xs
xsm
sm
md
lg

มองน้ำท่วมกรุงเทพฯ โฮจิมินห์หวาดผวา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพที่ทำให้ชาวโฮจิมินห์ผวาดหวา ถึงแม้ว่าหลายท้องถิ่นจะเคยเผชิญหน้ากับอุทกภัยหนักหน่วงมามากต่อมากก็ตาม แต่สำหรับนครใหญ่ที่สุดของเวียดนามเป็นอีกเรื่องหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าถ้าหากตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับในกรุงเทพฯ ขณะนี้ โฮจิมินห์จะถูกน้ำท่วมสูงถึง 1.7 เมตร โดยน้ำที่เอ่อล้นจากแม่น้ำไซ่ง่อน ระบบระบายน้ำกับระบบป้องกันน้ำท่วมมีสภาพย่ำแย่. -- Dan Tri Online. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- อุทกภัยใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ กับจังหวัดปริมณฑลในขณะนี้ กำลังทำให้ผู้เกี่ยวข้องในนครโฮจิมินห์ปริวิตกอย่างหนัก และหากไม่มีการป้องกันอย่างดีพอ และไม่แก้ไขแนวทางการพัฒนาเขตเมืองในปัจจุบัน นครใหญ่ที่สุดของเวียดนามก็จะมีชะตากรรมไม่ต่างกัน

โฮจิมินห์มีหลายเงื่อนไขที่คล้ายกับเมืองหลวงของไทย กล่าวคือ มีแม่น้ำไซ่ง่อนไหลผ่ากลางและเกิดสภาพดินทรุดอย่างต่อเนื่องในช่วงสองทศวรรษมานี้ ปัจจุบันหลายท้องที่พื้นมีระดับต่ำกว่าระดับน้ำทะเล

สภาพข้อเท็จจริง ก็คือ เพียงแต่ฝนตกลงมาห่าใหญ่ๆ สักครึ่งชั่วโมง ประชาชนในหลายอำเภอของนครใหญ่แห่งภาคใต้ก็จะลุยน้ำกันจ๋อมแจ๋มเป็นเวลาอีกหลายชั่วโมงต่อจากนั้น และการจราจรจะโกลาหลอย่างหนัก

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า หากเกิดเหตุการณ์เช่นในกรุงเทพฯ น้ำในแม่น้ำไซ่ง่อนจะเอ่อขึ้นท่วมฝั่งความสูงถึง 1.7 เมตร น้ำจะท่วมนาข้าวเสียหายหนักไม่ต่ำกว่า 60,000 เฮกตาร์ (375,000 ไร่) ในเขต อ.บี่งแถ่ง (Binh Thanh) ญาแบ๋ (Nha Be) ถูกดึ๊ก (Thu Duc) กู๋จี (Cu Chi) บี่งแจ๋ง (Binh Chanh) อำเภอที่ 3 อำเภอที่ 9 อำเภอที่ 7 และ อำเภอที่ 8

และหากเกิดฝนตกหนักลงมาสัก 100 มิลลิเมตร ประกอบกับผีซ้ำด้ำพลอยน้ำทะเลหนุน ก็จะเกิดน้ำท่วมขังกินบริเวณกว้าง แม้ว่าโฮจิมินห์จะอยู่ห่างจากทะเลหลายสิบกิโลเมตรก็ตาม

ปัจจุบันระบบระบายน้ำในท้องที่ที่มีการก่อสร้างหนาแน่นทั้งบ้านจัดสรรและถนนหนทางล้วนสภาพย่ำแย่ ระบบที่มีอยู่ดั้งเดิมยังไม่ได้พัฒนาตามความเจริญทางวัตถุด้านอื่นๆ

ผู้เชี่ยวชาญได้ศึกษาวิจัย และพบว่า นครโฮจิมินห์เกือบทั้งหมดทรุดตัวลงปีละ 2-3 ซม. โดยที่ยังไม่ได้มีการศึกษาสาเหตุหลัก แต่การวิจัยในกรุงจาการ์ตา กรุงเทพฯ และนครเซี่ยงไฮ้ ได้ข้อมูลตรงกันว่า สาเหตุสำคัญคือ การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป และการก่อสร้างอาคารสูง ยิ่งสร้างมากเมืองก็ยิ่งทรุดมากและทรุดเร็ว

