xs
xsm
sm
md
lg

บันทึกประวัติศาสตร์ “ฮิลลารี-เต็งเส่ง” เปิดหน้าใหม่พม่า-สหรัฐฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีเต็งเส่ง หารือกับนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ที่ทำเนียบประธานาธิบดี ในกรุงเนปีดอ วันนี้ (1 ธ.ค.). -- AFP PHOTO/POOL/Saul Loeb. </font></b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เข้าเยี่ยมคำนับและหารือข้อราชการกับประธานาธิบดีเต็งเส่งของพม่าในตอนเช้าวันพฤหัสบดี 1 ธ.ค.นี้ ซึ่งถือเป็นการเริ่มประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศนี้ หลังจากถูกสหรัฐฯ กับโลกตะวันตกโดดเดี่ยวมานานกว่า 50 ปี ภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหารที่สืบทอดกันต่อๆ มา

นางคลินตัน เดินทางจากสหรัฐฯ ไปถึงเมืองเนปีดอซึ่งอยู่ในภาคกลางพม่าตั้งแต่เวลา 17 น.เศษวันพุธ 30 พ.ย.เพื่อเริ่มการเยือนเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งเป็นการเยือนโดยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐครั้งแรกในเวลาเกือบ 56 ปี

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ประกาศชัดเจนภารกิจของนางคลินตันในการเยือนเที่ยวนี้ ก็คือ การผลักดันให้เกิดการปฏิรูปประชาธิปไตยอย่างจริงจังในประเทศนี้ ขณะเดียวกันก็เพื่อชักชวนโน้มน้าวให้รัฐบาลพม่าถอยห่างจากการติดต่อสัมพันธ์ในประเด็นที่ผิดกฎหมายกับเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การแสวงหาความช่วยเหลือพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งสร้างความเป็นกังวลใจให้ฝ่ายสหรัฐฯ มาตลอด ถึงแม้พม่าจะปฏิเสธเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้วก็ตาม

นางคลินตัน มีกำหนดเดินทางไปยังกรุงย่างกุ้งในวันเดียวกัน และมี่กำหนดพบหารือกับนางอองซานซูจี รวมทั้งเดินทางเยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่างๆ ก่อนจะกลับในวันศุกร์ 2 ธ.ค.นี้

สหรัฐฯ เป็นผู้นำหน้าในการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารพม่าทุกชุดที่ผ่านมา โดยระบุว่ามีการละเดสิทธิมนุษยชนอย่างสูงและกดขี่เบียดเบียนราษฎรโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชาติส่วนน้อยต่างๆ ที่ฝ่ายทหารใช้วิธีการปราบปรามอย่างรุนแรง

แต่การกดดันยิ่งทำให้พม่าต้องหันไปพึ่งพาจีน และกลายเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดแนบแน่น ทำให้จีนแผ่อิทธิพลเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งได้เป็นเจ้าของขุมพลังงานใหญ่และเหมืองแร่โลหะล้ำค่าต่างๆ ในพม่า

แต่การถูกโดดเดี่ยวจากสหรัฐฯ กับประชาคมยุโรปก็ได้ทำให้พม่าเผชิญกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจและการเมืองไม่น้อย หลายปีมานี้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าต้องปิดตัวเองลงไม่ต่ำกว่า 600 แห่ง เนื่องจากถูกปิดกั้นตลาด แรงงานนับแสนคนว่างงานและขาดรายได้

การส่งออกสินค้าการเกษตรกับสินค้าชนิดอื่นๆ ก็ประสบความยากลำบากไม่ต่างกัน พม่าต้องพึ่งพาตลาดเพื่อนบ้านเป็นหลัก

แต่การเลือกตั้งครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปีที่จัดขึ้นวันที่ 7 พ.ย.2553 ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและรวดเร็ว รัฐบาลของประธานาธิบดีเต็งเส่งซึ่งเจ้ารับตำแหน่งในเดือน มี.ค.ปีนี้ ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งพบเจรจากับนางซูจีผู้นำฝ่ายค้านกลุ่มใหญ่ที่ถูกกีดกันออกจากการเลือกตั้งปีที่แล้ว ในความพยายามสร้างความปรองดองแห่งชาติ

