xs
xsm
sm
md
lg

พม่าหอมหวน อียู-ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ กลับลำ “คลินตัน” เยือนเดือนหน้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีบารัค โอบามา นั่งอยู่ใกล้ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ระหว่างประชุมร่วมกับผู้นำกลุ่มอาเซียนที่นูซาดัว (Nusa Dua) เกาะบาหลี อินโดนีเซีย วันที่ 18 พ.ย.2554 ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศส่งนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศไปเยือนพม่า 2 วันในต้นเดือน ธ.ค.นี้ นับเป็นการหันเปลี่ยนนโยบายต่อพม่าครั้งสำคัญ. -- AFP PHOTO/Saul Loeb. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- หนึ่งปีหลังการเลือกตั้ง การเมืองพม่ากำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในการก้าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมระหว่างประเทศ โลกตะวันตกที่นำโดยสหภาพยุโรป กับสหรัฐฯ ที่ทำการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลทหาราตลอดเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ล้วนปรับท่าทีใหม่ ขณะที่ญี่ปุ่นประกาศพร้อมคืนความช่วยเหลือแบบเต็มสูบช่วยพัฒนาประเทศ

และโดดเด่นเหนือความเคลื่อนไหวใดๆ ในขณะนี้ ก็คือ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา ประกาศในอินโดนีเซียเมื่อวันศุกร์ “เปิดประตู” ปรับสัมพันธ์เต็มที่ และ นางฮิลลารี คลินตัน กำลังจะไปเยือนต้นเดือน ธ.ค.นี้ และกำลังจะเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯคนแรกที่ไปเยือนประเทศนี้ในรอบกว่า 50 ปี

นายโอบามา ประกาศการเรื่องนี้หลังจากได้เห็น “เปลวไฟริบหรี่ของความก้าวหน้า” ในพม่า และ หลังจากได้พูดคุยโดยตรงกับนางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านโดยตรงเป็นครั้งแรก ซึ่งเธอได้สนับสนุนการเข้ามีส่วนร่วมในพม่าของสหรัฐฯ

อีกพัฒนาการหนึ่ง ก็คือ พรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD (National League for Democracy) ของ นางซูจี ได้ประกาศจะเข้าร่วมในการเลือกตั้งซ่อมที่จะมีขึ้นในเดือนหน้า หลังจากรัฐบาลโอนอ่อนผ่อนตามและเจรจากับนางซูจีมาหลายครั้ง ตลอดจนมีการแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้ NLD จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองอย่างถูกต้องได้อีกครั้งหนึ่งด้วย

นั่นคือ การคืนบทบาทางการเมืองให้แก่นางซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ที่ไม่มีโอกาสได้เดินทางไปรับรางวัลเกียรติยศนี้ในกรุงออสโล ประเทศนอร์เว และ NLD ได้ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ย.2553 หลังจากถูกยุบพรรคและทางการไม่ยอมปล่อยตัวสมาชิกพรรคคนสำคัญจำนวนหนึ่ง

พม่าภายใต้ประธานาธิบดีเต็งเส่ง กำลังจะทำหน้าที่เป็นประธานกลุ่มอาเซียนในปี 2557 อีกด้วย โดยที่ประชุมสุดยอดกของกลุ่มมีมติเอกฉันท์ให้การสนับสนุนในวันศุกร์ 18 พ.ย.เช่นกัน

ที่ผ่านมา พม่าได้ปล่อยนักโทษการเมืองออกจากเรือนจำราว 230 คน บางคนในนั้นถูกคุมขังมานาน 2 ทศวรรษ การอภัยโทษกำลังจะมีขึ้นอีกในเร็วๆ นี้ ขณะที่ประชาคมระหว่างประเทศกำลังจับตามองความเป็นไปต่างๆ อย่างใกล้ชิดรวมทั้งการปรับปรุงทางด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศนี้ด้วย

แน่นอนที่สุด การเยือนของนางคลินตัน ในเดือนหน้ามีนัยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะกำลังจะเป็นการเยือนครั้งแรกของ รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2505 ก่อนพม่าจะดำดิ่งเข้าสู่วงจรการรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหาร การทำสงครามกับชนชาติส่วนน้อยกลุ่มต่างๆ และการเมืองตกอยู่ในเงื้อมมือของกองทัพมานาน 50 ปี

