xs
xsm
sm
md
lg

F-16 ไทยเริ่มติดเรดาร์ใหม่ สหรัฐฯ ช่วยฝนเขี้ยวรับภัยรอบตัว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เอฟ-16A ของกองทัพอากาศไทยกำลังบินไต่ระดับความสูงขณะบินโชว์ในพิธีส่งมอบของบริษัทผู้ผลิต เครื่องบินรบรุ่นนี้ของไทยกำลังจะได้รับการอัพเกรด ทั้งระบบเรดาร์ ระบบไฟฟ้าและระบบควบคุมอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ในแผนการยกระดับเครื่องบินรบหลักของกองทัพอากาศให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ F-16C/D บล๊อก 50 มาตรฐานที่ใช้ในกองทัพอากาศสหรัฐฯ ปัจจุบัน แผนการพัฒนามูลค่าราว 700 ล้านดอลลาร์นี้ แบ่งเป็น 3 เฟสจะใช้เวลาทั้งหมด 7 ปี โดยเริ่ม 6 ลำแรกในเฟสแรก ที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2558.-- ภาพ: USAF.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- บริษัทลูกของนอร์ธร็อบกรัมแมน คือ Northrop Grumman Electronic Systems ในแมรีแลนด์ กำลังจะจัดสร้างระบบเรดาร์รุ่นใหม่ เพื่อติดตั้งในเครื่องบินรบแบบ F-16 "Fighting Falcon" ของกองทัพอากาศหลายประเทศ รวมทั้งกองทัพอากาศไทยด้วย ในแผนการอัพเกรดเฟสที่ 1 ให้ F-16 รุ่นเก่า เป็นเครื่องบินรบทันสมัย มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น

ตามรายงานของเว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งในสัปดาห์นี้ นอร์ธร็อบฯ ได้รับงานมูลค่า 87.8 ล้านดอลลาร์นี้ ภายใต้โครงการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ FMS (Foreign Military Sale) และงานนี้จะเริ่มในทันที โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดในต้นเดือน มี.ค.2558

อยู่ในข่ายที่จะได้รับการติดตั้งระบบเรดาร์แบบ AN/APG-68v9 ในเฟสแรกนี้ เป็น F-16 ของกองทัพอากาศอิรักจำนวน 22 ลำ ของกองทัพอากาศโอมาน 15 ลำ และ กองทัพอากาศไทยจำนวน 6 ลำ รวมทั้งหมด 43 ชุด

รัฐบาลไทยสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จัดซื้อ "เหยี่ยวเวหา" F-16A/B จากสหรัฐฯ ภายใต้ระบบ FMS และ เดือน ก.ย. ปีที่แล้วไทยได้ขอให้สหรัฐฯ พัฒนายกระดับฝูงบิน F-16 A/B จำนวน 18 ลำ ในแผนการที่แบ่งเป็น 3 ระยะตลอด 7 ปีข้างหน้า

ความเคลื่อนไหวของฝ่ายไทยยังมีขึ้นในช่วงปีที่กองทัพประชาชนเวียดนามได้รับมอบ Su-30MK2 จากรัสเซียอีกจำนวน 8 ลำ

ระบบเรดาร์ AN/APG-68v9 เป็นระบบมาตรฐานที่ติดตั้งใน F-16 C/D ซึ่งนอร์ธร็อบฯ กล่าวว่า มีประสิทธิภาพสูงขึ้นราว 33% เทียบกับระบบที่ติดตั้งใน F-16A/B มีระยะตรวจจับเป้าหมายในอากาศได้ไกลขึ้น รวมทั้งมีระบบตรวจจับเป้าหมายภาคพื้นดิน นอกจากนั้นยังมีน้ำหนักน้อยกว่า ตลอดจนค่าดูแลรักษาต่ำกว่า

การอัพเกรดเครื่องบินรบยุคที่ 4 ของไทย มีขึ้นในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านแถบนี้ทุ่มงบประมาณมหาศาลสร้างเสริมแสนยานุภาพของตนทั้งทางเรือและทางอากาศ