ในเดือน ต.ค.นี้ รัฐบาลได้เปิดทางให้พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางซูจี จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองถูกต้องตามกฎหมายได้อีกครั้ง และ พรรคนี้รวมทั้งนางซูจีได้ประกาศจะเข้าร่วมการเลือกตั้งซ่อมใหญ่ที่กำลังจะมีขึ้นซึ่งเป็นความคืบหน้าสำคัญ

หลายเดือนมานี้รัฐบาลใหม่พม่าได้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองนับร้อยคน แต่หลายฝ่ายเชื่อว่ายังคงเหลืออยู่อีกระหว่าง 500-1,600 คน ซึ่งสหรัฐฯ ต้องการจะเห็นรัฐบาลใหม่ปล่อยตัว “นักโทษทางความคิด” เหล่านี้ทั้งหมด เพื่อให้ทุกคนได้เข้าร่วมส่วนในการพัฒนทางการเมืองและเศรษฐกิจสังคมของประเทศ

การไปเยือนพม่าของนางคลินตัน ยังเป็นขีดหมายอันเป็นรูปธรรมที่บ่งบอกว่า สหรัฐฯ กำลังหันเปลี่ยนนโยบายจากตะวันออกกลางมาให้ความสำคัญแก่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับย่านเอเชียทั้งมวล ตามที่รัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศเอาไว้เมื่อเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ

พม่าเองมีความจำเป็นจะต้องปรับตัวเข้าหาประชาคมระหว่างประเทศ ประเทศนี้กำลังจะทำหน้าที่เป็นประธานกลุ่มอาเซียนในปี 2545 ซึ่งหากไม่สามารถสร้างการยอมรับในระดับสากลได้การทำหน้าที่นี้ก็จะไม่สมบูรณ์ และอาจจะถูกค่ำบาตรจากผู้นำสหรัฐฯ กับผู้นำชาติตะวันตกอื่นๆ ซึ่งเป็นคู่สนทนาหรือเป็นหุ้นส่วนกับอาเซียน

การพัฒนาทางการเมืองในทางบวกของพม่ากำลังส่งผลอย่างทั่วด้าน และอาจจะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำพม่าจะได้เข้าร่วมการประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ที่ลาวกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดปลายปีหน้า.
<br><FONT color=#000033>ภาพมุมกว้าง ขณะนางฮิลลารี คลินตัน หารือข้อราชการกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง ที่ทำเนียบประธานาธิบดี. -- AFP PHOTO/POOL/Saul Loeb. </font></b>


<br><FONT color=#000033>ก่อนเข้าพบประธานาธิบดีเต็งเส่ง นางฮิลลารี คลินตัน ได้เข้าหารือกับนายวันนา หม่อง วิน รัฐมนตรีต่างประเทศ (ที่ 2 จากขวา) ที่กระทรวงต่างประเทศพม่า . -- AFP PHOTO/POOL/Saul Loeb. </font></b>
<br><FONT color=#000033>ขบวนรถของนางฮิลลารี คลินตัน เดินทางออกจากทำเนียบมุ่งหน้าไปยังหมู่อาคารรัฐสภา. -- AFP PHOTO/POOL/Saul Loeb. </font></b>
<br><FONT color=#000033>ขบวนรถนางฮิลลารี คลินตัน เดินทางถึงกลุ่มอาคารรัฐสภา ในกรุงเนปีดอ เพื่อหารือกับประธานวุฒิสภา (สภาสูง) และประธานสภาผู้แทนราษฎร. -- AFP PHOTO/POOL/Saul Loeb. </font></b>
<br><FONT color=#000033>ภาพมุมกว้าง ขณะนางฮิลลารี คลินตัน (กลางซ้าย) หารือกับนายตูระ ฉ่วย มาน ประธานสภาผู้แทนราษฎร. -- AFP PHOTO/POOL/Saul Loeb. </font></b>

<br><FONT color=#000033>นายขิ่น ออง มินต์ ประธานวุฒิสภาพม่า (สภาสูง) หารือกับนางฮิลลารี คลินตัน (ซ้าย). -- AFP PHOTO/POOL/Saul Loeb. </font></b>
<br><FONT color=#000033>นางฮิลลารี คลินตันสัมผัสมือกับสมาชิกวุฒิสภา ที่เข้าร่วมการประชุม. -- AFP PHOTO/POOL/Saul Loeb. </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น