การเยือนของนางคลินตันระหว่างวันที่ 1-2 ธ.ค.ศกนี้ ยังเป็นการถ่วงดุลอำนาจกับที่คืบคลานเข้าพม่า แลประเทศในอนุภูมิภาคนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังเป็นการแสดงบทบาทใหม่ของสหรัฐฯ ครั้งสำคัญต่อทั้งภูมิภาค ตั้งแต่รัฐบาลโอบามาประกาศให้เอเชียเป็นเขตผลประโยชน์ใหม่โดยหันเปลี่ยนไปจากตะวันออกกลาง

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโอบามายังคงสงวนท่าที ก่อนการปรับสัมพันธ์ในขั้นต่อไปจะเกิดขึ้น โดยจะจับตา การปรับปรุงทางด้านสิทธิมนุษยชนของพม่า

อียูก็มีท่าทีไม่ต่างกัน โฆษกของกลุ่มประกาศในวันศุกร์แสดงความพึงพอใจที่พรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุดในพม่าจะกลับเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกำลังจะนำไปสู่การทบทวนความสัมพันธ์ หลังจากยุโรปค่ำบาตรพม่าทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองมานานกว่า 10 ปี เช่นเดียวกับสหรัฐฯ
.
<bR><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีเต็งเส่งกับคณะกำลังฟังคำแปล ระหว่าง ปธน.บารัค โอบามากล่าวปราศรัยในที่ประชุมร่วมกับบรรดาผู้นำกลุ่มอาเซียนของ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศส่งนางฮิลลารี คลินตัน ไปเยือนพม่าต้นเดือนหน้า กำลังจะกลายเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คนแรกที่ไปเยือนในรอบ 50 ปี. --  AFP PHOTO/Saul Loeb.</b>
<bR><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา กำลังปราศรัยโดยมีนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศอยู่ใกล้ๆ ปธน.สหรัฐฯ ประกาศส่งนางคลินตัน ไปเยือนพม่าระหว่างวันที่ 1-2 ธ.ค.นี้ กำลังจะกลายเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คนแรกที่ไปเยือนในรอบ 50 ปี. --  AFP PHOTO/Saul Loeb.</b>
“เราหวังว่าการเลือกตั้ง (ซ่อม) กำลังจะดำเนินไปอย่างยุติธรรมและโปร่งใส ซึ่งจะเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งสำหรับความปรองดองแห่งชาติ” ไมเคิล มานน์ (Michael Mann) โฆษกของอียูออกคำแถลงในวันศุกร์

โฆษกผู้นี้กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่แสดงให้เห็น “การพัฒนาที่เป็นไปในทางบวกและน่าประทับใจ” ในพม่า และอียูจะเฝ้ามองต่อไปรวมทั้งการปลดปล่อยนักโทษการเมือง โดยตอบสนองพัฒนาการเหล่านี้รวมทั้งที่ได้ปรับนโยบายกับมาตรการไปส่วนหนึ่งไปในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา

แต่ญี่ปุ่นดูจะไปไกลกว่าโลกตะวันตก นายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ ได้พบหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีเต็งเส่งในอินโดนีเซียเมื่อวันศุกร์ และบอกผู้นำพม่าว่าญี่ปุ่นต้องการที่จะคืนความช่วยเหลือเฟื่อการพัฒนาให้แก่พม่าแบบเต็มอัตรา โดยเร็ว

นายกฯ ญี่ปุ่น กล่าวว่า ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าบริหารประเทศในเดือน มี.ค.ปีนี้ แต่ขณะเดียวกัน ก็ได้เร่งเร้าให้พม่าปล่อยนักโทษการเมืองให้หมด และปรับปรุงเงื่อนไขทางด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ โฆษกของญี่ปุ่นผู้หนึ่งเปิดเผยเรื่องนี้

ญี่ปุ่นเคยให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการหรือ ODA (Official Development Assistance) แก่พม่าอย่างเต็มที่ แต่ได้ลดทอนลงในปี 2546 แม้จะยังให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสืบต่อมาก็ตาม

ญี่ปุ่นประกาศฟื้นคืน ODA ให้แก่พม่าในเดือน มิ.ย.ปีนี้ แต่ก็ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่

ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายต่อพม่าต่างไปจากโลกตะวันตกและสหรัฐฯ ที่ใช้มาตรการคว่ำบาตรแข็งงกร้าว โดยญี่ปุ่นให้การสนับสนุนนโยบาย “การมีปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์” ของกลุ่มอาเซียน

กงล้อประวัติศาสตร์ในพม่ากำลังหมุนไปอย่างไม่หยุดยั้ง.
กำลังโหลดความคิดเห็น