xs
xsm
sm
md
lg

ภาพชุด -- ดูเวียดนามทำ “แบ๋งจึง” ความหมายลึกล้ำในเทศกาลตรุษ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เจ้าตูบนั่งอยู่ข้างๆ กองแบ๋งจึง (bánh chưng) ที่ห่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่หมู่บ้านแจงคึก (Tranh Khuc) ชานกรุงฮานอยในภาพถ่ายวันที่ 14 ม.ค.2555 แบ๋งจึงหรือ ขนมวันตรุษ เป็นสิ่งที่ขาดมิได้สำหรับเทศกาลแห่งความสุข หมู่บ้านแห่งนี้ทำแบ๋งจึงมานานหลายชั่วคน มีกว่า 200 ครอบครัวทำออกสู่ตลาดในเมืองหลวงทุกวันในช่วงเทศกาล ความจริงแล้วแต่ครั้งโบราณกาลในเทศกาลนี้สมาชิกครอบครัวจะต้องกลับบ้านเกิดเพื่อไปช่วยกันทำแบ๋งจึงซึ่งมีขั้นตอนและรายละเอียดอยู่พอสมควร แต่กิจกรรมนี้ช่วยสร้างความสมัครสมานกลมเกลียวในหมู่ญาติพี่น้อง ไม่ว่าเขาจะจากบ้านไปไกลแสนไกลแค่ไหนก็ตาม ปัจจุบันเงื่อนไขต่างๆ ได้เปลี่ยนไปหลายครอบครัวต้องพึ่งแบ๋งจึงจากตลาดแทน. --REUTERS/Kham. </b>
บทเขียนโดย เหวียนเหวียดหุ่ง (Nguyễn Việt Hùng) อดีตผู้สื่อข่าว "ผู้จัดการรายวัน"
(บทเขียนชิ้นนี้ ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.2549 หรือ เมื่อ 5 ปีก่อน แต่เนื้อหาสาระของเรื่องยังเป็นความจริงไม่เสื่อมคลาย และยังเข้ากับบรรยากาศแห่งเทศกาลอยู่ทุกเมื่อ “ASTVผู้จัดการออนไลน์” นำบทเขียนกลับมาตีพิมพ์อีกครั้งหนึ่งภายใต้บรรยากาศการเตรียมรับเทศกาลตรุษ 2555 โดยมิได้ตัดทอนเนื้อความเดิม)

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- อีกวันสองวัน [..2549..] เทศกาลตรุษเวียดนามก็จะสิ้นสุดลงแล้ว อันว่า “ตรุษเวียดนาม” นี้ ในภาษาเวียดนามจะเรียกกันว่า “เต๊ด” (Tết) บางคนเรียกว่า “ตรุษญวน” แต่ฟังแล้วทะแม่งๆ ชอบกล ถ้าสะดวกก็น่าจะหันมาใช้ “ตรุษเหวียด” หรือไม่ก็เรียกทับศัพท์กันไปเลยว่า “เต๊ด” ฟังแล้วเพราะดีกว่ากันเป็นไหนๆ

แต่วันนี้ตั้งใจจะว่าด้วยเรื่อง แบ๋งจึง (bánh chưng) ขนมที่ขาดไม่ได้ในวันตรุษ

ในวันที่ 27 ม.ค.2006 ถ้าคิดเป็นปฏิทินประจำชาติของเวียดนาม จะตรงกับวันที่ 29 เดือน 12 เพราะฉะนั้น วันถัดมา คือ วันที่ 28 ม.ค.ก็จะเป็นวันสิ้นปี ก็คือวันที่ 30 เดือน 12 และ ในวันที่ 29 ม.ค.ก็จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ คือ วันที่ 1 เดือน 1 ปีจอ ซึ่งนั่นก็คือ คืนวันที่ 28 ม.ค.จะเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ของชาวเวียดนามนั่นเอง

ชาวเวียดนามให้ความสำคัญแก่วันตรุษมาก สมาชิกในครอบครัวถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ ละก็.. ยังไงๆ ก็จะต้องหาทางกลับบ้านเพื่อรวมหมู่เครือญาติพี่น้องให้ได้ ถ้าช่วงนี้ท่านไปที่เวียดนามจะเห็นความวุ่นวายสับสนในการเดินทางมาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน รถไฟ รถยนต์ มอไซค์ จักรยาน ... ผู้คนเต็มถนนหนทางไปหมด

คนทำงานทางเหนือจะกลับไป “อันเต๊ด” (an Tết-การกินเลี้ยงฉลองวันขึ้นปีใหม่) ทางใต้ คนทำงานภาคใต้จะกลับ “อัน เต๊ด” ที่ภาคกลาง ...เป็นภาพที่เห็นแล้วทำให้หัวใจของเราเบิกบาน เป็นภาพที่ให้ความเป็นสุขแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก นั่นหมายถึงการให้ความสำคัญ ให้ความเคารพ แก่ครอบครัว แก่บรรพบุรุษของพวกเขา และเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชนชาติเวียดนามไว้สืบนานเท่านาน

