xs
xsm
sm
md
lg

พม่าตั้งเป้ากวาดล้างไร่ฝิ่นภายในปี 2557

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจทำลายไร่ฝิ่นที่ปลูกอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนเขาในรัฐชาน เมื่อวันที่ 27 ม.ค. พม่ายกระดับมาตรการปราบปรามยาเสพติด ด้วยการเข้าทำลายพื้นที่ปลูกฝิ่น ตั้งแต่เดือนก.ย. 2554. -- REUTERS/Damir Sagolj.  </font></b>

รอยเตอร์ - ทางการพม่าประกาศตั้งเป้ากวาดล้างไร่ฝิ่นในประเทศภายในปี 2557 หลังทางการสามารถเข้าไปในพื้นที่ขัดแย้งได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ พร้อมร้องขอความช่วยเหลือจากต่างชาติสนับสนุนการต่อสู้กับยาเสพติดครั้งใหม่ของพม่า

อุปกรณ์ทำสวนที่มักจะปรากฎให้เห็นอยู่ตามสวนของชาวต่างชาติ วันนี้ เครื่องยนต์แบบสองจังหวะบังคับใบมีดเหล็กให้หมุนตัดหญ้าตามพื้นอยู่ในมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในหุบเขาห่างไกลในรัฐชาน เพื่อใช้ทำลายทุ่งฝิ่นที่ขึ้นหนาสูง

เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตัดต้นฝิ่นจนเสร็จเหลือเพียงแต่ตอ ชุดยูนิฟอร์มของเจ้าหน้าที่เต็มไปด้วยรอยด่างจากน้ำยางเหนียวสีน้ำตาล น้ำยางจากดอกฝิ่นที่เก็บกันมานานหลายศตวรรษเพื่อใช้ผลิตยาเสพติด

ตามรายงานของสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UN Office on Drug and Crime หรือ UNODC) ระบุว่า พม่าผลิตฝิ่นได้ราว 610 ตันในปี 2554 และถูกจัดให้เป็นผู้ส่งออกฝิ่นรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากอัฟกานิสถาน และในพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

พม่าที่หลุดพ้นจากระบอบการปกครองแบบเผด็จการทหารที่ยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ระบุว่าต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ นับตั้งแต่ขึ้นบริหารประเทศเมื่อ 1 ปีก่อน รัฐบาลพลเรือนของประธานาธิบดีเต็งเส่งได้ปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจหลายประการ และยังดำเนินการโครงการที่จะกำจัดฝิ่นและหวังที่จะออกจากสถานะการเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตยาเสพติดชั้นนำของโลก

เจ้าหน้าที่พม่าอนุญาตให้ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์และช่างภาพเข้าไปในอดีตพื้นที่ขัดแย้งในรัฐชานเพื่อตรวจสอบโครงการต่อสู้ยาเสพติด นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษที่นักข่าวตะวันตกสามารถรายงานข่าวได้อย่างเสรีในรัฐแห่งนี้

การเดินทางพร้อมกับ UNODC และเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นมีขึ้นขณะที่ทางการพม่าร้องขอให้ประเทศผู้บริจาคให้ความช่วยเหลือเป็นจำนวนกว่า 500 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้ในโครงการที่ต้องการให้ประชาชนกว่า 256,000 ครัวเรือนเลิกปลูกฝิ่นในอีก 3 ปีข้างหน้า

"ในทุกปี ประชาคมระหว่างประเทศใช้จ่ายเงินหลายล้านดอลลาร์กับการปราบปรามยาเสพติดในประเทศเช่น อัฟกานิสถาน และโคลัมเบีย แต่ผลที่ได้รับกลับไม่เป็นที่น่าพอใจ" นายซิต เอ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของประธานาธิบดีเต็งเส่ง พร้อมระบุว่า สำหรับพม่านั้น หากได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ พม่ารับประกันที่จะกำจัดปัญหาฝิ่นให้ได้ภายในปี 2557

