xs
xsm
sm
md
lg

ทูตพิเศษยูเอ็นเรียกร้องชาติตะวันตกทบทวนคว่ำบาตรพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายโทมัส โอเจีย ควินตานา ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวก่อนเดินทางออกจากสนามบินนานาชาตินครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ล่าสุดนายควินตานาได้เรียกร้องให้ชาติตะวันตกต่างๆ ทบทวนมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อพม่าพร้อมกับประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่ยังคงมีอยู่มากในประเทศ แม้รัฐบาลพม่าจะดำเนินการปฏิรูปประเทศคืบหน้าในหลายประการแล้วก็ตาม. -- AFP PHOTO /Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - ทูตพิเศษจากสหประชาชาติ เรียกร้องวานนี้ (13 มี.ค.) ให้ชาติตะวันตกบางชาติทบทวนมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า หลังพม่าดำเนินการปฏิรูปการเมืองหลายประการก่อนการเลือกตั้งซ่อมในเดือน เม.ย.นี้

“ผมไม่ได้กล่าวว่า พวกเขาต้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร แต่พวกเขาควรที่จะต้องวิเคราะห์ลงในรายละเอียด” นายโทมัส โอเจีย ควินตานา ทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ กล่าวในการแถลงข่าว หลังนำเสนอรายงานสถานการณ์ในพม่าต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

“ผมมีความเชื่อเป็นอย่างมากว่ามาตรการคว่ำบาตรต้องดำเนินไปพร้อมกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม” นายควินตานา กล่าว

ในปีนี้ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และชาติตะวันตกอื่นๆ ได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่าตอบสนองต่อการปฏิรูปการเมืองที่ก้าวหน้า หลังอยู่ภายใต้การปกครองระบอบทหารนานหลายทศวรรษ เช่น สหรัฐฯได้ผ่อนคลายมาตรการบางส่วนโดยอนุญาตให้มีภารกิจสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคอย่างจำกัดในพม่าจากธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

ขณะที่สหภาพยุโรปมีความเห็นชอบยกเลิกการห้ามออกวีซ่าเดินทางกับบรรดาผู้นำพม่าเป็นขั้นแรกในเดือน ม.ค.พร้อมให้คำมั่นที่จะดำเนินการผ่อนคลายต่อหากพม่ามีความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง

นายควินตานา ที่เดินทางเยือนพม่าในเดือน ก.พ.ระบุว่า การปฏิรูปที่มีขึ้นไม่นานนี้ของพม่ามีผลกระทบเชิงบวก แต่ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนนั้นยังคงมีอยู่ และชี้ว่า ประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนไม่สามารถเพิกเฉยได้ พร้อมระบุว่า ฝ่ายตุลาการยังการขาดความเป็นอิสระ ความเป็นกลางและประสิทธิภาพที่จะรักษากฎหมาย

นายควินตานา ยังย้ำว่า การเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยยังคงมีอยู่ และการรับรองการเคารพในสิทธิจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างความปรองดองในชาติและเพื่อความมั่นคงทางสังคมและการเมืองในระยะยาว

“ความน่าเชื่อถือในการเลือกตั้งซ่อมวันที่ 1 เม.ย.นี้ จะไม่ถูกตัดสินจากแค่วันลงคะแนนเท่านั้น แต่จะตัดสินบนพื้นฐานของกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งไปจนหลังวันเลือกตั้ง” นายควินตานา กล่าว

รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ของพม่าขึ้นบริหารประเทศในปี 2554 หลังการเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ย. 2553 และนับแต่นั้น รัฐบาลพม่าได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศหลายประการที่สร้างความประหลาดใจให้กับผู้สังเกตการณ์ เช่น การปล่อยตัวนักโทษการเมือง ความพยายามที่จะสร้างสันติภาพกับกลุ่มกบฏชนกลุ่มน้อยและการเจรจาหารือกับฝ่ายค้านอย่างนางอองซานซูจี เป็นต้น
กำลังโหลดความคิดเห็น