xs
xsm
sm
md
lg

เรือรบแฝดพม่าใหม่เอี่ยม 2 ลำ เยือนเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เรือมหาบันดูลา (Maha Bandoola) หมายเลข F21 จอดที่ท่าเรือเตี่ยนซา นครด่าหนังในวันจันทร์ 12 มี.ค.นี้ เริ่มเยือนสันถวไมตรีเวียดนามเป็นเวลา 3 วัน เรือมหาบันดูลาไปที่นั่นพร้อมกับเรือคู่แฝดมหาติหะตุระ (Maha Thiha Thura) หมายเลข F23 ทั้งสองลำเป็นเรือฟรีเกตชั้น เจียงฮู-2 (Jianghu-II) ต่อจากนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาจีน กองทัพเรือพม่าเพิ่งนำเข้าประจำการในเดือน ม.ค.ปีนี้ สำนักข่าวกลาโหมกล่าว. --ภาพ: Dan Tri Online.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- เรือรบพม่า 2 ลำ คือ มหาบันดูลา (UMS Maha Bandoola) กับเรือมหาติหะตูระ (UMS Maha Thiha Thura) ได้แวะเข้าจอดเทียบท่าเรือเตี่ยนซา (Tien Sa) นครด่าหนัง (Danang) ในวันจันทร์ 12 มี.ค.นี้ เริ่มการเยือนสันถวไมตรีเวียดนามเป็นเวลา 2 วัน ในโครงการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกองทัพเรือสองประเทศอาเซียน

ทั้งสองลำเป็นเรือฟรีเกตใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือพม่า เป็นชนิดเดียวกันและขนาดเดียวกัน และเป็นการออกเยือนต่างแดนครั้งแรก นับตั้งแต่ขึ้นระวางประจำการในเดือน ม.ค.ปีนี้

ระหว่างเยือนเวียดนาม นายทหาร 11 นาย กับลูกเรือรวมกัน 112 คน จากเรือมหาบันดูลากับเรือมหาติหะตูระ จะเข้าพบแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกองเรือภาคที่ 3 ของเวียดนาม เที่ยวชมทิวทัศน์สวยงามของนครด่าหนัง ก่อนจะไปเที่ยวชมเมืองมรดกโลกโฮยอาน ที่อยู่ถัดขึ้นไปใน จ.กว๋างนาม (Quang Nam)

เรือฟรีเกตทั้งสองลำมีกำหนดเดินทางออกจากเวียดนามในวันที่ 14 มี.ค.ศกนี้ ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวซเวินจี๊ออนไลน์ภาษาเวียดนาม

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวการทหาร เรือมหาบันดูลากับเรือมหาติหะตูระ หมายเลข F21 กับ F23 ตามลำดับ เป็นเรือฟรีเกตติดจรวดนำวิถีชั้นเจียงฮู-2 (Jianghu-II Class) ของจีน ต่อจากอู่ต่อเรือหูตง (Hudong) นครเซี่ยงไฮ้ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ รวมทั้งมูลค่าซื้อขาย

จีนต่อเรือฟรีเกตชั้นนี้ใช้ในกองทัพเรือจำนวน 10 ลำ ระหว่างปี 2524-2533 ต่อมาปี 2532 ได้ขายให้แก่กองทัพเรือบังกลาเทศจำนวน 1 ลำ หลังจากนั้นในปี 2537-2358 ต่อให้กับกองทัพเรืออียิปต์อีก 2 ลำ ทั้งนี้เป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ข่าวการเดินเรือระหว่างประเทศ (World Maritime News)

เรือฟรีเกตชั้นเจียงฮู หรือ "แบบ053H" พัฒนาขึ้นจากเรือฟรีเกตชั้นริก้า (Riga-Class) ของอดีตสหภาพโซเวียตภายใต้สิทธิบัตร