ในช่วงแห่ง Tết นี้ ไปแห่งหนใดท่านจะยินประโยค “จุ๊ก หมื่ง นัม เหมย” (Chúc Mừng Nam Mới) อยู่ตลอดเวลา ซึ่งหมายความว่า “สวัสดีปีใหม่” หรือ “อวยพรปีใหม่” ทำนองนั้น ขอย้ำนิดนึงนะครับ คำว่า “หมื่ง” นั้น มีไม้เอกอยู่ด้วยนะครับ ขอความกรุณาอ่านไม้เอกกำกับด้วยนะครับ มิฉะนั้นความหมายก็จะเปลี่ยนไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ประเพณี Tết ของชาวเวียดนามนั้นมีมาเนิ่นนานมาก และก็มีธรรมเนียมการปฏิบัติมากมายหลายอย่างเป็นที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมของชนชาติใดไม่ว่าเล็กว่าใหญ่ แต่เมื่อล้วงลึกลงไปจะเห็นความสวยงามอันแฝงเปี่ยมไปด้วยปรัชญาในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าเลยทีเดียว

หนึ่งในหลายต่อหลายสิ่งที่แต่ละบ้านแต่ละครอบครัวจะขาดเสียไม่ได้ในช่วงเทศกาลวัน Tết นั่นก็คือ “แบ๋งจึง” ถ้าบ้านไหนขาด แบ๋งจึง ก็จะไม่ถือว่ามีวันขึ้นปีใหม่เลยทีเดียว แต่ละครอบครัวอาจจะทำกันขึ้นเอง หรือไม่ก็สั่งจากร้านผู้มีความชำนาญมีชื่อเสียงสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน หรือไม่ก็ซื้อกันตามท้องตลาดก็ได้ ถือว่าไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ขอให้มีไว้รับประทานหรือรับรองแขกเหรื่อละก็เป็นใช้ได้
.
<bR><FONT color=#000033>คุณยายเหวียนถิซวุง (Nguyen Thi Dung) วัย 85 ปี กำลังจัดเตรียมใบลาโด่ง สำหรับห่อแบ๋งจึงที่หมู่บ้านแจงคึก (Tanh Khuc) ชานกรุงฮานอย ขนมข้าวเหนียวต้มไส้ถั่วเขียวบดคลุกเนื้อหมูสามชั้นนี้ มีวิธีการทำค่อนข้าวละเอียดพิถีพิถัน หากเป็นประเพณีที่ยึดถือสืบต่อกันมาในหมู่ชาวเวียดนามไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในประเทศหรืออาศัยอยู่โพ้นทะเล จนมีคำกล่าวกันว่า ไม่ใช่ขึ้นปีใหม่ หากไม่ได้ทานแบ๋งจึง. --   REUTERS/Kham. </b>
2

3
แบ๋งจึง ก็เลยเป็นขนมคู่กับวันตรุษเลยทีเดียว มีบางท้องถิ่นเรียกว่า “แบ๋งเต๊ด” (Bánh tét-ขนมวันปีใหม่) เพื่อให้มีความขลังเพิ่มขึ้น คือ พอพูด-ฟังปั๊บรู้ปุ๊บว่ามีให้รับประทานเฉพาะวัน Tết เท่านั้น ช่วงเวลาอื่นหาชิมไม่ได้... เพราะฉะนั้น “เต๊ด-แบ๋งจึง” นั้นแยกกันไม่ออก ขึ้นปีใหม่ต้องได้กินแบ๋งจึง ถ้าได้กินแบ๋งจึงนั่นคือกำลังก้าวเข้าสู่ปีใหม่

แบ๋งจึง เป็นขนมข้าวเหนียวต้มลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านยาวประมาณ 20 ซม.มีไส้ถั่วเขียวบดและหมูสามชั้นเนื้อเยอะๆ มันน้อยๆ อยู่ตรงกลาง ห่ออยู่ในใบไม้สีเขียวยาวเรียวชนิดหนึ่ง ทางภาษาเวียดนามเรียกว่า “ลา โด่ง” (la đồng) และ มัดอย่างแน่นหนาด้วยตอกไม้ไผ่ ก่อนนำไปต้มในไฟอ่อนๆ อย่างน้อย 72 ชั่วโมง โดยต้องหมั่นเติมไฟและต้องหมั่นดูน้ำให้ท่วมอยู่เสมอ

ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้มีความชำนาญ บอกว่า การต้มนั้นต้องใช้ไฟอ่อนๆ และต้องใช้ฟืนหรือไม่ก็ถ่านหินจึงจะอร่อย หากใช้แก็สหุงต้มแล้วละก็.. รสชาติใช้ไม่ได้เลยทีเดียว หลังจากที่ต้มกันแบบมาราธอนซึ่งอย่างน้อยๆ ก็ต้อง 3 วันขึ้น ก็ถึงเวลาที่จะต้องตักขึ้นมา.. ยังครับ ยังชิมไม่ได้ครับ ต้องตัก แบ๋งจึง ขึ้นมาวางเรียงรายบนโต๊ะที่แข็งแรง เป็นโต๊ะหินละก็ดีทีเดียว จากนั้นต้องนำแผ่นหินหนักมาทับเพื่อรีดน้ำให้ออกจากภายในของขนม ก่อนนำไปล้างน้ำให้เปลือกรอบนอกของแบ๋งจึงสะอาดน่ารับประทาน

