xs
xsm
sm
md
lg

สื่อทางการระบุจะไม่มี “อาหรับสปริง” เกิดขึ้นในพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>หญิงชาวพม่าร้องขายหนังสือพิมพ์ให้กับคนที่เดินผ่านไปมา ในตลาดแห่งหนึ่งของนครย่างกุ้ง หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ตีพิมพ์บทความความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแตกต่างไปจากการปฏิวัติในชาติอาหรับที่ใช้ความรุนแรง ขณะที่พม่าเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยด้วยความเป็นหนึ่งเดียวและด้วยความปรารถนาดีของรัฐบาล. --AFP PHOTO/FILES/Soe Than Win.  </font></b>

เอเอฟพี - สื่อของทางการพม่าระบุวันนี้ (9 ก.พ.) ว่า การปฏิรูปของประเทศตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับการปฏิวัติในประเทศอาหรับ และรัฐบาลพลเรือนของประเทศหลีกเลี่ยงความรุนแรงในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย

รายงานความคิดเห็นที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ระบุว่า ตัวอย่างในอิรักและอัฟกานิสถาน แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดทางกลยุทธ์ที่ทำให้ประชาชนต้องตกอยู่ในวัฏจักรแห่งน้ำตา

ส่วนหนึ่งของรายงานในหนังสือพิมพ์ ระบุว่า คลื่นการปฏิวัติในอาหรับ หรืออาหรับสปริง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เปื้อนเลือด และคาดว่า จะจบลงด้วยปัญหาและความยากจน บทสรุปที่จะได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีเพียงความแตกแยกของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งพม่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ต้องขอบคุณการเปลี่ยนแปลงที่เป็นหนึ่งเดียวกันและความปรารถนาดีของรัฐบาลชุดก่อนและปัจจุบัน ว่า จะช่วยเหลือประเทศให้เดินไปตามเส้นทางสู่ระบอบประชาธิปไตยในลักษณะที่มีเสถียรภาพและสงบสุข

รายงานยังระบุอีกว่า ประเทศ (พม่า) กลายเป็นประชาธิปไตยโดยปราศจากความทุกข์ความเศร้าโศกดังเช่นประเทศที่กล่าวข้างต้น เพราะความเอื้ออาทร รวมทั้งการเจรจาข้อตกลงสงบศึกกับกบฏชนกลุ่มน้อย

หลังตกอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบทหารนานครึ่งศตวรรษ รัฐบาลเผด็จการทหารได้ยุบตัวเองลงในเดือน มี.ค.2554 และโอนถ่ายอำนาจให้กับรัฐบาลพลเรือนที่มีอดีตนายทหารรวมอยู่ด้วย

การเปลี่ยนแปลงประเทศที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิรูปประชาธิปไตย หรือ “โรดแมป 7 ขั้น” ที่รัฐบาลเผด็จการทหารเสนอขึ้นครั้งแรกในปี 2546 ขณะเดียวกัน รัฐบาลชุดใหม่ของพม่าสร้างความประหลาดใจให้กับประชาคมระหว่างประเทศด้วยการดำเนินการปฏิรูปหลายด้าน โดยเฉพาะการอนุญาตให้นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน กลับเข้ามาเล่นการเมืองได้อีกครั้งและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งซ่อมที่จะมีขึ้นในเดือน เม.ย.นี้

ทั้งนี้ การประท้วงและเหตุจลาจลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการแบบพม่า ดังเช่น การชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2531 และปี 2550 ที่ถูกรัฐบาลทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง
กำลังโหลดความคิดเห็น