xs
xsm
sm
md
lg

ไทย-ลาว-เขมร ขายยางจีน 5 แสนตัน เกษตรพันธสัญญางอกงาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ประธานบริษัทพันปีกรุ๊ปฯ (3 จากซ้าย) กับตัวแทนจากจีน ลาว และกัมพูชาร่วมกันเซ็นความตกลงซื้อขายยางพาราล็อตใหญ่ในกรุงเทพฯ วันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา และกำลังเตรียมจัดส่งล็อตแรก 30,000 ตัน ผ่านไทยไปยังผู้ซื้อในประเทศจีนปลายเดือน เม.ย.นี้ จากทั้งหมด 500,000 ตัน มูลค่ากว่า 88 ล้านดอลลาร์ ทั้งหมดเป็นไปภายใต้ความร่วมมือการเกษตรแบบมีสัญญา หุ้นส่วนจากมณฑลหยุนหนันกล่าวว่า เป็นการเซ็นซื้อขายยางล็อตใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับจีน. -- ภาพ: CK Connection.  </b>
นำเสนอครั้งแรกเวลา 03.51 น.วันศุกร์ 6 เม.ย.2555 แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาและบรรยายภาพ 12.35 น. และ 14.06 น.วันศุกร์ 6 เม.ย.2555

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - บริษัทเอกชนไทยกับผู้ปลูกยางในลาว และกัมพูชา กำลังเตรียมการจัดส่งยางพารา 30,000 ตันให้ผู้ซื้อในจีนปลายเดือนเมษายนนี้ เป็นการส่งจำหน่ายล็อตแรกของทั้งหมด 500,000 ตัน ซึ่งอาจจะเป็นการซื้อขายผลผลิตล็อตใหญ่เป็นครั้งแรกภายใต้ระบบเกษตรแบบมีสัญญา และภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน-ภาครัฐในระดับอนุภูมิภาค

ยางพาราลอตแรกนี้มีมูลค่ารวมกันกว่า 80 ล้านดอลลาร์ ทั้งหมดเป็นยางที่ผลิตโดยเกษตรกรในกัมพูชาจำนวน 10,000 ตัน ในลาว 10,000 ตัน และของเกษตรกรไทยอีก 10,000 การส่งมอบจะดำเนินไปทุกๆ เดือน จนครบจำนวน 500,000 แสนตันตามข้อตกลง ผู้ที่เกี่ยวข้องกล่าวกับ “ASTVผู้จัดการออนไลน์”

การซื้อขายเป็นไปภายใต้กรอบกลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ ACMECS (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy) ที่ไทย พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนามเป็นสมาชิก และกรอบกลุ่มความร่วมมืออนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region) หรือ GMS ซึ่งมีจีน (มณฑลหยุนหนัน) ร่วมเป็นสมาชิกรายที่ 6

“จีนมีความต้องการยางพาราปีละ 3.7 ล้านตัน แต่ขณะนี้เราผลิตส่งให้ได้เพียง 5 แสนตันต่อปีเท่านั้น” นายพิชย์พิพรรธ ศรีตระกูลรักษ์ ประธานกรรมการบริษัท พันปี กรุ๊ป (ไทย ลาว กัมพูชา) จำกัด กล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

ยางพาราจากประเทศเพื่อนบ้านจะขนส่งเข้าไทย เพื่อส่งออกผ่านท่าเรือแหลมฉบังไปยังท่าเรือนครเซี่ยงไฮ้ ทั้งหมดจะดำเนินการโดยบริษัท แฮนเดิล อินเตอร์กรุ๊ป (Handle Inter Group) ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ให้บริการด้านบริการการส่งออก และลอจิสติกส์มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี นายพิชย์พิพรรธกล่าว

นายหลี่หยงเชง ประธานกรรมการบริษัทเหมืองหยุนหนัน มังกานีส (Yunnan Manganese Mining and Resources Group) ซึ่งทำธุรกิจการค้าหลากสาขา ทั้งเหมืองแร่ เขื่อนผลิตไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ ยางพารา และสินค้าเกษตรอื่นๆ และเป็นคู่สัญญาฝ่ายจีนกล่าวว่า การซื้อขายยาง 500,000 ตันครั้งนี้ เป็นการซื้อขายครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับจีน

นายหยงเชงระบุดังกล่าวในรายงานชิ้นหนึ่งที่พันปีกรู๊ปฯ เผยแพร่หลังการเซ็นความตกลงในวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา
.

