xs
xsm
sm
md
lg

“เทินหินบูน 2” เริ่มปั่นไฟ ลาวมั่นใจส่งขายไทยตามกำหนด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด กรมการเมือง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจเป็นประธานพิธีปล่อยน้ำเพื่อเริ่มปั่นไฟเฟสที่ 1 ส่วนต่อขยายเทินหินบูน ซึ่งหน่วยปั่นไฟ 2 หน่วยผลิตไฟฟ้ารวมกันได้ 60 เมกะวัตต์สำหรับใช้ในประเทศ เครื่องปั่นไฟหน่วยที่ 3 ที่มีขนาดใหญ่กว่าและอยู่ใต้ลงไปที่ปลายอุโมงค์จะเริ่มเดินเครื่องปลายปีนี้ผลิตไฟฟ้าอีก 220 เมกะวัตต์เพื่อส่งให้ไทย และจะทำให้ทั้งโครงการปั่นไฟรวมกันได้ 500 เมกะวัตต์ ทำให้รัฐบาลลาวรวยขึ้นอีกปีละกว่า 100 ล้านดอลลาร์ตลอด 27 ปีของอายุสัมปทาน.-- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่. </b>
 


ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- บริษัทพลังงานไฟฟ้าเทินหินบูน หรือ เทินหินบูนพาวเวอร์ จำกัด ได้ปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำส่วนต่อขยายเพื่อเริ่มปั่นไฟในเฟสที่ 1 สำหรับใช้ในประเทศ พิธีจัดขึ้นวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เชื่อมั่นว่าทั้งระบบจะสามารถผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่ไทยได้ในปลายปีนี้ตามกำหนด สื่อของทางการ กล่าว

พิธีปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำบนลำน้ำยวง จัดขึ้นที่ไซต์เขื่อนใกล้กับหมู่บ้านทาดสาลา เมือง (อำเภอ) คำเกิด แขวง (จังหวัด) บอลิคำไซ โดยมีนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด กรมการเมือง และ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจเป็นประธาน

นายปาน น้อยมะนี เจ้าแขวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ เจ้าหน้าที่ระดับสูงรัฐวิสาหากิจไฟฟ้าลาว และบรรดาตัวแทนจากเมืองต่างๆ รอบๆ บริเวณเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก สำนักข่าวข่าวสารปะเทดลาวรายงาน

เขื่อนเทินหินบูน ขนาด 220 เมกะวัตต์ ซึ่งสร้างขึ้นกั้นลำน้ำเทินตอนล่าง ก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มผลิตไฟฟ้าส่งจำหน่ายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทยตั้งแต่ปี 2541 การก่อสร้างส่วนต่อขยายจะทำให้ทั้งโครงการผลิตไฟฟ้าได้รวมกัน 500 เมกะวัตต์

เขื่อนเทินหินบูปล่อยน้ำลงสู่ลำน้ำไฮ กับลำน้ำหินบูน เพื่อไหลลงสู่แม่น้ำโขง แต่ส่วนต่อขยายสร้างขึ้นกั้นลำน้ำยวงอันเป็นสาขาของลำน้ำเทิน เพื่อเก็บกักน้ำเพิ่มหลังจากการศึกษาได้พบว่าเขื่อนน้ำเทิน 2 ที่ใหญ่กว่าและอยู่เหนือขึ้นไปในเขตที่ราบสูงนากาย แขวงคำม่วน จะทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ลำน้ำเทินลดลง

ผลกระทบนี้เริ่มเห็นได้ตั้งแต่ปี 2552 เมื่อน้ำเทิน 2 เริ่มเก็บกักน้ำ ทำให้เทินหินบูนมีน้ำไม่เพียงพอและผลิตไฟได้น้อยลง

ต่างไปจากโครงการหลัก ส่วนต่อขยายเทินหินบูน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างเมืองเวียงทองกับเมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ กลับผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า โดยแบ่งเป็นหน่วยปั่นไฟ 3 หน่วย สองหน่วยแรกอยู่ติดอ่างเก็บน้ำปั่นไฟรวมกันได้ 60 เมกะวัตต์สำหรับใช้ในลาวเอง

ส่วนหน่วยที่ 3 ที่อยู่ใต้อุโมงค์ส่งน้ำลงไปผลิตได้อีก 220 เมกะวัตต์ จะส่งจำหน่ายให้ไทยทั้งหมด รัฐบาลลาวที่ถือหุ้นใหญ่ในโครงการเทินหินบูน จะมีรายได้เข้าประเทศมากยิ่งขึ้น

