xs
xsm
sm
md
lg

ชาวเขาขำนักวิทยาศาสตร์ กินหนูดึกดำบรรพ์ใกล้หมดป่า เพิ่งมาพบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>หนูหิน <i>(Laonastes aenigmamus)</i> ตัวแรกที่ชาวเวียดนามภูเขาเผ่ารุก (Ruc) จับไปให้นักวิทยาศาสตร์ดูก่อนผู้ทรงความรู้ทั้งหลายจะยืนยันว่าเป็นสัตว์ที่เคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ 11 ล้านปีก่อน เป็นชนิดเดียวกับที่พบในเขตภูเขาหินปูนแขวงคำม่วนของลาว เทียบกับขนาดของฝาครอบเลนส์ตัวโตทีเดียว คนในพื้นที่เรียกว่า กาเนคุง (Ka Ne Khung) หรือ หนูกระรอก นักวิทยาศาสตร์ตาสว่างแล้ว มันไม่ใช่สัตว์หายากอีกต่อไป แม้จำนวนจะลดลงมากก็ตาม.-- ภาพ: Dân Việt.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นักวิทยาศาสตร์ในเวียดนามได้ค้นพบครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งในเดือนนี้ แต่สำหรับชนชาติส่วนน้อยชาวเวียดนามภูเขาเผ่ารุก (Ruc) ใน จ.กว๋างบี่ง (Quảng Bình ) พวกเขาพากันแปลกใจปนขบขัน ต่อความสำเร็จของเหล่านักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่ค้นพบใหม่นี้ราษฎรในท้องถิ่นไปดักมากินเป็นอาหารมานานนับชั่วอายุคน

สัปดาห์ต้นเดือน ก.ย.นี้ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ประกาศการค้นพบ “หนูหิน” (Laonastes aenigmamus) เป็นครั้งแรกในดินแดนเวียดนาม หลังจากเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้เมื่อ 11 ล้านปีมาแล้ว จากซากดึกดำบรรพ์ที่พบในภาคใต้ของจีนเมื่อหลายปีก่อน และเป็นชนิดเดียวกันกับที่พบในเขตภูเขาหินปูน แขวงคำม่วนของลาวเมื่อปี 2548

หลังจากพบ 2 ตัวแรกเป็นเพศผู้หนึ่งกับเพศเมียอีกหนึ่ง ชนชาติส่วนน้อยชาวรุก (Ruc) ได้ไปดักมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ดูอีกเป็นจำนวนมาก หนังสือพิมพ์ซเวินเหวียด (Dân Việt) รายงาน

ชาวเขาในพื้นที่เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า “กาแนคุง” (Ka Ne Khung) ซึ่งมีความหมายว่า “หนูลิง” หรือ “หนูกระรอก” ซึ่งผู้คนชอบดักไปเป็นอาหาร เนื่องจากตัวโตเกือบเท่ากับพังพอน เนื้ออร่อย ต่างจากหนูทั่ว มันน่าจะเป็นกระรอกเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากรูปร่างหน้าตากับหางที่เป็นพวงนั่นเอง

นายกาวซวนจาย (Cao Xuân Chải) ชาวรุกผู้หนึ่งบอกกับผู้สื่อข่าวสัปดาห์ที่แล้วว่า ตัวกาเนคุงไปติดกับดักของเขาที่บริเวณใกล้หน้าผา ซึงตอนเป็นเด็กยังอาศัยกับคุณพ่อคุณแม่ในถ้ำ ก็ตับสัตว์ชนิดนี้ได้ทุกวัน

นายเจิ่นซวนตื๋อ (Trần Xuân Tú) ผู้ใหญ่บ้าน บอกว่า ทุกคนนำกาเนคุงมาทำเป็นอาหารเพราะคิดว่ามันเป็นเพียงหนูชนิดหนึ่งเหมือนหนูธรรมดาทั่วไป “แต่แล้ววันหนึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็เอารูปมันมาให้ดูแล้วบอกว่ามันเป็นสัตว์ที่เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ 11 ล้านปีก่อน และบอกให้พวกเราไปหามาให้ดู”

นางกาวซวนเอี๋ยน (Cao Xuân Yên) ราษฎรชาวรุกอีกคนหนึ่งไปเอามาให้ดู และนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนั่นก็ได้ยืนยันว่า มันเป็นหนูที่เชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปหลายล้านปีแล้วจริงๆ เป็นเรื่องที่พวกเราแปลกใจ เพราะว่ากินกันมาชั่วชีวิต นายซวนตื๋อ กล่าว
.
<bR><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่องค์การสัตว์ป่าและพืชระหว่างประเทศ ถือหนูหินล้านปีให้ช่างภาพได้ดู หลังนักวิทยาศาสตร์ประกาศการพบเป็นครั้งแรกในเขตป่าสงวนฟองญา-แกบ่าง (Phong Nha-Kẻ Bàng) ป่ามรดกโลกในเวียดนามที่อยู่ติดชายแดนแขวงคำม่วนของลาว แต่ชาวเวียดนามภูเขาในพื้นที่จับไปเป็นอาหารมาชั่วอายุคนแล้ว. -- Người Đưa Tin.</b>
.
ผู้ใหญ่บ้านรายนี้ กล่าวอีกว่า ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.ของทุกปีชาวรุกจะจับ “หนูลิง” ได้มากกว่าช่วงเดือนอื่นๆ แต่ก็ยอมรับว่า เริ่มจับได้น้อยลงในช่วงหลายปีมานี้ และในบางบริเวณเริ่มหายาก บริเวณที่เคยจับได้มากๆ เมื่อหลาสิบปีก่อนก็ไม่มีเหลือให้ดักอีกแล้ว