กระบวนการทำแบ๋งจึงอย่างคราวก็จบลงอย่างง่ายดาย แต่ในความเป็นจริงนั้นมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างยิ่งอย่างน้อยก็ต้องมี 4-5 วันถึงจะได้กิน ประเภทเด็กๆ นั่งรอชิมกันจนเบื่อนั่นแหละครับ... ส่วนกรรมวิธีเคล็ดลับที่จะทำให้มีรสชาติออกมาสะเด็ดสะเด่าสะกิดลิ้นผู้ชิม ละก็คงต้องตามไปศึกษากันที่เวียดนามโน่นละครับ ...

ขึ้นชื่อว่าเป็นขนมประจำชาติในวันตรุษ และมีวัฒนธรรมสืบเนื่องมาหลายศตวรรษนั้น แน่นอนต้องมีความหมายที่ยิ่งใหญ่เลยทีเดียว ชาวเวียดนามในสมัยก่อนมีทัศนคติว่า “ท้องฟ้ากลม พื้นดินสี่เหลี่ยม” แบ๋งจึง ก็จึงมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเปรียบเช่นพื้นแผ่นดิน เป็นตัวแทนของแม่ ของความงดงามและละเอียดอ่อน การห่อขนม แบ๋งจึงนั้นมีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร
กิจกรรมเพื่อความกลมเกลียว by Reuters


4

แบ๋งจึงถูกห่อด้วยใบ ลาโด่งสีเขียว ภายหลังต้มจนสุกแล้วเมื่อเปิดขนมออกมาจะมีสีเขียวอ่อนของต้นกล้าข้าว นั่นเปรียบเสมือนต้นกล้าอันอ่อนนุ่มของชาวนา ทุ่งหญ้าอันเขียวชะอุ่มของเกษตรกรชาวไร่ นั่นคือธรรมชาติอันสดชื่นที่ทุกคนปรารถนา

แบ๋งจึงห่อขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม แสดงถึงความซื่อสัตย์ ซื่อตรง เป็นธรรม ไม่คดในข้องอในกระดูก สี่เหลี่ยมแสดงถึงความเด็ดขาดในการตัดสินใจ

แบ๋งจึง ถูกห่อด้วยด้วยใบลาโด่งอย่างน้อยๆ ก็ต้อง 4-5 ชั้น แสดงถึงจิตใจของผู้เป็นแม่ที่โอบอุ้มลูกสุดที่รักของตนเองไว้ตั้งแต่ลืมตาดูโลก แม่ยินดีทนทุกข์ทรมานเพื่อให้ลูกน้อยได้เติบใหญ่ประสบความสำเร็จสืบไป วันตรุษ วันรวมครอบครัว ทุกคนกินแบ๋งจึงนั่นคือความรำถึงแม่ผู้บังเกิดเกล้า ได้อยู่กับแม่ พี่น้องอุปถัมภ์ค้ำชูซึ่งกันและกัน วันตรุษเป็นวันที่มีความสุขที่สุดของครอบครัวอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

วิธีแกะ แบ๋งจึง ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ แกะ ใจร้อนเป็นพัง ต้องแกะใบหุ้มออกทีละชั้นๆ ตามลำดับขั้นตอน นั่นคือการสอนการทำงานอย่างมีความอดทน ละเอียดอ่อน และเป็นขั้นเป็นตอน

แบ๋งจึง มีนัยแห่งความเสมอภาคของสังคมอย่างเห็นได้ชัด นั่นคือ การเสมอภาคในการตัดแบ่งแบ๋งจึง การตัดนั้นต้องใช้ตอกไม้ไผ่บางๆ ตัด โดยการวางตอกใน 4 ด้าน 2 เส้นตั้งฉาก และ 2 เส้นทแยง จากนั้นทำการตัดโดยการถึงตอกเข้าหากัน ผลที่ได้จะแบ่ง แบ๋งจึงออกเป็น 8 ส่วน ที่มีทั้งข้าวเหนียวรอบนอก และส่วนไส้ของถั่วเขียวบดและหมูสามชั้นอย่างเสมอภาคกันทั้ง 8 ชิ้น...

หากท่านผู้อ่านมีโอกาสไปเที่ยวเวียดนามในช่วงนี้คงจะได้ชิม แบ๋งจึง กันเต็มที่เลยทีเดียว... ถ้าหากนำชิ้นแบ๋งจึงไปทอดในกระทะพอให้ข้าวเหนียวรอบนอกเกรียมหน่อยๆ นะ ... โอ้จอร์จ... พระเจ้า.. หร่อยอย่าบอกใครเลยเชียว...

5

6

7

8

9
กำลังโหลดความคิดเห็น