xs
xsm
sm
md
lg

"ราชบุรี" รุกเร็ว เซ็นสำรวจเขื่อนผลิตไฟฟ้าแห่งที่ 4 ในลาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทราชบุรีผลิตไฟฟ้าจำกัดมหาชน นายสุลิวง ดาลาวง รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ กับ นายเลียน ถิแก้ว เจ้าแขวงไซยะบูลี ทำพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหินที่เมืองหงสา ในวันที่ 18 พ.ย.2554 เป็นโครงการลงทุนใหญ่ที่สุดของกลุ่มราชุบรีในลาว หลังจากนี้ได้ขยายไปสู่อีกหลายโครงการและล่าสุดเพิ่งเซ็นความตกลงกับบริษัลาวแห่งหนึ่งเพื่อศึกษาเขื่อนผลิตไฟฟ้ากั้นลำน้ำปะยูในแขวงเซกอง เป็นเขื่อนขนาดเล็กผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่ลาว.-- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- บริษัทราช-ลาวเซอร์วิส (Ratch-Lao Service) ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนในลาวของบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งจำกัด (มหาชน) ได้เซ็นความตกลงฉบับหนึ่งกับบริษัทในลาว เพื่อสำรวจศึกษาโครงการเขื่อนน้ำปะยูซึ่งจะเป็นโครงการเขื่อนแห่งที่ 4 และเป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าแห่งที่ 5 ของผู้ผลิตกระแสไฟฟ้ารายใหญ่จากประเทศไทยในลาว

แต่ต่างจากโครงการอื่นๆ ของกลุ่มราชบุรีซึ่งไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ส่งขายให้กับไทย โครงการน้ำปะยูซึ่งเป็นเขื่อนขนาดเล็ก จะผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่รัฐวิสาหากิจไฟฟ้าลาว สื่อของทางการกล่าว

พิธีเซ็นเอกสารระหว่างผู้บริหารระดับสูงราช-ลาวและบริษัทเวียงจันทน์ออโตเมชั่นแอนด์โซลูชั่นเอ็นจิเนียริง มีขึ้นสัปดาห์ที่แล้ว สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน

โครงการเขื่อนน้ำปะยูตั้งอยู่ในเขตเมือง (อำเภอ) ดากจึง แขวง (จังหวัด) เซกอง ซึ่งอยู่ติดชายแดนเวียดนามทางตอนใต้ของประเทศ จะกินพื้นที่ 460 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งพื้นที่อ่างเก็บน้ำหน้าเขื่อน 1.7 ตารางกิโลเมตร ขปล.อ้างผลการสำรวจศึกษาในเบื้องต้น

โครงการน้ำปะยูไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนใดๆ ท้องถิ่น ไม่มีการอพยพโยกย้ายคนหรือสัตว์เลี้ยง ไม่มีภาระในการจ่ายชดเชย เขื่อนยังตั้งอยู่ห่างจากถนนสายหลักเพียง 5 กม. สามารถเชื่อมต่อสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเข้ากับข่ายสายส่งไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาวได้ สำนักข่าวของทางการกล่าว

ไม่มีการกล่าวถึงตัวเลขใดๆ เกี่ยวกับการลงทุนในการก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้

กลุ่มราชบุรียังเป็นผู้ร่วมทุนถือหุ้นใหญ่ในโครงการเหมืองถ่านหินกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนถ่านหินขนาด 1,878 เมกะวัตต์ และร่วมทุนในโครงการเขื่อนน้ำงึม 2 ขนาด 615 เมกะวัตต์ และ เขื่อนน้ำงึม 3 ขนาด 440 เมกะวัตต์ ทั้งสองแห่งอยู่ในแขวงเวียงจันทน์ กับเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย 390 เมกะวัตต์ ในแขวงอัตตะปือ-จำปาสัก ไฟฟ้าที่ผลิตได้เกือบทั้งหมดจะส่งจำหน่ายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทย

เซกองเพียงจังหวัดเดียวกำลังจะเป็นที่ตั้งเขื่อนผลิตไฟฟ้า 7-8 แห่ง ทั้งที่กำลังก่อสร้าง อยู่ในขั้นตอนสำรวจและออกแบบ รวมทั้งอยู่ในขั้นตอนสำรวจศึกษาความเป็นไปได้เช่นเขื่อนน้ำปะยู

ตามรายงานของกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในแขวงเซกองยังรวมทั้งเขื่อนเซกะหมาน 3 (750 MW) เซกะหมาน 4 (162 MW) เซกอง 3 บน-ล่าง (150 MW) เซกอง 4 (300 MW) ) เซกอง 5 (400 MW) ดากเอเมอเล (130 MW) กับเขื่อนห้วยลำพันใหญ่ (86.7 MW)

ถึงกระนั้นเซกองก็ยังเป็นแขวงยากจนที่สุดของประเทศ สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้ว่าในปัจจุบันประชาชนราว 30% ในแขวง “ยังไม่พ้นขีดความยากจน”.
กำลังโหลดความคิดเห็น