อย่างไรก็ตามเรือจีนถูกร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพอยู่บ่อยๆ รวมทั้ง 2 ลำที่อียิปต์กล่าวว่ามีปัญหาเรือโคลงมาก รวมทั้งปืน 100 มม.ที่ต้องใช้คนบรรจุกระสุน และจรวดนำวิถีที่จีนประดิษฐ์ขึ้นใหม่จากต้นแบบจรวด P-15 "เทอร์มิต" ของโซเวียตก็เป็นรุ่นที่ล้าสมัย ซึ่งทำให้จีนต้องพัฒนาแบบ “ยกเครื่อง” ทั้งหมด
.
<bR><FONT color=#000033>หมายเลข F23 เรือมหาติหะตุระ (Maha Thiha Thura) กองทัพเรือพม่า เพิ่งเข้าประจำการ 2 เดือนก็เริ่มออกเยือนเพื่อนบ้าน พร้อมกับคู่แฝด มหาบันดูลา (Maha Bandoola) หมายเลข F21 นายทหาร 11 นาย ลูกเรืออีกกว่า 100 คน จากเรือฟรีเกตทั้งสองลำ จะขึ้นบกแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกองทัพเรือภาค 3 เวียดนาม รวมทั้งไปเยี่ยมชมเมืองมรดกโลกโฮยอาน สื่อออนไลนส์ภาษาเวียดนามรายงาน. --ภาพ: Dan Tri Online.  </b>
<bR><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่กองทัพเรือภาค 3 เวียดนาม จัดพิธีต้อนรับนายทหารเรือพม่าจากเรือมหาบันดูลา (Maha Bandoola) กับเรือมหาติหะตุระ (Maha Thiha Thura) ที่ท่าเรือเตี่ยนซา นครด่าหนัง ในวันจันทร์ 12 มี.ค.นี้ เรือฟรีเกตคู่แฝดใหม่เอี่ยมทั้ง 2 ลำของกองทัพเรือพม่าเริ่มการเยือนสันถวไมตรีเวียดนามเป็นเวลา 3 วัน สำนักข่าวออนไลน์ภาษาเวียดนามกล่าว.  --ภาพ: Dan Tri Online.  </b>
.
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ราชนาวีไทยได้ซื้อเรือฟรีเกตแบบ 053Ts ที่พัฒนาขึ้นใหม่จำนวน 2 ลำ มูลค่าลำละ 2,000 ล้านบาท เทียบกับเรือรบขนาดใกล้เคียงกันของชาติตะวันตกที่ราคสูงถึง 8,000 ล้านบาทต่อลำ ทั้งสองลำถูกดัดแปลงใหม่ให้มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือด้วย

ถึงกระนั้นรายงานของเว็บไซต์ข่าวการทหารระบุว่า ราชนาวีไทยใช้เวลาและใช้งบประมาณพอสมควรในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของเรือรบชั้นนี้ รวมทั้งระบบไฟที่ต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด ระบบควบคุมเพลิงที่ไม่ทำงานและน้ำที่มักจะซึมเข้าสู่ห้องอับเฉา ทั้งนี้เป็นข้อมูลโดยสำนักข่าวกลาโหมมาเลเซีย

แต่ถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 กองทัพเรือไทยเริ่มเชื่อมั่นเรือรบของจีนมากยิ่งขึ้นและสั่งซื้อเรือแบบ 053 ที่พัฒนาใหม่และขนาดใหญ่ขึ้น 1 ลำ เฉพาะลำเรือ ก่อนนำไปติดเครื่องยนต์กับระบบอาวุธที่ผลิตจากค่ายตะวันตก ทั้งหมดควบคุมโดยวิศวกรชาวเยอรมัน ปัจจุบันเรือรบดังกล่าวก็คือ เรือหลวงนเรศวร

เรือมหาบันดูลากับเรือมหาติหะตูระ ทำให้ทัพเรือพม่ามีเรือฟรีเกตเพิ่มขึ้นเป็นทั้งหมด 4 ลำ โดยสองลำแรกคือเรืออองเซยา (Aung Zaya) กับเกียนสิตตา (Kyan Sittha) หมายเลข F11 กับ F12 ตามลำดับ ลำแรกขึ้นระวางประจำการเมื่อปี 2551 ต่อโดยอู่ต่อเรือในกรุงย่างกุ้ง ลำที่สองเข้าประจำการ่ในปลายปี 2555 พม่ามีแผนการจะต่อเรือชั้นอองเซยา (Aung Zeya-Class) ทั้งหมดจำนวน 8 ลำ

ปัจจุบันกองทัพเรือพม่ายังมีเรือคอร์แว็ตรุ่นใหม่ติดจรวดนำวิถีอีก 2 ลำ เป็นชั้นอนิรุธ หรือ "อนรธา" (Anawrathar-Class) ซึ่งได้แก่เรืออนิรุธ หมายเลข 771 กับเรือบุเรงนอง (Bayint Naung) หมายเลข 772 และ มีโครงการจะต่อเรือรบชั้นนี้รวมทั้งหมด 7 ลำ.
กำลังโหลดความคิดเห็น