 2552 ซึ่งลำที่ติดหมายเลข 8536 นี้เป็นลำที่สองในกลุ่ม Su-30MK2V จำนวน 8 ลำ ที่เวียดนามสั่งเพิ่มอ็อพชั่น เพื่อสงครามทางทะเลโดยเฉพาะ สื่อจีนรายงานในสัปดาห์นี้ J-10B มังกรทะยาน รุ่นที่พัฒนาล่าสุดของตนเหนือกว่าทุกทาง. </b>
<bR><FONT color=#000033>เครื่องบินรบเอนกประสงค์ Su-30KN ปล่อยจรวดนำวิถี Kh-29TE แบบอากาศสู่พื้นเพื่อทำลายเป้าหมายขนาดใหญ่ เช่นโรงงาน ถนน สะพานหรือรถไฟของฝ่ายข้าศึก นอกจากภารกิจหลักในการทำสงครามทางอากาศแล้ว Su-30 เวอร์ชั่นนี้ยังใช้ในภารกิจโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินด้วยเหมือนกัน สื่อในรัสเซียรายงานปลายสัปดาห์ที่แล้วว่าเวียดนามกำลังเจรจาซื้อจากรัสเซียจำนวน 18 ลำ ซึ่งนักวิเคราะก์มองว่าเป็นการเตรียมรับมือ J-20 สเตลธ์ ของจีน.</b>
<bR><FONT color=#000033>เครื่องบิน Su-30MKI ของกองทัพอากาศอินเดีย 2 ลำ สื่อของจีนกล่าวว่า เครื่องบินรบรัสเซียตระกูล Su27/30 แพ้ J-10 รุ่นล่าสุดแบบหลุดลุ่ยทุกทาง แต่สื่อในรัสเซียรายงานก่อนหน้านี้ว่า อินเดียกำลังหันมาพัฒนา Su-30 รุ่นใหม่โดยขอลิขสิทธิ์ผลิตเองและเพิ่มขีดความสามารถให้ติดขีปนาวุธนิวเคลียร์ได้. </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น