xs
xsm
sm
md
lg

นักท่องเที่ยวทะลักพม่าหลังปฏิรูปเปิดประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเดินอยู่ภายในบริเวณเจดีย์ชเวดากอง นครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเยือนพม่าพุ่งสูงขึ้นนับตั้งแต่พม่าปฏิรูปประเทศ การหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวเช่นนี้ทำให้พม่าต้องเร่งปรับระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งโรงแรมที่พัก เนื่องจากไม่เพียงพอต่อความต้องการที่มีสูงมาก. -- AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>

เอเอฟพี - พม่าที่ครั้งหนึ่งถูกปฏิเสธจากนานาชาติเนื่องจากรัฐบาลเผด็จการทหาร และการคว่ำบาตร การเดินทางที่ได้รับการสนับสนุนจากนางอองซานซูจี ได้กลับกลายมาเป็นสถานที่ที่พลาดไม่ได้สำหรับนักท่องเที่ยว โรงแรมถูกจองเต็มแน่นแม้ราคาแพงระยับ ธนบัตรดอลลาร์เป็นสิ่งมีค่า ขณะที่บัตรเครดิตกลับถูกปฏิเสธ ยินดีต้อนรับสู่พม่าปลายทางท่องเที่ยวขนาดใหญ่แห่งถัดไปของเอเชีย

“เนื่องจากพม่าถูกโดดเดี่ยวประเทศ ดินแดนแห่งเจดีย์ทองคำ และเต็มไปด้วยสถานที่ที่ยังไม่ถูกแตะต้องจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก พร้อมกับการต้อนรับอย่างอบอุ่นด้วยไมตรีจิต” นิวยอร์กไทม์ส กล่าวถึงพม่าในฉบับตีพิมพ์เดือน ม.ค. และจัดอันดับให้พม่าอยู่ในอันดับที่ 4 ของรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยว 45 แห่ง ประจำปี 2555

แต่การไหลทะลักของนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาล สร้างความท้าทายให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตในประเทศที่การปฏิรูปการเมืองกำลังดำเนินอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และรายงานระบุว่า มีโรงแรมเพียงไม่กี่แห่งในนครย่างกุ้งที่ได้มาตรฐานสากลของธุรกิจที่พัก และโรงแรมที่พักเหล่านี้เริ่มปรับเพิ่มค่าที่พักเป็นหลายร้อยดอลลาร์ต่อคืน สำหรับห้องพักจากที่เคยมีราคาเพียงครึ่งหนึ่งในช่วงไม่ถึงปีที่ผ่านมา

“ด้วยความสัตย์จริง ในตอนนี้ผมไม่คิดว่าพม่าพร้อมที่จะรับมือกับความต้องการที่มีสูงมากของการท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่เช่นนี้” นายโทมัส มูนส์ ผู้จัดการโรงแรม Governor's Residence ในนครย่างกุ้ง กล่าว

“หากกล่าวในแง่ของจำนวนที่พักที่เราสามารถให้บริการได้นั้น ถือว่าไม่เพียงพอที่จะรับมือกับความต้องการ นักท่องเที่ยวมักคิดว่า พวกเขาจะได้ใช้วันหยุดในราคาแสนถูกเมื่อเดินทางมาพม่า ซึ่งมันตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง” นายมูนส์ กล่าว

เคล้าส์ อายุ 61 ปี นักท่องเที่ยวชาวเยอรมัน พร้อมภรรยา เดินทางไปยังเมืองซิตตะเว ที่อยู่ในภาคตะวักตกของพม่า กล่าวว่า พวกเขารู้สึกผิดหวังกับการเดินทางมาเยือนพม่าในคราวนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 3

“คราวนี้มีคนมากเกินไป ทั้งๆ ที่เป็นเดือนเมษายนที่อากาศร้อนที่สุด ผู้คนในโรงแรมที่เคยน่ารัก ยิ้มแย้ม และดูแลพวกเรา ตอนนี้พวกเขาไม่มีเวลาจะทำอย่างนั้นอีกแล้ว และราคาห้องพักก็พุ่งสูงติดเพดาน” เคล้าส์ กล่าว

