xs
xsm
sm
md
lg

พม่ามีกฎหมายสำหรับดำเนินธุรกิจที่แย่ที่สุดในโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชายชาวพม่ายืนรอลูกค้ามาใช้บริการเติมน้ำมันที่สถานีจ่ายน้ำมันแห่งหนึ่งในกรุงเนปีดอ พม่าเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซ ทำให้ต่างชาติให้ความสนใจที่จะเข้าลงทุน แต่รายงานของบริษัทวิเคราะห์ความเสี่ยงระบุว่า พม่าเป็นประเทศที่ให้ความคุ้มครองทางกฎหมายต่อบริษัทต่างประเทศน้อยที่สุด. --REUTERS/Soe Zeya Tun.  </font></b>

เอเอฟพี - รายงานของบริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงชื่อดังของอังกฤษ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวันนี้ (8 ก.พ.) ระบุว่า พม่ามีระบบกฎหมายที่เลวร้ายที่สุดในโลก สำหรับดำเนินธุรกิจ แม้พม่าจะดำเนินการปฏิรูปบ้างแล้วก็ตาม

บริษัท Maplecroft บริษัทวิเคราะห์ความเสี่ยงของอังกฤษ ที่ต้องการเตือนนักลงทุนที่กำลังสนใจเข้าลงทุนในพม่า เมื่อมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกอาจถูกยกเลิก ระบุว่า พม่ายังคงเป็นประเทศที่ให้ความคุ้มครองทางกฎหมายต่อบริษัทต่างประเทศน้อยที่สุด

ส่วนประเทศอื่นๆ ที่มีระบบกฎหมายย่ำแย่เช่นเดียวกันจากการจัดอันดับประจำปีทั้งหมด 197 ประเทศ คือ เกาหลีเหนือ โซมาเลีย คิวบา อัฟกานิสถาน ซีเรีย และ กัมพูชา แต่พม่าที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติเป็นประเทศเดียวที่แยกออกมาจากกลุ่ม เนื่องจากความเสี่ยงทางกลยุทธ์และการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ

“จากการปฏิรูปการเมืองในช่วงที่ผ่านมา และแนวโน้มที่มาตรการคว่ำบาตรจะถูกยกเลิก ทำให้พม่ามีศักยภาพอย่างมากต่อบริษัทน้ำมันและก๊าซ” รายงานระบุ

ความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ทำให้พม่าน่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีก แต่รายงานเตือนว่า การปรับปรุงด้านกฎหมายเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วน และว่า การปรับปรุงตัวบทกฎหมาย รวมทั้งความเป็นอิสระของศาลและความโปร่งใสในระบบการกำกับดูแลที่เพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องดำเนินการก่อนที่จะสามารถตระหนักได้ถึงศักยภาพของเศรษฐกิจในระยะยาว

รัฐบาลพลเรือนของพม่าขึ้นมาบริหารประเทศเมื่อปีก่อน หลังการเลือกตั้งเดือนพ.ย. 2553 และสร้างความประหลาดใจให้กับผู้สังเกตการณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปหลายประการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการปล่อยตัวนักโทษการเมือง

การปฏิรูปที่เกิดขึ้นสร้างความสนใจให้กับบรรดานักลงทุนต่างชาติที่กระหายจะเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ และยังมีทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน แต่ปัญหาระบบโครงสร้างพื้นฐาน การไม่มีกฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างประเทศ และความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูประบบธนาคาร ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญของการเข้ามาทำธุรกิจในพม่า

ไอเอ็มเอฟระบุในรายงานอีกฉบับที่ตีพิมพ์เมื่อต้นปีว่า พม่ามีศักยภาพในการเติบโตสูง คาดว่าการเติบโตของ GDP ในปีงบประมาณ 2554-2555 อาจอยู่ที่ร้อยละ 5.5 และอาจเพิ่มเป็นร้อยละ 6.0 ในปีงบประมาณ 2555-2556

“พม่าจะกลายเป็นขอบแดนเศรษฐกิจลำดับต่อไปของเอเชีย หากพม่าสามารถเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย แรงงานหนุ่มสาว และใกล้ชิดกับบางส่วนของเศรษฐกิจที่มีพลังขับเคลื่อนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศ” รายงานของไอเอ็มเอฟ ระบุ
กำลังโหลดความคิดเห็น