xs
xsm
sm
md
lg

WWF ระบุ โลมาอิรวดีในแม่น้ำโขงเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2550 โลมาน้ำจืดกำลังว่ายอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณจ.กระตี ห่างจากกรุงพนมเปญ ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 300 กม. กลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่า WWF ระบุว่า ควรดำเนินมาตรการช่วยเหลือโลมาน้ำจืดในแม่น้ำโขงอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ รวมทั้งกำหนดเขตคุ้มครองพิเศษ และคาดการณ์ว่าในกัมพูชาและลาวมีโลมาอิรวดีเหลืออยู่ประมาณ 85 ตัว.-- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>

ซินหัว - องค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ระบุในงานวิจัยชิ้นใหม่ที่เผยแพร่ในวันนี้ว่า ประชากรโลมาอิรวดี ที่เป็นสายพันธุ์โลมาที่พบในบริเวณแม่น้ำโขง อยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยล่าสุดพบว่ามีจำนวนเพียง 85 ตัวเท่านั้น

แถลงของ WWF ระบุว่า พบลูกโลมาที่มีชีวิตในจำนวนที่ต่ำมาก ส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าด้วยจำนวนประชากรโลมาที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนี้ กำลังลดจำนวนลงและมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์

ผู้อำนวยการโครงการคุ้มครองสัตว์น้ำจืด ของ WWF ระบุว่า การวิจัยมาจากการถ่ายภาพระบุเอกลักษณ์โลมาผ่านคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละตัวจากครีบหลังของโลมาตัวนั้นๆ ซึ่งโลมาส่วนมากสามารถระบุได้ และใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายประเมินขนาดประชากรโลมา

แม้ว่า จำนวนประชากรโลมาที่ประเมินจะสูงกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้า แต่จากการสำรวจที่เริ่มตั้งแต่ปี 2550 ถึงปี 2553 ก็แสดงให้เห็นว่า จำนวนประชากรโลมาค่อยๆลดลง

"หลักฐานระบุชัดเจนว่า มีลูกโลมาจำนวนน้อยมากที่อยู่รอดและเติบโตจนสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน โลมาอายุมากก็ตายลงแต่ไม่มีโลมาตัวใหม่มาทดแทน" นายหบี่บี่เฟิง (Li Lifeng) กล่าว

ทั้งอวนแหที่เป็นสิ่งกีดขวางในแม่น้ำและอัตราการตายของลูกโลมาในระดับสูง เป็นสิ่งน่ากังวลเป็นอย่างยิ่งต่ออนาคตของโลมา เจ้าหน้าที่คนเดียวกันกล่าว

โลมาอิรวดีในแม่น้ำโขงถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตั้งแต่ปี 2547

นายโต๊ดเสียงทานา (Touch Seang Tana) ประธานคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเขตการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโลมาแม่น้ำโขง ปฏิเสธข้อค้นพบของ WWF และว่าในปี 2553 พบโลมาเสียชีวิตจากแหจับปลาเพียง 4 ตัว ขณะเดียวกันก็พบลูกโลมาเกิดใหม่เพิ่ม 7 ตัว

เจ้าหน้าที่ผู้นี้ยังกล่าวอีกว่า จำนวนประชากรโลมาแม่น้ำโขงทั้งหมดในจ.กระตี และจ.สตึงเตรง มีอยู่ราว 155-177 ตัว เพิ่มจาก 100 ตัวในปี 2547.
กำลังโหลดความคิดเห็น