<bR><FONT color=#000033>รถบรรทุกแล่นผ่านแผ่นป้ายที่บอกให้ทราบว่าเป็นถนนเชื่อมไทยที่อยู่ในเขตเมืองทวายในพม่า กลุ่มบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กำลังสร้างถนนความยาว 150 กม.ไปยังชายแดนด้าน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เมื่อแล้วเสร็จก็จะเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสำหรับการขนส่งสินค้า ยางพาราที่ปลูกมากในเขตตะนาวศรี รวมทั้งเมืองทวาย ก็จะได้รับอานิสงส์จากถนนสายนี้เช่นกันเพื่อส่งออกสู่ตลาดจีนผ่านท่าเรือแหลมฉบังของไทย. -- AFP PHOTO/Soe Than Win.  </b>
.

นายหลี่จี้เหิง ผู้ว่าการมณฑลหยุนหนัน ได้ร่วมกับรัฐมนตรีของไทยจำนวนหนึ่งเป็นสักขีพยานการลงนามในความตกลงครั้งนี้ โดยมีผู้แทนฝ่ายลาวคือ นายจำปา วงพะจัน กับนายหนูคำ วอละสาน จากสำนักนายกรัฐมนตรีลาว และผู้แทนของฝ่ายกัมพูชาคือ นายซัมคี (Sam Key) รายงานชิ้นเดียวกันระบุ

นายพิชย์พิพรรธบอก “ASTVผู้จัดการออนไลน์” ว่า โครงการเกษตรแบบมีสัญญาที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ เกี่ยวข้องกับเกษตรกรราว 2 ล้านคนใน 4 ประเทศ รวมพื้นที่สวนยางราว 5,600,000 ไร่ ในนั้น 3,988,004 ไร่ ต้นยางมีอายุ 7 ปีขึ้นไปพร้อมจะให้น้ำยาง

เกษตรกรไทยที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมสวนยาง 1,745,000 ไร่ ปัจจุบันจำนวน 1,434,804 ไร่พร้อมให้ผลผลิต ส่วนในลาวมี 1,688,000 ไร่ และ 1,250,000 ไร่พร้อมให้น้ำยาง เกษตรกรกัมพูชามีสวนยาง 1,287,000 ไร่ กรีดยางได้แล้ว 772,200 ไร่ กับในพม่าอีก 880,000 ไร่ พร้อมให้น้ำยาง 528,000 ไร่

“ยางพาราเป็นเพียงการเริ่มต้น เรายังจะขยายไปสู่ความร่วมมือซื้อขายผลผลิตการเกษตรอื่นๆ รวมทั้งข้าวกับมันสำปะหลังด้วย” นายพิชย์พิพรรธกล่าว

จดทะเบียนก่อตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนคนพันปี” ใน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อปี 2548 กลายมาเป็นพันปีกรุ๊ปฯ กลุ่มนี้ได้เข้าบุกเบิกลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านหลากหลายแขนง ทั้งในภาคเหนือ กับภาคตะวันตกเฉียงใต้กัมพูชา ในหลายแขวงของลาว และในพม่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนยางพาราเขตตะนาวศรี รวมทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกรายแรกๆ เข้าสู่แคว้นสิบสองปันนาของจีนด้วย นายพิชย์พิพรรธกล่าว

