xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามแก้ไม่ตก ผู้ป่วยหันใช้บริการโรงพยาบาลต่างประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้ป่วยชาวเวียดนามเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการเข้าคิวรอพบแพทย์เพื่อตรวจโรค แม้ว่าโรงพยาบาลจะเปลี่ยนเวลาตรวจรักษาให้เช้าขึ้น จากเวลา 8.00 น. เป็น 6.30 น. ก็ตาม แต่สถานการณ์ที่ต้องรอพบแพทย์เป็นเวลานานหลายชั่วโมงยังคงไม่เปลี่ยนแปลง. </font></b>

เวียดนามเน็ต - ทางการเวียดนามพบว่า ประชาชนชาวเวียดนามใช้จ่ายไปกับค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี แม้ภาคส่วนการให้บริการทางสุขภาพของประเทศจะพยายามพัฒนาอย่างมากก็ตาม แต่เนื่องจากการให้บริการที่ต่ำกว่ามาตรฐาน รวมทั้งแพทย์และพยาบาลที่ทำงานอย่างหนัก ส่งผลให้คนไข้ชาวเวียดนามไม่มีความสุขกับสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับทั้งการตรวจรักษา หรือเอาใจใส่ที่ดีมากนัก

นางเหวียน ถิ กิม เตียน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กล่าวกับรองนายกรัฐมนตรีในการประชุม ว่า ประชาชนชาวเวียดนามเสียค่าใช้จ่ายราว 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีในการดูแลรักษาสุขภาพที่โรงพยาบาลในสิงคโปร์ และว่าจำนวนผู้ป่วยชาวเวียดนามที่เดินทางไปไทย เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ เพื่อรักษาโรคมีสูงมาก ดังนั้น ชาวเวียดนามใช้จ่ายเงินไปกับการรักษาพยาบาลในต่างแดนสูงกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยชาวเวียดนามไม่ได้รับการรักษา หรือเอาใจใส่อย่างเต็มที่ในภาคส่วนให้บริการทางสุขภาพของเวียดนาม แม้ว่าภาคส่วนการให้บริการทางสุขภาพของประเทศได้พัฒนาตัวเองอย่างมากเพื่อให้ได้ระดับเดียวกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคหรือในโลก

ดร.เล แถ่งห์ หาย รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ยืนยันว่า แม้ชาวเวียดนามชื่นชอบการให้บริการและผลิตภัณฑ์ของต่างชาติ แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักทั้งหมด ต้องดูสถานการณ์ในโรงพยาบาลของเวียดนามจึงจะพบคำตอบว่าเหตุใดพวกเขาถึงเลือกใช้บริการในต่างประเทศ

สำนักข่าวเวียดนามเน็ตได้รายงานสถานการณ์การให้บริการทางสุขภาพในเวียดนามเพื่อยืนยันว่าเหตุใดผู้ป่วยชาวเวียดนามจึงหันไปใช้บริการในต่างประเทศดังภาพที่ปรากฏต่อไปนี้

ภาพจากสำนักข่าว VietnamNet
<br><FONT color=#000033> หญิงชาวเวียดนามคนนี้อุ้มลูกรอพบแพทย์อยู่นาน 3 ชั่วโมง. </font></b>
<br><FONT color=#000033>สภาพที่เห็นได้ทั่วไปในโรงพยาบาลของจังหวัดเหงะอาน ภาคกลางของประเทศ แม่ลูกคู่นี้นั่งรอจนหลับ เข้าคิวตั้งแต่ 6.00 น.จนถึง 10.00 น.ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะได้พบแพทย์. </font></b>
<br><FONT color=#000033>หลับรอก็แล้ว กดโทรศัพท์เล่นก็แล้ว ยังไม่มีทีท่าว่าจะถึงคิวสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ประกันสุขภาพ . </font></b>
<br><FONT color=#000033>แม้แต่ในโรงพยาบาลเด็กชั้นนำของประเทศก็มีสภาพแออัดและใช้เวลารอพบแพทย์นานไม่ต่างกับโรงพยาบาลแห่งอื่นๆ. </font></b>
<br><FONT color=#000033>โรงพยาบาลเค แผนกรักษาเนื้องอกสำหรับเด็ก เตียงผู้ป่วย 1 เตียง ต้องแบ่งใช้ 3-4 คน. </font></b>
<br><FONT color=#000033>เด็กแต่ละคนต้องมีคนดูแล 1-2 คน  บางครั้ง ภายในห้องขนาด 10 ตารางเมตร มีคนอยู่เกือบ 30 คน ในเวลากลางคืน เด็กๆ นอนบนเตียง ส่วนผู้ปกครองก็นอนตามพื้นห้อง. </font></b>
<br><FONT color=#000033>คุณหมอออกตรวจและฉีดยาให้กับผู้ป่วยในห้องพัก คุณหมอ 1 คน ต้องตรวจรักษาผู้ป่วย 60-70 คน ต่อวัน และบางครั้งอาจมากถึง 100 คน. </font></b>
<br><FONT color=#000033>ภายในโรงพยาบาลไม่พอนั่ง ล้นออกมาถึงด้านนอก. </font></b>
<br><FONT color=#000033>โรงพยาบาล Bach Mai ผู้ป่วยต้องแบ่งเตียงใช้ถึง 3 คน . </font></b>
<br><FONT color=#000033>บรรยากาศบริเวณแผนกให้คำปรึกษา สำหรับผู้ป่วยเนื้องอกและมะเร็ง ของโรงพยาบาลเค มีผู้ป่วยประมาณ 600-700 คน ใช้บริการในส่วนนี้ในแต่ละวัน บางครั้งมากถึง 1,000 คน แต่โรงพยาบาลมีห้องให้คำปรึกษาเพียง 10 ห้องเท่านั้น  . </font></b>
<br><FONT color=#000033>รอนานจนง่วง พื้นที่ส่วนไหนของโรงพยาบาลที่พอจะเอนนอนได้ตก็ถูกจับจองจนหมด. </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น