xs
xsm
sm
md
lg

บันทึกประวัติศาสตร์ (2) “คลินตัน-ซูจี” การพบปะของหญิงเหล็ก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>งามวัย -- สตรีสำคัญของโลกสองคนพบปะกันที่บ้านพักอุปทูตสหรัฐฯ ในกรุงย่างกุ้ง ด้วยวัยที่ใกล้เคียงกันทั้งสองฝ่ายมีภูมิหลังที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ก็มีจุดร่วมอันเดียวกันคืออุดมการณ์เพื่อประชาธิปไตยและต่างดำเนินชขีวิตมาโชกโชนไม่ต่างกัน แม้จะเคยพูดคุยไถ่ถามทุกข์สุขทางโทรศัพท์มาก่อน แต่เป็นครั้งแรกที่ได้พบกันแบบ ตาประสานตา การพบสนทนาระหว่างนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ กับนางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่าในตอนค่ำวันพฤหัสบดี 1 ธ.ค.2554 เป็นการเริ่มประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของพลังประชาธิปไตยในพม่า. -- AFP PHOTO/POOL/ Saul Loeb.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กับนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมายาวนานกว่าสองทศวรรษ ได้พบสนทนากันในค่ำวันพฤหัสบดี 1 ธ.ค.2554 ในกรุงย่างกุ้ง ซึ่งเป็นการพบกันระหว่างสตรีสำคัญที่สุดคู่หนึ่งของโลก และเป็นแรงสนับสนุนครั้งสำคัญสำหรับพลังประชาธิปไตยในพม่า ที่ตกอยู่ภายใต้ระบอบทหารมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ

นางซูจี ได้รับเชิญไปร่วมรับประทานอาหารที่บ้านพักของอุปทูตสหรัฐฯ ซึ่งจัดขึ้นไม่ได้มีพิธีการอะไรเป็นพิเศษ ต่างฝ่ายต่างรับประทานสำหรับของตนบนโต๊ะเล็กๆ เดียวกัน ในการพบปะกันครั้งประวัติศาสตร์เพื่อทำความรู้จัก และเข้าใจกันทางด้านความคิด ที่ภาษาทางการทูตเรียกว่า Comparing note meeting สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงาน

สำนักข่าวตะวันตก กล่าวว่า นับเป็นการพบปะระหว่างสตรีสำคัญที่สุดสองคน ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจล้นพ้นในการกำหนดโชคชะตาของโลก ผ่านพลังทางการทูตกับกองทัพอันเกรียงไกร อีกฝ่ายหนึ่งเป็นสตรีเหล็กที่แข็งแกร่งประดุจเพชร ต่อสู้กับการกดขี่ปราบปรามอย่างโชกโชน และใช้เวลาเกือบ 20 ปีในคุก หรือถูกกักบริเวณในบ้านพัก เพราะไม่ยอมศิโรราบให้ระบอบเผด็จการทหาร

สตรีทั้งสองยังมีวัยที่ใกล้เคียงกัน คือ นางคลินตัน ครบ 64 ปี ในวันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา และ นางซูจี 66 ปี ในเดือน มิ.ย.ปีนี้ คนแรกเป็นนักกฎหมายอาชีพที่มีชื่อเสียง เป็นภริยาอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน เป็นสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐฯ ระหว่างปี 2544-2552 และ เป็นวุฒิสมาชิกมลรัฐนิวยอร์ก เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนหนึ่งของพรรคเดโมแครต ก่อนจะได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศในคณะบริหารของประธานาธิบดี บารัค โอบามา

ส่วนคนหลังเป็นบุตรีเพียงคนเดียวของนายพลอองซาน ผู้นำแห่งเอกราชของพม่า สำเร็จการศึกษาสาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษในปี 2512 และปริญญาเอกสาขาแอฟริกาและตะวันออกศึกษาจากมหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) ปี 2528 เดินทางกลับพม่านำการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ร่วมก่อตั้งพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย นำพรรคสู่การเลือกตั้งปี 2533 และได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ฝ่ายทหารไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจบริหาร ตั้งแต่นั้นมานางซูจี มีชีวิตส่วนใหญ่กว่า 20 ปีมานี้ในเรือนจำ หรือถูกกักบริเวณในบ้านพัก

“ดร.ซูจี” ยังได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี 2534 แต่ไม่สามารถเดินทางไปรับในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ด้วยตนเองได้ เนื่องจากเกรงว่ารัฐบาลทหารจะไม่อนุญาตให้เดินทางกลับพม่าได้อีก นางได้รับรางวัลเกียรติยศอีกหลายรางวัลในช่วงปีต่อๆ มา ทั้งจากรัฐบาล หน่วยงานและองค์การต่างๆ จากทั่วโลก