เป้าหมายที่ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงนี้ ทำให้ตำรวจ ทหาร และชาวบ้าน ที่มาพร้อมกับเครื่องกำจัดวัชพืช เข้าทำลายพื้นที่ปลูกฝิ่นแล้ว 132,850 ไร่ นับตั้งแต่เดือนก.ย. 2554 หรือคิดเป็นพื้นที่มากกว่าที่ถูกกำจัดไปในฤดูกาลปลูกก่อนหน้านี้ถึง 3 เท่า ตามการระบุของคณะกรรมการกลางเพื่อการควบคุมยาเสพติดสหภาพพม่า (CCDAC) ซึ่งการทำลายพื้นที่ปลูกฝิ่นดังกล่าวช่วยป้องกันการผลิตเฮโรอีนได้ถึง 30 ตัน
<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจกำต้นฝิ่นในมือหลังเข้าทำลายพื้นที่ปลูกฝิ่นเหนือหมู่บ้านตาปู ในรัฐชาน เมื่อวันที่ 27 ม.ค. -- REUTERS/Damir Sagolj.  </font></b>
<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจและชาวบ้านในหมู่บ้านช่วยกันทำลายต้นฝิ่น ขณะที่ทางการพม่าประกาศตั้งเป้ากวาดล้างไร่ฝิ่นในประเทศภายในปี 2557 -- REUTERS/Damir Sagolj.  </font></b>
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวพบว่ามีการเก็บเกี่ยวดอกฝิ่นก่อนที่จะถูกทำลาย และขณะที่ฝิ่นจำนวนมากกำลังถูกกำจัดแต่ยังมีอีกมากที่กำลังเติบโต ซึ่ง UNODC ประเมินว่าพื้นที่ปลูกฝิ่นรวมทั้งหมดดูเหมือนจะเพิ่มสูงขึ้นราว 10% ในช่วงระหว่างปี 2554-2555 และจากสถานการณ์ดังกล่าวไม่ว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติหรือไม่นั้นเป้าหมายที่พม่าตั้งไว้ว่าจะทำลายพื้นที่ปลูกฝิ่นลงภายใน 3 ปี อาจเป็นไปไม่ได้

การผลิตฝิ่นส่วนใหญ่ในพม่ามาจากพื้นที่รัฐชาน ที่มีพรมแดนติดกับจีน ไทย และลาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ และในรัฐกะฉิ่นที่อยู่ข้างเคียง ฝิ่นไม่เพียงแค่เติบโตในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเย็นและสูง แต่ยังอยู่ในพื้นที่ที่ยากจนและขัดแย้งด้วย

เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ พม่าถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ จากการสู้รบระหว่างกองกำลังทหารของรัฐบาลและกลุ่มกบฎชนกลุ่มน้อยตามแนวพรมแดน ที่ทำให้ประชาชนต้องทนกับการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเลวร้าย

สหรัฐเพิ่งยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับพม่า หลังจากการเยือนครั้งประวัติศาสตร์ของนางฮิลลารี คลินตัน เมื่อเดือนพ.ย. 2554 แต่สหรัฐและสหภาพยุโรปมุ่งความสนใจไปที่การสร้างสันติภาพของพม่ากับชนกลุ่มน้อยที่เป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญต่อการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับพม่า

นายเจสัน อีไลห์ ผู้จัดการ UNODC ประจำพม่า ระบุว่า การสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนน่าจะเป็นความท้าทายที่ยากที่สุดของประธานาธิบดีเต็งเส่ง และความซับซ้อนจากปัญหาการปลูกฝิ่นเช่นเดียวกับในอัฟกานิสถานและโคลัมเบีย การค้ายาเสพติดเป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งยาวนานในพม่า เนื่องจากเงินที่ได้จากยาเสพติดถูกนำไปซื้ออาวุธเพื่อใช้ในการต่อสู้ ดังนั้นฝิ่นและความขัดแย้งประสานเข้าเป็นปัญหาเดียวกัน ไม่สามารถแก้ไขได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง.
กำลังโหลดความคิดเห็น