การเกษตรแบบมีสัญญา หรือ “เกษตรพันธสัญญา” เป็นแขนงหนึ่งในความตกลงของผู้นำ ACMECs ซึ่งเปิดการประชุมหารือกันที่เมืองพุกามของพม่าในเดือนพฤศจิกายน 2546 นอกเหนือจากการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือด้านสาธารณสุข ในช่วงปีที่โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome) หรือ SARS กำลังแพร่ระบาดในอนุภูมิภาค
.
<bR><FONT color=#000033>บริษัทจากจีนแห่งหนึ่งทำพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงงานผลิตยางแผ่น<i>ในแขวงหลวงน้ำทา</i> ในเดือน ก.ค .2554 นักลงทุนจากจีนจำนวนมากเข้าลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจในแขวงภาคเหนือของลาว ทั้งในพื้นที่สัมปทานและโครงการเกษตรพันธสัญญากับราษฎรในท้องถิ่น ระบบนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ยางพาราเท่านั้น หากยังรวมถึงพืชเศรษฐกิจอื่นๆ อีกหลายชนิด บริษัทกระดาษยักษ์ใหญ่ของจีนอีกแห่งหนึ่งกำลังปลูกยูคาลิปตัสในแขวงสะหวันนะเขต เพื่อป้อนโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.  </b>
<bR><FONT color=#000033>ผู้บริหารของหว่างแอง-ซยาลาย (Hoang Anh-Gia Lai) จากเวียดนามกำลังตรวจต้นยางอายุ 9 เดือนในที่สัมปทานแขวงเซกองทางตอนใต้ของลาว ในภาพ เดือน ก.พ. 2552 นักลงทุนไทยเข้าลงทุนปลูกยางในแขวงภาคใต้ของลาวเช่นกัน รวมทั้งพันปีกรุ๊ปฯ ด้วย ระบบเกษตรแบบมีสัญญากำลังงอกงาม เอกชนไทย ลาว และกัมพูชา เพิ่งเซ็นขายยางล็อตใหญ่ 500,000 ตันให้จีน และกำลังเตรียมการส่งมอบล็อตแรก 30,000 ตันในปลายเดือนนี้. -- ภาพ: เว็บไซต์ HAGL. </b>
.
การอำนวยความสะดวกการค้า และการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and Investment) ก็เป็น 1 ใน 11 แผนงานความสำคัญสูง (Flagship Programs) ของกลุ่ม GMS ซึ่งเอื้ออำนวยให้นักลงทุนประเทศสมาชิกเข้าลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

รัฐบาลไทยให้การส่งเสริมระบบเกษตรแบบมีสัญญารวมทั้งลดหรือยกเว้นภาษีนำเข้าให้แก่พืชผลหลายชนิดจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ เพื่อช่วยสร้างงานให้แก่ประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการแก้ปัญหาแรงงานข้ามแดนที่ทะลักเข้าไทยอย่างผิดกฎหมายนับล้านคนอีกทางหนึ่งด้วย

พันปีกรุ๊ปฯ กล่าวว่า มีเกษตรกรสวนยางในโครงการใน 17 แขวงของลาว จากเหนือลงไปจนถึงแขวงจำปาสักทางตอนใต้สุดของประเทศ

ปัจจุบัน บริษัทเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของไทยหลายบริษัทได้เข้าลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้านภายใต้ความร่วมมือเกษตรพันธสัญญา ซึ่งผู้ลงทุนสนับสนุนให้เกษตรกรในท้องถิ่นปลูก และดูแลพืชผลในที่ดินของตน โดยทำสัญญาขายผลผลิตให้แก่ผู้ลงทุนในราคาประกัน

บริษัทไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) ซึ่งผู้ปลูกและผลิตยางพารารายใหญ่ที่สุดของไทยเข้าทำสวนยางในลาวตั้งแต่ปี 2549 โดยร่วมกับบริษัทจากจีนและลาว และใช้เงินลงทุนไปกว่า 40 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบันมีเนื้อที่เพาะปลูกหลายหมื่นไร่ ทั้งปลูกในที่ดินสัมปทานและด้วยระบบเกษตรพันธสัญญา

เครือเจริญโภคภัณฑ์ลงทุนปลูกข้าวโพดกับพืชผลอีกหลายชนิดเพื่อป้อนโรงงานอาหารสัตว์ในลาว กลุ่มสยามน้ำมันละหุ่ง ลงทุนทำไร่ละหุ่งในลาวเช่นกัน รวมทั้งกลุ่มน้ำตาลมิตรผล ซึ่งปลูกอ้อยในภาคกลางของลาว และสร้างโรงงานน้ำตาลขึ้นในแขวงสะหวันนะเขต

หลายปีมานี้ นักลงทุนจากจีนจำนวนมากได้เข้าลงทุนในลาว พม่า และกัมพูชา ภายใต้การเกษตรแบบมีสัญญา นักลงทุนจากเวียดนามก็เช่นกัน ในปัจจุบันมีสวนยางในภาคใต้ของลาวและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับภาคเหนือของกัมพูชารวมเนื้อที่หลายแสนไร่.
.
กำลังโหลดความคิดเห็น