จำนวนชาวต่างชาติที่เดินทางมายังพม่าเพิ่มขึ้นมาก เฉพาะที่เดินทางมายังนครย่างกุ้งมีจำนวนถึง 365,000 คน ในปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เทียบกับปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับปี 2546 และในปี 2555 นี้ ดูเหมือนจำนวนนักท่องเที่ยวจะพุ่งสูงอีกครั้ง เพียงแค่ระหว่างเดือน ม.ค. ถึง เม.ย. มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาพม่าแล้วมากกว่า 175,000 คน เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ 130,000 คน ขณะที่กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวระบุว่า นครย่างกุ้งมีห้องพักประมาณ 8,000 ห้องเท่านั้น
<br><FONT color=#000033>นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกถ่ายภาพร่วมกับพระสงฆ์รูปหนึ่ง ที่เจดีย์ชเวดากอง แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของพม่า ในนครย่างกุ้ง. -- AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>
<br><FONT color=#000033>นักท่องเที่ยวนั่งรถม้าชมเมืองโบราณพุกาม ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นดินแดนแห่งทะเลเจดีย์ เนื่องจากมีวัด เจดีย์ และศาสนสถานมากกว่า 10,000 แห่ง ซึ่งถูกสร้างขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 11-13 สมัยอาณาจักรโบราณพุกามที่เป็นอาณาจักรแห่งแรกในประวัติศาสตร์พม่า. -- AFP PHOTO/Ye Aung Thu.  </font></b>
เจดีย์ชเวดากอง สถานที่ที่มีชื่อเสียงของนครย่างกุ้ง จากที่เคยมีแต่คนท้องถิ่น เด็ก และพระสงฆ์ เดินเวียนรอบฐานเจดีย์อย่างเชื่องช้า แต่เมื่อไม่นานนี้ ภาพดังกล่าวถูกแทนที่ด้วยนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่พยายามเสาะหาจุดที่ดีที่สุดเพื่อถ่ายภาพ ยังไม่รวมถึงนักท่องเที่ยวที่โพสท่าถ่ายรูปอีกจำนวนหนึ่ง

นายพโย วาย ยาร์ ซาร์ คณะกรรมการการท่องเที่ยวพม่านายหนึ่งกล่าวว่า การหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวทำให้เกิดความแออัดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโรงแรมที่พัก โดยเฉพาะในนครย่างกุ้ง ซึ่งโรงแรมที่พักเหล่านั้นต่างปรับเพิ่มราคาตอบสนองความต้องการที่มีสูงมากเช่นกัน

“ผู้ให้บริการจัดการท่องเที่ยวอาจให้ทางเลือกปลายทางท่องเที่ยวแห่งอื่นๆ ในภูมิภาค” นายพโย วาย ยาร์ ซาร์ กล่าว

ชาวตะวันตกคุ้นเคยกับความสะดวกสบายในการเดินทางท่องเที่ยวเช่นในประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย แต่กลับต้องติดขัดจากผลของการโดดเดี่ยวประเทศเป็นเวลานานหลายปีของพม่า เกือบจะไม่มีสถานที่ใดรับบัตรเครดิต เดบิต หรือเช็คท่องเที่ยว ดังนั้น นักท่องเที่ยว หรือผู้มาเยือนจะต้องพกเงินสดทั้งหมดที่พวกเขาคิดว่าจำเป็นต้องใช้ตลอดการอยู่ในพม่าในรูปของเงินสกุลดอลลาร์

“พูดอย่างตรงไปตรงมา มีนักท่องเที่ยวบางรายเดินทางมาพม่าแบบไม่มีข้อมูลมากนัก และพวกเขาก็ไม่ได้พกเงินสดมามากพอ แต่ตัวแทนท่องเที่ยวก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ เป็นธรรมชาติของชาวพม่าที่จะให้ความช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหา” นายยโย วาย ยาร์ ซาร์ กล่าว

รัฐบาลพยายามอย่างรีบด่วนที่จะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ด้วยความพยายามที่จะสร้างโรงแรมแห่งใหม่ขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง และยกระดับการคมนาคมเชื่อมต่อไปยังสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวหลัก 4 แห่ง ด้วยการเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศ คือ นครย่างกุ้ง ทะเลสาบอินเลในรัฐชาน เมืองพุกาม และเมืองมัณฑะเลย์

“รายได้จากการท่องเที่ยวจำนวนมากกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่บางส่วนของประเทศ” นายแอนดรูว์ แอปเปิลยาร์ด จากบริษัทท่องเที่ยว Exodus Travels ที่กลับมาให้บริการในปลายทางท่องเที่ยวพม่าอีกครั้งในปีก่อน กล่าว

นายแอปเปิลยาร์ด ระบุว่า บริษัทวางแผนที่จะพานักท่องเที่ยวราว 400 คน เดินทางมายังพม่าในแต่ละปี แต่ตระหนักว่า ผู้ให้บริการท่องเที่ยวทั้งหมดต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดจากการทำธุรกิจจากประเทศเกิดใหม่ที่ไม่สามารถจัดการได้

“เราจะยังคงให้บริการต่อไป และปฏิบัติอย่างดีที่สุด แต่ความคาดหวังของลูกค้าต้องได้รับการจัดการหากพวกเขาเดินทางไปพม่า การให้บริการที่เชื่องช้า หลายอย่างยังไม่เข้าที่เข้าทาง และคุณยังต้องใช้พื้นที่่ร่วมกับนักท่องเที่ยวอีกหลายร้อยคนเช่นที่ชเวดากอง” นายแอปเปิลยาร์ด ระบุ.
กำลังโหลดความคิดเห็น