หลายปีมานี้มีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่มากมายในโฮจิมินห์ แต่การควบคุมมาตรฐานยังหละหลวม ทำให้ระบบระบายน้ำทำงานหนักขึ้น ตลอดจนได้รับความเสียหาย ผลที่เกิดขึ้นก็คือ น้ำท่วมใหญ่อย่างในช่วงทศวรรษที่ 1990
.
<bR><FONT color=#000033>ปัจจุบันหากเกิดฝนตกลงมาห่าใหญ่ๆ สักครึ่งชั่วโมง ชาวโฮจิมินห์ค่อนเมืองก็จะลุยน้ำจ๋อมแจ๋มอีกหลายชั่วโมงต่อมา ต่อไปไม่แน่ อาจจะหนักยิ่งกว่าในกรุงเทพฯ ขณะนี้ เนื่องจากปัจจุบันระบบระบายน้ำทรุดโทรมจากการก่อสร้างที่ผุดขึ้นมาในทุกหัวระแหง และแผ่นดินทรุดลงเรื่อยๆ อันเป็นผลจากการพัฒนาที่ไม่สมดุล. -- Dan Tri Online. </b>
.

สภาพคล้ายกันนี้กำลังเกิดขึ้นในกรุงฮานอยเมืองหลวง นครด่าหนัง (Danang) ในภาคกลาง นครเกิ่นเทอ (Can Tho) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง กระทั่งในด่าลัต (Dalat) เมืองท่องเที่ยวตากอากาศสำคัญในเขตที่ราบสูงภาคกลาง ที่กำลังมีการก่อสร้างไปทั่ว

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกโดยรวมกำลังทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อย ซึ่งหมายความว่านครโฮจิมินห์ก็กำลังต่ำลงเรื่อยๆ การเกิดน้ำท่วมใหญ่อย่างกรุงเทพฯ คงเป็นเรื่องที่เลี่ยงได้ยาก และสิ่งที่ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีกก็คือ การบริหารจัดการน้ำที่อยู่เหนือขึ้นไปยังไม่มีประสิทธิภาพ

น่าเป็นห่วงคือ การปล่อยน้ำจากเขื่อนจิอาน (Tri An) เดิ่วเตียง (Dau Tieng) กับเฟื้อกฮวา (Phuoc Hoa) ใน จ.โด่งนาย (Dong Nai) ที่อยู่ติดกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูพายุ ทำให้โฮจิมินห์หวาดผวาอยู่เสมอ

นักวิทยาศาสตร์ได้เรียกร้องให้ทางการนครรีบปรับปรุงแก้ไขและสร้างเพิ่มเติมระบบระบายน้ำให้แข็งแรง ขุดลอกคูคลองสายต่างๆ อยู่เสมอ เฝ้าติดตามระดับน้ำและควบคุมการปิดเปิดประตูระบายน้ำให้ได้จังหวะ นอกเหนือจากควบคุมการก่อสร้างต่างๆ อย่างรัดกุม มิให้สร้างปัญหาแก่ระบบระบายน้ำโดยรวม และอื่นๆ

สามเดือนหลังอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ ประเทศไทยจะต้องจ่ายอย่างน้อย 3,000 ล้านดอลลาร์ (96,000 ล้านบาท) ในการเยียวผลกระทบ ขณะที่คาดกันว่าน้ำท่วมจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์

จนถึงสัปดาห์ต้นเดือนนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 380 คน อีก 2.3 ล้านคน ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมสูง

ปัจจุบันมีคนกว่า 113,000 คน ต้องอาศัยอยู่ในศูนย์บรรเทาภัย 1,700 แห่ง น้ำท่วมใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์ส่งผลกระทบหลายจังหวัดคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งหมด และกินเนื้อที่ราว 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั่วประเทศ นาข้าวเสียหาย 300,000 เฮกตาร์ (1,875,000 ล้านไร่) สำนักข่าวเวียดนามเอ็กซ์เพรสรายงาน
กำลังโหลดความคิดเห็น