“เมื่อก่อนฉันก็ไม่รู้จักมันหรอก แต่ตอนนี้ฉันเริ่มเข้าใจแล้วว่า มันเป็นสัตว์ที่หายากขึ้นจริงๆ และอาจจะสูญพันธุ์จริงๆ ก็ได้ ฉันได้ขอให้ลูกบ้านหยุดล่าหยุดดักได้แล้ว” ผู้ใหญ่ตื๋อ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่เวียดนามกล่าวว่าการพบหนูหินชนิดนี้ ได้ช่วยพิสูจน์ว่า เขตป่าสงวนฟองญา-แกบ่าง (Phong Nha-Kẻ Bàng) รุ่มรวยด้านชีวะนานาพันธุ์มากกว่าที่คิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาทฤษฎีวิวัฒนาการใหม่ๆ ของสัตว์ รวมทั้งพวกที่เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วอีกบาง ซึ่งอาจจะยังมีอยู่ในป่าสงวนมรดกโลกแห่งนี้

นายฟานห่มถาย (Phan Hồng Thái) หัวหน้าเขตปาสงวนแห่งนี้กล่าวว่า การค้นพบที่สำคัญนี้ทำให้จะต้องอนุรักษ์หนูหินล้านปีอย่างจริงจังเสียที โดยเริ่มจากขอร้องไม่ให้ชนชาติส่วนน้อย ชาวเวียดนามภูเขาเผ่ารึก ออกล่าหนูหินล้านปีมาทำอาการอีก ซเวินเหวียดกล่าว

ตามประวัติแห่งการศึกษา นักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ ได้พบตัวที่ตายแล้วตั้งแต่ปี 2539 ที่ตลาดแห่งหนึ่งในเมืองท่าแขก แขวงคำม่วนของลาว ลักษณะของมันต่างไปจากหนูทั่วไป แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไรแน่ ต่อมาในปี 2541 นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ได้ไปอีก 3 ตัว และนำกลับไปศึกษาค้นคว้า

ตั้งแต่นั้นนักวิจัยของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าโลกได้กลับเข้าลาวอีกหลายครั้งและพบหนูชนิดเดียวกันนี้อีกหลายตัว ทำให้เริ่มเชื่อว่ามันไม่ได้หายากตามที่เชื่อกันมาก่อนหน้านี้
.
<bR><FONT color=#000033>พระเอกของเราที่อาจารย์ชาวอเมริกันกับนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยจับได้ในแขวงคำม่วน จึงได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็น <i>Laonastes aenigmamus</i> คำแรกมีความหมายว่า ผู้อาศัยอยู่ป่าในลาว คำหลัง สัตว์ประหลาด ถึงแม้บรรพบุรุษจะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ไปตั้งแต่ 11 ล้านปีก่อน แต่ก็มีพวกที่รอดชีวิตและวิวัฒนาการต่อมา ปัจจุบันประชากรกำลังลดลงเรื่อยๆ เพราะถูกล่าเป็นอาหาร.  </b>
.
วันที่ 13 มิ.ย.2548 ศ.เดวิด เรดฟีลด์ (David Redfield) ศาสตราจารย์เกียรติคุณแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา กับ นายอุทัย ตรีสุคนธ์ นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ได้ประกาศการพบหนูหินตัวเป็นๆ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ของแขวงคำม่วน และได้ถ่ายภาพเอาไว้ทั้งภาพนิ่งและภาพวิดีโอ แต่เพิ่งจะพบในเวียดนามเป็นครั้งแรก

ตามประวัติแห่งการศึกษา นักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ ได้พบหนูหินตัวที่ตายแล้วเมื่อปี 2539 ที่ตลาดแห่งหนึ่งในเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ลักษณะของทันต่างไปจากหนูทั่วไป แต่ยังไม่ทราบว่ามันเป็นอะไรแน่ ต่อมาในปี 2541 นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ได้ไปอีก 3 ตัว และนำไปศึกษาค้นคว้าที่หมาวิทยาลัยฟลอริดา

นักวิจัยของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าโลกได้กลับเข้าลาวอีกหลายครั้งตั้งแค่นั้นและพบหนูชนิดเดียวกันนี้อีกหลายตัว ทำให้เริ่มเชื่อว่ามันไม่ได้หายากตามที่เชื่อกันมาก่อนหน้านี้

วันที่ 13 มิ.ย.2548 ศ.เดวิด เรดฟีลด์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา กับนายอุทัย ตรีสุคนธ์ นักธรรมชาติวิทยาชาวไทย จึงได้ประกาศการพบหนูหินตัวเป็นๆ ครั้งแรกในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ของแขวงคำม่วน และได้ถ่ายภาพเอาไว้ทั้งภาพนิ่งและภาพวิดีโอ แต่เพิ่งจะพบในเวียดนาม

นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่า หัวกะโหลกของหนูหินไม่เหมือนกันหนูชนิดใดๆ ที่พบในโลก และรูปร่างลักษณะของมันก็มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่ต่างกับญาติของมันที่กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์มาตั้งแต่ช่วงปลายยุคไดโอซีน (Diocene) พบในมณฑลซานตงของจีน.
.
กำลังโหลดความคิดเห็น