xs
xsm
sm
md
lg

ท่าเรือทวายยิ่งวังเวงๆ ชาวบ้านเคลื่อนไหวรวมตัวคัดค้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 27 ม.ค. ขณะแรงงานก่อสร้างทำงานอยู่บนพื้นยกระดับที่บริเวณโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในหมู่บ้านมายี ส่วนหนึ่งของพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มแสดงความไม่พอใจเมื่อที่อยู่อาศัยถูกจัดสรรพื้นที่นำไปใช้พัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม. --AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>

เอเอฟพี - ความขุ่นเคืองของสาธารณชนเพิ่มสูงขึ้นในพม่าเกี่ยวกับแผนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่จำเป็นต้องอพยพยผู้คนออกจากพื้นที่นับหมื่นๆ คน หลังการปฏิรูปการเมืองกระตุ้นให้ประชาชนระดับรากหญ้าเริ่มกล้าที่จะส่งเสียงคัดค้านต่อโครงการทางอุตสาหกรรมใหญ่ยักษ์เช่นนี้

โครงการพัฒนาทวายมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ เป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งที่จะเปลี่ยนเศรษฐกิจของพม่า และยังประโยชน์ให้ประเทศเพื่อนบ้านเช่นไทยมีทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียและตลาดทางฝั่งตะวันตก

แต่รัฐบาลชุดใหม่ของพม่าที่ดำเนินการปฏิรูปหลายประการ ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้กับแนวชายฝั่งที่เงียบสงบแห่งนี้เริ่มที่จะส่งเสียงคัดค้านโครงการ

“เราไม่ต้องการย้ายออก พื้นที่ของเรามีทั้งมะพร้าว หมาก มะม่วงหิมพานต์ และมะขาม เรามีทุกอย่างที่เราต้องการ” นายซัน เน็ง เกษตรกรอายุ 53 ปี จากหมู่บ้านมาจี กล่าว

ทางการพม่าคาดการณ์ว่า จะมีประชาชนมากถึง 20,000 คน ที่จะต้องย้ายที่อยู่อาศัยไปยังที่ดินที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามันใกล้กับพรมแดนไทย ทางการได้ให้คำมั่นต่อชาวบ้านว่าจะได้อพยพยไปอยู่ในบ้านหลังใหม่ที่เข้าถึงโรงเรียน โรงพยาบาลและร้านค้า รวมถึงระบบสาธารณูปโภคเช่นน้ำประปาและไฟฟ้า

โครงการทวายที่รวมพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งหมด 250 ตาราง กม.นอกจากท่าเรือน้ำลึกแล้วจะมีโรงงานถลุงเหล็ก โรงงานปิโตรเคมี และโรงกลั่นน้ำมัน ก่อสร้างขึ้นด้วย และโครงการพัฒนาทวาย นับเป็นหนึ่งในหลายโครงการการลงทุนจากต่างชาติที่เริ่มต้นขึ้นก่อนรัฐบาลเผด็จการทหารจะโอนถ่ายอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ที่ยังเต็มไปด้วยอดีตนายทหาร

ชาวบ้านรู้สึกไร้อำนาจที่จะปฏิเสธการย้ายออกจากพื้นที่เพื่อการพัฒนาของบริษัท อิตัล-ไทย บริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของไทย ในประเทศที่รัฐบาลเผด็จการทหารสามารถจัดสรรที่ดินได้ตามต้องการ แต่ในเวลานี้ ประชาชนเริ่มทดสอบต่อคำมั่นของรัฐบาลชุดใหม่ที่ว่าจะฟังเสียงความคิดเห็นของประชาชนมากขึ้น

“เราไม่ต้องการย้ายไปที่อื่น ทะเลเลี้ยงดูพวกเรามาตั้งแต่เด็ก เราจะไปหาปลาที่ไหนถ้าเราย้ายไปอยู่เมืองใหม่” นายติน หล่าย ชาวประมงอายุ 56 ปี จากหมู่บ้านกาปีเต กล่าว
.
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 27 ม.ค. พระสงฆ์รูปหนึ่งอ่านแผนผังโครงการท่าเรือน้ำลึก มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ทางภาคใต้ของพม่า. --AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>
.
เมื่อเดือน ก.ย.2554 นักสิ่งแวดล้อมได้รับชัยชนะจากการคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนในภาคเหนือของประเทศ เมื่อประธานาธิบดีเต็งเส่งระงับโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าที่จีนให้การสนับสนุนมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์ ในรัฐกะฉิ่น นับเป็นการตอบสนองต่อเสียงคัดค้านของประชาชนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้ประกาศระงับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4,000 เมกะวัตต์ ที่มีแผนจะสร้างขึ้นในทวายเช่นกัน

ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้กับท่าเรือมีความหวังว่าบ้านและที่ดินของพวกเขาจะปลอดภัยจากบรรดารถขุด เนื่องจากปัญหาเงินทุนของผู้พัฒนาโครงการ

“บริษัท อิตัล-ไทย มีปัญหาในการระดมทุน ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะจำนวนเงินที่พูดถึงนั้น เป็นจำนวนมหาศาลมาก” นายฌอน เทอร์เนลล์ ผู้เชี่ยวชาญประเทศพม่าจากมหาวิทยาลัยแมคควารี ซิดนีย์ ออสเตรเลีย กล่าว และคาดการณ์ว่าโครงการต่างๆ อาจชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม ผู้พัฒนาโครงการยืนยันว่าทุกอย่างยังคงเป็นไปตามแผน และอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อระดมทุนเงินจำนวน 4,500 ล้านดอลลาร์ สำหรับพัฒนาโครงการในระยะแรก และตามด้วยการพัฒนาในระยะที่สองที่จำเป็นต้องเพิ่มทุนจำนวน 8,500 ล้านดอลลาร์ ส่วนโครงการสุดท้ายอาจมีมุลค่าสูงถึง 50,000 ล้านดอลลาร์

“ทางการพม่ากระตุ้นให้เราเร่งดำเนินโครงการและสนับสนุนพวกเราทางกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ไม่มีอะไรที่น่ากังวลใจ” ผู้ควบคุมโครงการของบริษัท อิตัล-ไทย ระบุ
กำลังโหลดความคิดเห็น