การเตรียมรับมือผลกระทบจากเขื่อนน้ำเทิน 2 เริ่มมาตั้งแต่ 2547 การก่อสร้างส่วนต่อขยายด้วยเงินกู้ 600 ล้านดอลลาร์ จากมูลค่าโครงการทั้งหมด 700 ล้านดอลลาร์ เริ่มขึ้นในปี 2551 และในปี 2552 มีการเจาะอุโมงค์ส่งน้ำลอดภูเขาความยาว 1 กม.จากระบบอุโมงค์ความยาวกว่า 5 กม. โดยใช้เครื่องมือเจาะทันสมัยที่สุดชนิดหนึ่งในปัจจุบันเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจ
<bR><FONT color=#000033>สันเขื่อนเทินหินบูนส่วนต่อขยายที่สร้างกั้นลำน้ำยวงในภาพของ เวียงจันทน์ใหม่ ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำใหญ่มหึมา ส่งผลกระทบต่อราษฏรกว่า 750 ครัวเรือนใน 10 หมู่บ้านแผนที่ซึ่งทำขึ้นใหม่แสดงให้เห็นระบบลำน้ำสาขาอันสลับซับซ้อนในแขวงบอลิคำกับแขวงคำม่วน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขื่อนถึง 4 แห่ง รวมทั้งน้ำเทิน 2 เขื่อนใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน. </b>
2

ถึงแม้จะเริ่มปั่นไฟแล้วก็ตาม จนถึงปัจจุบันการก่อสร้างส่วนต่อขยายของโครงการเทินหินบูนก็ยังไม่แล้วเสร็จถึง 100% แต่เชื่อว่า จะสามารถเริ่มปั่นไฟทั้งระบบเพื่อส่งจำหน่ายให้ไทยได้ในปลายปีนี้ตามกำหนด ขปล.อ้างการเปิดเผยของผู้บริหารโครงการระหว่างพิธีปล่อยน้ำ

ที่ผ่านมา โครงการเทินหินบูนทำรายได้ให้แก่รัฐบาลปีละกว่า 100 ล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายไฟฟ้าให้ไทย ทำให้สามารถชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สถาบันการเงินระหว่างประเทศหลายแห่งจนถึงปัจจุบันรวมเป็นกว่า 98% ของหนี้สินทั้งหมด นับเป็นโครงการที่มีประสิทธิผลสูงและให้ผลตอบแทนสูง สื่อของทางการกล่าว

โครงการเทินหินบูนได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย ซึ่งกล่าวว่าเขื่อนจะกระทบสภาพแวดล้อมและราษฎรในท้องถิ่นน้อยมาก แต่ไม่นานต่อมาก็ได้ยอมรับว่าเขื่อนได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนลาวกว่า 29,000 คน ที่อยู่ใต้ลงไปสองฝั่งลำน้ำไฮกับลำน้ำหินบูน

โครงการช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบ ถูกจัดขึ้นมาในปี 2552 หลังจากองค์กรภาคเอกชนที่ไม่สังกัดรัฐบาลออกรณรงค์ในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ เป็นรายงานของเครือข่ายแม่น้ำนานาชาติ (International River Network)

การก่อสร้างส่วนต่อขยายทำให้ต้องอพยพราษฎรออกจากพื้นที่ราว 4,000 คน ไปอาศัยทำกินในแหล่งใหม่ที่บริษัทผู้ลงทุนจัดให้ การอพยพคนชุดสุดท้ายแล้วเสร็จในปลายปี 2554 เมื่อน้ำเหนือเขื่อนเริ่มท่วมสูง

อย่างไรก็ตาม สื่อของลาว กล่าวว่า ไม่เพียงแต่รัฐบาลจะมีรายได้เข้าประเทศเท่านั้น ราษฎรในท้องถิ่นยังจะได้รับผลประโยชน์จากโครงการเทินหินบูนในรูปเงินกองทุนพัฒนาท้องถิ่นมูลค่า 60 ล้านดอลลาร์ กับอีก 33 ล้านดอลลาร์ที่จัดสรรไว้สำหรับก่อสร้างระบบชลประทาน

รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (Electricite du Laos) ถือหุ้น 60% ในโครงการเทินหินบูน กลุ่มนอร์ดิค (Nordic Group) จากนอร์เว 20% กลุ่มเอ็มดีเอ็กซ์จากไทยถืออีก 20%

สู่ถิ่นฐานแห่งใหม่ by The Vientiane Mai/THPC

บริษัทไฟฟ้าเทินหินบูน (Theun Hin Boun Power Co) ทยอยอพยพราษฎรกว่า 750 ครัวเรือน ใน 12 หมู่บ้าน ออกจากเขตอ่างเก็บน้ำส่วนต่อขยายโครงการเทินหินบูนมาตั้งแต่ปี 2553 ชุดสุดท้ายโยกย้ายออกไปในเดือน มี.ค.2554 เมื่อเริ่มเก็บกักน้ำ ทั้งหมดได้ไปอาศัยในชุมชนแห่งใหม่ที่อยู่ไกลออกไป โดยบริษัทผู้ลงทุนจัดสร้างและจัดหาที่ทำกินให้พร้อมจ่ายค่าชดเชย รวมทั้งจัดระบบสาธารณูปโภค สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลและศูนย์ชุมชน ฯลฯ ให้ด้วย ราษฎรเหล่านี้ยังจะได้รับประโยชน์จากกองทุนเพื่อการพัฒนามูลค่า 60 ล้านดอลลาร์ กับอีก 33 ล้านดออลลาร์ที่จัดสรรเพื่อก่อสร้างระบชลประทานให้โดยเฉพาะ สำนักข่าวของทาง กล่าว


3

4

5

6
กำลังโหลดความคิดเห็น