xs
xsm
sm
md
lg

พบโลมาอิรวดีฝูงใหญ่ ในหมู่เกาะทะเลอ่าวไทยของเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>แผนที่จัดทำขึ้นจาก Google Earth Map แสดงถิ่นที่อยู่ใหม่ของโลมาอิรวดีในเขตทะเลอ่าวไทย จ.เกียนซยาง ของเวียดนาม เป็นครั้งแรกที่พบโลมาน้ำเค็มในแถบนี้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเป็นอีกชนิดหนึ่งที่แตกต่างไปจากกลุ่มที่พบในทะเลสาบสงขลาของไทย โลมาอิรวดีน้ำเค็มยังพบในอีกหลายแห่งในภูมิภาคนี้รวมทั้งในทะเลฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ขณะที่เครือญาติพันธุ์น้ำจืดพบในแม่น้ำโขงในดินแดนกัมพูชาและลาว แต่จำนวนเหลืออยู่ไม่มาก การสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำจะทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกนี้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น ประชากรกลุ่มใหญ่พบในแม่น้ำอิรวดี พม่าอันเป็นที่มาของชื่อ. </b>

เวียดนามเน็ต - นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันชีววิทยาเขตร้อนพบโลมาอิรวดีราว 20 ตัว ว่ายอยู่ในทะเลรอบเกาะบ่าลัว (Ba Lua) ซึ่งเป็นพื้นที่วนอุทยานทางทะเลใน จ.เกียนซยาง

ในการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของหมู่เกาะบ่าลัวในเดือน มิ.ย.2553 นักวิจัยจากสถาบันชีววิทยาเขตร้อนพบโครงกระดูกโลมาอิรวดีบนเกาะดาบ๊าค (Da Bac) ต่อมาในเดือน ก.ย. 2554 นักวิจัยกลุ่มเดิมพบโลมาอิรวดีมากกว่า 20 ตัวในทะเลรอบหมู่เกาะดังกล่าวและยังขุดพบกะโหลกโลมาอีก 2 กะโหลกบนเกาะด้วย

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังคงไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่นอนของชุมชนโลมาอิรวดีในเกาะบ่าลัวได้ แต่มีมากกว่าครั้งที่เคยพบโลมา 7-10 ตัว ในการสำรวจบริเวณมะลัมยาปา หรือบริเวณแคบๆ ในเขตที่ราชบปากแม่น้ำโขง

ศูนย์เพื่อการพัฒนาและความหลากหลายทางชีวภาพของเวียดนามจะร่วมมือกับคนในท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศคุ้มครองอนุรักษ์สัตว์สายพันธุ์นี้ เนื่องจากเวียดนามมีข้อมูลเกี่ยวกับโลมาอิรวดีเพียงเล็กน้อย

ดร.หวูหง็อคลอง หนึ่งในสมาชิกกลุ่มวิจัย กล่าวว่า การค้นพบแหล่งอาสัยของโลมาครั้งใหม่นี้ เป็นโ,มาอีกกลุ่มหนึ่งที่ แยกจากชุมชนโลมาที่เคยสำรวจพบในทะเลสาบสงขลาของไทย และในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง นอกจากนั่้นในเวียดนามยังมีการวิจัยเกี่ยวกับโลมาอิรวดีเพียงเล็กน้อย และไม่ได้จัดให้โลมาอิรวดีอยู่ในรายชื่อสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
<bR><FONT color=#000033>ภาพรอยเตอร์ปี 2552 โลมาอิรวดีในแม่น้ำโขงช่วง จ.กระแจ๊ะ (Kratie) ของกัมพูชา นอกจากนั้นยังพบอีกกลุ่มหนึ่งจำนวนไม่ถึง 10 ตัว ในเขต จ.สตึงแตร็ง (Stung Treng) ที่อยู่เหนือขึ้นไปติดชายแดนลาว ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ในเขตสี่พันดอนของลาวเองยังมีอยู่ไม่กี่ตัว และยังพบอีก 5-6 ตัวในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงในเวียดนาม การค้นพบแหล่งที่อยู่ใหม่ของโลมาอิรวดีพันธุ์น้ำเค็มในเขตทะเล จ.เกียนซยาง ของเวียดนามนับเป็นข่าวดี. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์หนังสือพิมมพ์เตื่อยแจ๋ เป็นโลมาอิรวดีที่พบในแถบหมู่เกาะใกล้ชายฝั่ง ในทะเลอ่าวไทย  จ.เกียนซยาง เวียดนาม นักอนุรักษ์กล่าวว่าพบโลมาอยู่ที่นั่นไม่ต่ำกว่า 20 ตัว จำนวนที่แท้จริงอาจจะมากกว่านั้น และการสำรวจยังดำเนินต่อไป. </b>
3

ในวันที่ 12 ม.ค.2555 นักวิจัยของเวียดนามจะเดินทางไปยังประเทศไทยเพื่อทำงานร่วมกับสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ดำเนินการวางแผนคุ้มครองโลมา และในระหว่างนั้นนักวิจัยจะร่วมมือกับประมงท้องถิ่นติดตามประชากรโลมาในบริเวณหมู่เกาะบ่าลัว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่ามีโลมาอิรวดี 5 ตัวอาศัยอยู่ในน่านน้ำของเวียดนาม

โลมาอิรวดีเป็นโลมาชนิดหนึ่งที่พบตามน่านน้ำใกล้ชายฝั่งและบริเวณปากแม่น้ำและแม่น้ำ ในย่านอ่าวเบงกอลและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัยและการติดอวนจับปลาเป็นสาเหตุหลักที่คุกคามประชากรโลมาอิรวดี ความพยายามที่จะอนุรักษ์โลมาสายพันธุ์นี้จึงมีขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อบรรเทาภัยคุกคามดังกล่าว

องค์การ IUCN จัดให้ โลมาอิรวดี เป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ และไทย และในปี 2547 อนุสัญญาว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและพืชพรรณระหว่างประเทศ (CITES) ได้ย้ายโลมาอิรวดีจากที่เคยถูกระบุชื่ออยู่ในภาคผนวก 2 ไปยังภาคผนวก 1 เพื่อห้ามการค้าเชิงพาณิชย์ทั้งหมด เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์.
กำลังโหลดความคิดเห็น