xs
xsm
sm
md
lg

ซูจีเยือนเขตเลือกตั้ง หลังพม่าเปิดลงคะแนนเสียงเช้าตรู่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>หญิงสูงอายุชาวพม่าหย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบที่คูหาเลือกตั้งในนครย่างกุ้ง วันนี้ (1เม.ย.) การเลือกตั้งซ่อมเปิดให้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงตั้งแต่ 6.00-16.00 น. และผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการคาดว่าจะสามารถประกาศได้ภายในสัปดาห์นี้. --AFP PHOTO/ Ye Aung Thu.  </font></b>

เอเอฟพี - ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในพม่าต่างออกมาใช้สิทธิที่คูหาเลือกตั้งในวันนี้ (1 เม.ย.) ที่คาดว่านางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านจะสามารถกวาดคะแนนเสียงเข้าไปนั่งในสภาได้เป็นครั้งแรกในส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเมืองครั้งสำคัญ

ผู้สนับสนุนจำนวนมากและผู้สื่อข่าวห้อมล้อมนางอองซานซูจีที่เดินทางมายังคูหาเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งกอมู ที่นางลงสมัครรับเลือกตั้ง ขณะที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเข้าแถวรอใช้สิทธิอยู่ภายนอก

“ฉันจะโหวตให้แม่ซู เพราะเรารัก และชื่นชมเธอ เราไม่คาดหวังอะไรจากเธอ แต่เรารู้สึกดีใจที่เธอมาหมู่บ้านของเรา” นางซาน ซาน วิน อายุ 43 ปี กล่าว

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) กวาดคะแนนเสียงอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งในปี 1990 แต่บรรดานายทหารที่ปกครองประเทศมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ จนกระทั่งปีที่ผ่านมา ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น และผู้นำพรรค NLD ที่ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ไม่ได้เข้าลงรับสมัครเลือกตั้งในครั้งนั้น เพราะถูกควบคุมตัวในบ้านพัก

พรรคของเธอเข้าลงสมัครชิงที่นั่งในสภา 44 ที่นั่ง จากทั้งหมด 45 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งซ่อมวันนี้ แม้จำนวนที่นั่งจะไม่เพียงพอที่จะคัดค้านเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นของพรรครัฐบาลในสภาได้ก็ตาม แต่การมีที่นั่งในสภา จะทำให้ผู้นำฝ่ายค้านรายนี้มีโอกาสที่จะร่างกฎหมายได้เป็นครั้งแรก

ผู้สังเกตการณ์ระบุว่า รัฐบาลกึ่งพลเรือนชุดนี้ ต้องการให้ผู้นำฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้ง และได้ที่นั่งในสภาในครั้งนี้ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการปฏิรูปประชาธิปไตยของประเทศ และเป็นหนทางที่จะผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก

คณะกรรมการการเลือกตั้งระบุว่า คูหาเลือกตั้งเปิดให้ใช้สิทธิตั้งแต่เวลา 6.00 น. และจะปิดหีบในเวลา 16.00 น. ด้วยจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงที่มีมากกว่า 6 ล้านคน ส่วนผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ คาดว่าจะประกาศได้ภายในสัปดาห์นี้

การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2553 พันธมิตรทางการเมืองของกองทัพกวาดเสียงคะแนนเลือกตั้งไปได้ ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีการข่มขู่ และโกงเลือกตั้ง รวมทั้งการไม่มีส่วนร่วมของนางซูจี ที่ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระไม่นานหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น

ทั้งนี้ พรรค NLD ได้ร้องเรียนถึงความผิดปกติไม่โปร่งใสในการเตรียมการการเลือกตั้ง เช่น การข่มขู่ผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง และรายชื่อผู้เสียชีวิตปรากฏอยู่ในรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง เป็นต้น

“ฉันไม่คิดว่าเราสามารถที่จะพิจารณาได้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง” นางซูจีกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พร้อมระบุว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เกินกว่าจะยอมรับได้สำหรับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย แต่พรรค NLD ตัดสินใจที่จะเดินหน้าต่อ เพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ

การเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ แตกต่างไปจากการเลือกตั้งในปี 2553 โดยรัฐบาลพม่าได้เชิญผู้สังเกตการณ์ และผู้สื่อข่าวจากต่างชาติ เข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ที่ถือเป็นบททดสอบสำคัญความน่าเชื่อถือในการปฏิรูปประชาธิปไตยของประเทศ.
<br><FONT color=#000033> เจ้าหน้าที่เลือกตั้งยกกล่องใส่บัตรลงคะแนนเสียงที่ว่างเปล่าก่อนเริ่มเปิดให้ประชาชนเข้าใช้สิทธิลงคะแนนเสียง. -AFP PHOTO/Christophe Archambault.  </font></b>
<br><FONT color=#000033> ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจากอาเซียนเข้าตรวจสอบคูหาเลือกตั้งในนครย่างกุ้ง. --AFP PHOTO/ Ye Aung Thu.  </font></b>
<br><FONT color=#000033> เจ้าหน้าที่เลือกตั้งพม่าโชว์กล่องใส่บัตรลงคะแนนเสียงที่คูหาเลือกตั้งในนครย่างกุ้ง. --AFP PHOTO/ Ye Aung Thu.  </font></b>
<br><FONT color=#000033>  ประชาชนชาวพม่าเข้าแถวรอลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่คูหาเลือกตั้ง. --AFP PHOTO/ Ye Aung Thu.  </font></b>
<br><FONT color=#000033>ผู้สื่อข่าวและชาวพม่าเข้าห้อมล้อมรถของนางอองซานซูจีที่เดินทางมาถึงคูหาเลือกตั้งในเขตกอมู ซึ่งนางอองซานซูจีลงสมัครรับเลือกตั้ง. --AFP PHOTO/Christophe Archambault.  </font></b>
<br><FONT color=#000033>นางอองซานซูจีโบกมือให้ผู้สนับสนุน หลังแวะเยือนคูหาเลือกตั้งในเขตกอมู. --AFP PHOTO/Christophe Archambault.  </font></b>
<br><FONT color=#000033>พล.อ.ขิ่นยู้นต์ อดีตนายกรัฐมนตรี (กลาง) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวขณะเดินทางมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่คูหาเลือกตั้งในนครย่างกุ้ง. --AFP PHOTO/ Ye Aung Thu.  </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น