เวียดนามได้เซ็นสัญญาซื้อเรือดำน้ำจากรัสเซียจำนวน 6 ลำ โดยลำแรกมีกำหนดส่งมอบปลายปีนี้ และ ยังซื้อเครื่องบินรบ Su-30MK2 อีก 44 ลำ ขณะที่กำลังพูดถึง Su-35 ที่มีความทันสมัยความเร็วสูงสุด 2.5 เท่าของเสียง และใช้เทคโนโลยีที่เข้าใกล้เครื่องบินรบยุคที่ 5 เข้าไปทุกขณะ
.
<bR><FONT color=#000033>นี่คือส่วนหัวของ F-16A/B บล๊อก 15 ของกองทัพอากาศไทยที่นอร์ธร็อบกรัมแมนแห่งสหรัฐฯ กำลังจะติดตั้งระบบเรดาร์ AN/APG-68v9 ให้ในแผนการอัพเกรดระยะครึ่งอายุการใช้งานในเฟสที่ 1 รวม 6 ลำ ในภาพจาก www.defenseindustrydaily.com บริษัทสหรัฐฯ กล่าวว่าระบบเรดาร์ใหม่จะทำให้ตรวจจับเป้าหมายในอากาศได้ไกลขึ้นอีก 33% และจับเป้าหมายภาคพื้นดินได้ 2 เป้าหมายพร้อมกันและเมื่อรวมเข้ากับการอัพเกรดระบบไฟฟ้าและระบบปฏิบัติการอื่นๆ ก็จะทำให้ F-16 รุ่นเก่าของไทยที่ใช้งานมากว่า 20 ปี มีประสิทธิภาพเข้าใกล้ F-16C/D บล๊อก 50  มาตรฐานของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน.  </b>
<br><FONT color=#0000330>ผู้ผลิตในสวีเดนคือกลุ่ม SAAB นำเครื่องบิน JAS-39 กริพเพ่น (Gripen) ออกอวดในงานอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์โชว์ 2006 ที่สนามบินเลอบูเฌ ชานกรุงปารีส ภาพถ่ายวันที่ 25 ส.ค. 2549 ไทยสั่งซื้อกริพเพ่นจำนวน 12 ลำ เพื่อใช้แทนฝูง F-5 รุ่นแรกที่จะปลดประจำการ ทอ.ไทยสั่งซื้อทั้งแบบที่นั่งเดียวและที่นั่งคู่ ส่งมอบให้ 6 ลำแรก เมื่อต้นปีที่แล้ว. -- ภาพ: Wikipedia. </font>
<bR><FONT color=#000033>เครื่องนี้เป็นของกองทัพอากาศฮังการี ในภาพที่ไม่ได้ระบุวันถ่าย JAS-39 กริพเพ่น สร้างขึ้นภายใต้ความคิดรวบยอดใหม่ เป็นเครื่องบินรบยุคที่ 4 ตามนิยามของกองทัพอากาศสหรัฐฯ แต่เมื่อติดระบบเรดาร์ที่ทันสมัยล้ำยุค เชื่อมเข้ากับระบบปฏิบัติการแบบเครื่องข่าย เพิ่มขีดความสามารถระบบบังคับอาวุธและอื่นๆ ได้ทำให้เจ้าตัวเล็กเป็นเครื่องบินรบ ยุคที่ 4 ++ ไทยสั่งซื้อไป 12 ลำ ในแผนพัฒนาขีดความสามารถการป้องกันทางอากาศและได้รับมอบ 6 ลำแรกในเดือน ก.พ.2554 ปัจจุบันประจำการที่ฐานบินสุราษร์ธานี. --ภาพ: Wikipedia. </b>
.
ปลายปีที่แล้วอินโดนีเซียสั่งซื้อ Su-30MK อีก 4 ลำ เพื่อเพิ่มจำนวนในฝูง ประเทศนี้ยังมีแผนจัดซื้อเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ สิงคโปร์กำลังจัดซื้อ 4 ลำเช่นกัน ขณะที่มาเลเซียกำลังหาทางอัพเกรดเครื่องบินรบ MiG-29 รุ่นแรกที่ผลิตในรัสเซียให้ทันสมัย ซื้อเครื่องบินรบทันสมัย “ยุคที่ 4 ++” อีกจำนวนมาก กับเรือดำน้ำอีก 2 ลำ

การอัพเกรด F-16A/B บล๊อก 15 ของกองทัพอากาศไทยที่จัดซื้อในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 เป็นหนึ่งในความพยายามพัฒนาแสนยานุภาพทางอากาศ ขณะที่ไทยซื้อ JAS-39C/D "กริพเพ่น" (Gripen) จากสวีเดนจำนวน 12 ลำ เป็นเครื่องบินรบ "ยุค 4 ++" ในนั้นเป็นชนิด 2 ที่นั่งจำนวน 4 ลำ ที่นั่งเดี่ยวอีก 8 ลำ โดยบริษัท SAAB ผู้ผลิตส่งมอบ 6 ลำแรกในเดือน ก.พ.2554 ปัจจุบันประจำการที่ฐานบินสุราษฎร์ธานี

การอัพเกรด F-16A/B (Block 15) อยู่ในโครงการที่เรียกว่า "การยกระดับในช่วงครึ่งอายุการใช้งาน" รวมถึงการพัฒนา/เปลี่ยนแปลงอีกหลายระบบในการควบคุมการบิน และระบบควบคุมอาวุธ ซึ่งจะทำให้เครื่องบินรบรุ่นนี้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ F-16C/D บล๊อก 50 ซึ่งเป็นบล๊อกมาตรฐานของ F-16 ที่ใช้ประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ ปัจจุบัน

เครื่องบิน F-16 ของไทยติดอาวุธเพียบพร้อม มีสมรรถนะสูง สามารถปฏิบัติการได้ในทุกสภาพภูมิอากาศ ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน โดยคาดว่าไทยจะต้องใช้งบประมาณราว 700 ล้านดอลลาร์

การอัพเกรดในแต่ละเฟสจะใช้เวลา 3 ปี แต่ละเฟสจะเหลื่อมกันอยู่ 1 ปี ซึ่งจะทำให้แผนการยกระดับ F-16A/B ของไทยแล้วเสร็จในปี 2561 เว็บไซต์ข่าวกลาโหมกล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น