xs
xsm
sm
md
lg

เจ้าหน้าที่ระดับสูงยุโรปเยือนพม่าเข้าหารือเต็งเส่ง-ซูจี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายวิลเลียม เฮก รมว.ต่างประเทศอังกฤษ (ที่ 4 จากซ้าย) ร่วมถ่ายภาพกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง (กลาง) ที่กรุงเนปีดอ เมื่อวันที่ 5 ม.ค. นายเฮกเป็นรมว.ต่างประเทศอังกฤษคนแรกในรอบมากกว่า 50 ปีที่เดินทางเยือนพม่า หลังนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ เยือนพม่าเมื่อเดือนธ.ค. 2554 และล่าสุดนายแอนดริส พีบาล์ก กรรมาธิการด้านการพัฒนาสหภาพยุโรป ได้เข้าพบหารือกับปธน.เต็งเส่ง เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปในพม่าในวันนี้. --REUTERS/Martin Petty.  </font></b>

รอยเตอร์ - หัวหน้าฝ่ายช่วยเหลือต่างประเทศของสหภาพยุโรป เดินทางถึงเมืองหลวงของพม่าแล้ววันนี้ (13 ก.พ.) เพื่อเข้าหารือกับรัฐบาลพลเรือนที่สหภาพยุโรปชื่นชมต่อความก้าวหน้าในการปฏิรูป

นายแอนดริส พีบาล์ก (Andris Piebalgs) กรรมาธิการด้านการพัฒนาสหภาพยุโรป ที่จะเข้าพบกับประธานาธิบดี เต็งเส่ง จะประกาศมอบความช่วยเหลือมูลค่า 150 ล้านยูโร (198 ล้านดอลลาร์) ให้กับพม่า

“แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในพม่าเวลานี้เป็นสิ่งที่น่าประทับใจ และสหภาพยุโรปตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องทำทุกสิ่งที่สามารถช่วยสนับสนุนพม่าในเวลานี้” นายพีบาล์ก กล่าวในวันแรกของการเยือนพม่านาน 3 วัน

มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกต่ออดีตรัฐบาลทหารพม่ายังคงดำเนินอยู่และกำลังจะได้รับการทบทวนจากผลของการปฏิรูปประเทศโดยรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ ที่เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่ 11 เดือนก่อน

สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มแรกที่เดินหน้าในความพยายามที่จะสนับสนุนพม่าที่ยังคงด้อยการพัฒนาในหลายด้าน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข และการศึกษา และนับตั้งแต่ปี 2539 สหภาพยุโรปได้ให้ความช่วยเหลือต่อพม่าเป็นจำนวนทั้งสิ้น 173 ล้านยูโร

ความช่วยเหลือก่อนหน้านี้ของสหภาพยุโรปมุ่งเน้นไปที่สาธารณสุขและการศึกษา แต่ความช่วยเหลือชุดใหม่มีเป้าหมายที่จะจัดหาทรัพยากรให้กับประชาชนพลัดถิ่น จากความขัดแย้งในพื้นที่ชนกลุ่มน้อยและภาคเกษตรกรรมที่จะช่วยในเรื่องความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศ
<br><FONT color=#000033>นายคาเรล ชวาร์เซนเบิร์ก รมว.ต่างประเทศสาธารณรัฐเชค พูดคุยกับนายวิลเลียม เฮก (ขวา) ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป ที่กรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ซึ่งเฮกระบุว่า รัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเห็นชอบที่จะผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่าเพื่อตอบรับต่อความคืบหน้าการปฏิรูปหลายด้านที่ดำเนินการโดยรัฐบาลพม่า รวมทั้งการปล่อยตัวนักโทษการเมือง. --REUTERS/Martin Petty.  </font></b>
เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรลงเล็กน้อยเมื่อคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศเห็นชอบที่จะยกเลิกคำสั่งห้ามให้วีซ่าประธานาธิบดี เต็งเส่ง และเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ในการตอบรับกับข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่มกบฏชนกลุ่มน้อย และการนิรโทษกรรมครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่นักโทษการเมืองราว 300 คนได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ

นักการทูตบางรายจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เชื่อว่า สหภาพยุโรปจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป และการทบทวนมาตรการคว่ำบาตรประจำปีของสหภาพยุโรปจะมีขึ้นในเดือน เม.ย.และทุกสายตาจะจับจ้องไปที่การเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 1 เม.ย.ที่จะเป็นการกลับเข้าสู่เวทีการเมืองอีกครั้งของนางอองซานซูจี และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) หลังบอยคอตการเลือกตั้งปี 2553

นายพีบาล์ก จะเข้าพบกับประธานาธิบดี และรัฐมนตรีอีก 6 นาย ในกรุงเนปีดอวันนี้ และจะเข้าเยี่ยมนางอองซานซูจี ที่บ้านพักในนครย่างกุ้งในวันอังคาร (14 ก.พ.).
กำลังโหลดความคิดเห็น