หลังจากบิดาถูกฆาตกรรม ในวัยเด็กผู้นำฝ่ายค้านพม่าได้ติดตามมารดา คือ นางคินจี (Khin Kyi) ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตไปประจำในหลายประเทศ รวมทั้งในสหรัฐฯ และอินเดีย และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีครั้งแรกจากประเทศนี้ด้วย ต่อมาในปี 2518 ขณะพำนักในอังกฤษได้สมรสกับศาสตราจารย์ ไมเคิล อาริส ที่พบและรู้จักสนิทสนมกันมาหลายปีก่อนหน้านั้น ต่อมามีบุตร 2 คน ได้สัญชาติอเมริกัน 1 คน กับสัญชาติอังกฤษ 1 คน


ก่อนจะมีการพบปะ “ตาต่อตา” ในวันพฤหัสบดีนี้ นางคลินตัน ได้เคยโทรศัพท์จากสหรัฐฯ ไถ่ถามทุกข์สุข นางซูจี เมื่อครั้งได้รับอิสรภาพพ้นจากการถูกกักบริเวณในบ้านพักในช่วงกลางเดือน พ.ย.2553 และ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้ประกาศระหว่างไปร่วมประชุมสุดยอดกับผู้นำอาเซียนในอินโดนีเซีย สัปดาห์ที่แล้ว ว่า ได้โทรศัพท์พูดคุยกับนางซูจีในระหว่างนั้นเช่นกัน

นางซูจี ได้เคยประกาศอย่างเปิดเผยสนับสนุนการเข้าไปมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในพม่า ที่กำลังเปลี่ยนรูปแปลงโฉมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมภายใต้รัฐบาลใหม่ที่เข้าบริหารประเทศในเดือน มี.ค.ปีนี้
.
<bR><FONT color=#000033>รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน รับประทานอาหารมื้อค่ำร่วมโต๊ะกับนางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ที่บ้านพักอุปทูตสหรัฐฯ ในกรุงย่างกุ้ง โดยต่างฝ่ายต่างมีอาหารของตนเอง ในพิธีที่เกือบจะไม่เป็นพิธีรีตองอะไร เป็นการพบปะครั้งแรกที่แรกว่า Comparing note meeting แต่เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญยิ่งและถือเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญยิ่งใหญ่สำหรับพลังประชาธิปไตยในพม่า. -- REUTERS/Saul Loeb/Pool. </b>
2

ก่อนเดินทางไปยังกรุงเก่าย่างกุ้ง รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ ได้พบเจรจากับรัฐมนตรีต่างประเทศพม่านายวุนนามองหวิ่น และเข้าเยี่ยมคำนับประธานาธิบดี เต็งเส่ง ซึ่งถือเป็นการพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับสหรัฐฯ ที่เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารมามานาน 20 ปี

นางคลินตัน เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดคนแรกจากสหรัฐฯ ที่ประธานาธิบดีพม่ากับภริยาเปิดทำเนียบให้การต้อนรับ

ฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงเจตจำนงที่อยากจะเห็นพม่าปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมดให้เข้าร่วมขบวนการปฏิรูปในประเทศ ที่ยังจะต้องเดินหน้าต่อไปและไม่ประสงค์จะเห็นพม่าพันตูในเรื่องที่ผิดกฎหมายกับเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการแสวงหาความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์จากประเทศนี้

เพื่อเป็น “รางวัล” สำหรับพม่า นางคลินตัน ได้เสนอให้การช่วยเหลือจากสหรัฐฯ และจะสนับสนุนความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศที่จะให้แก่พม่า รวมทั้งพิจารณายกเลิกการคว่ำบาตรและยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีโดยพร้อมจะส่งเอกอัครราชทูตกลับไปประจำกรุงย่างกุ้งอีกครั้งหนึ่ง

เวลาต่อมานางคลินตัน ได้พบสนทนากับนายคินอองมี้นอู ประธานสภาสูง หรือสภาชนชาติกับบรรดาผู้แทนจากชนเผ่าต่างๆ จำนวนหนึ่ง และต่อมาได้แยกพบสนทนากับนายตุระฉ่วยมาน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นการสิ้นสุดภารกิจการสำรวจหาความมั่นใจเกี่ยวกับการปฏิรูปโดยรัฐบาลพลเรือนที่มีฝ่ายทหารหนุนหลัง ซึ่งเพียงไม่เดือนมานี้ได้ทำการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องและสร้างความเป็นเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นในหลายด้าน

ก่อนพบและรับประทานอาหารร่วมกับนางซูจี ในย่างกุ้งเวลาต่อมา นางคลินตัน ไปเยี่ยมชมพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งที่นั่น รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ ต้องถอดรองเท้าเดินเพื่อแสดงความเคารพ อันเป็นขนบธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธในพม่าเดินเข้าไปในบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีความเก่าแก่สืบย้อนหลังได้จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6

การปฏิบัตินี้ได้ทำให้ นางคลินตัน ได้รับเสียงปรบมือจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวพม่าและชาวต่างชาติที่พบเห็น รอยเตอร์กล่าว
สองสตรีเหล็ก POOL/AFP/Reuters

3

4

5

6
กำลังโหลดความคิดเห็น