xs
xsm
sm
md
lg

ต่างชาติแห่ขุดทอง ไล่ชาวบ้านเขมรพื้นเหมือง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 13 ม.ค. 2554 ชาวกัมพูชากำลังแบกถุงหินจากเหมืองใต้ดิน ในจ.มณฑ,คีรี ห่างจากกรุงพนมเปญ ทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 550 กม. เหมืองโอคลอแห่งนี้เป็นแหล่งรายได้ของชาวบ้าน แม้จะทำกันอย่างผิดกฎหมายก็ตาม ขณะเดียวกันแหล่งทองคำของกัมพูชาก็เป็นที่สนใจของต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในภาวะที่ราคาทองคำกำลังเพิ่มสูง ชาวบ้านอาจต้องยุติการทำเหมืองลง เมื่อบริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินกิจการ. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>

เอเอฟพี - ท่ามกลางแสงแดดยามเที่ยงวัน ชายชาวกัมพูชารายหนึ่ง โผล่ออกมาช้าอุโมงค์ดิน พร้อมถุงที่เต็มไปด้วยหินบนหลังที่ได้จากเหมือง ซึ่งขุดขึ้นด้วยมือในพื้นที่ห่างไกลของกัมพูชา หรือรู้จักในชื่อ “ป่าทอง” หรือ “โกลด์ฟอร์เรสต์”

นายรีก๊วก (Ry Kuok) เป็นหนึ่งในชาวกัมพูชาอีกหลายร้อยคนที่ค้นหาโลหะสีเหลืองในหมู่บ้าน โอคลอ (O'Clor) จ.มณฑลคีรี ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ที่กำลังถูกคุกคามที่ทำกินโดยบริษัททำเหมืองแร่จากต่างชาติในยุคที่ทองคำกำลังมีราคาพุ่งสูง

หากวันใดโชคดี ชายอายุ 29 ปีผู้นี้ สามารถหารายได้จากการขุดทองได้ประมาณ 12.50 ดอลลาร์ นับว่าเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่ประชากร 1 ใน 3 มีรายได้ต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ต่อวัน

แต่งานเหมืองมีทั้งความอันตรายและยากลำบาก รวมทั้งยังเป็นการทำผิดกฎหมายอีกด้วย

ชาวกัมพูชานับหมื่นจากทั่วประเทศ ที่เข้าขุดหาทองในพื้นที่แห่งนี้ ได้รับการยอมรับอย่างเงียบๆ โดยรัฐบาลมานานหลายทศวรรษ แต่เสียงเริ่มเปลี่ยนเมื่อบริษัทต่างชาติเริ่มสนใจเข้ามาลงทุนในโครงการมูลค่าหลายล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองทอง ทำให้ไม่มีที่ว่างสำหรับนักขุดทองผิดกฎหมายเหล่านี้อีก

“ผมไม่ได้คาดหวังว่า เราจะสามารถขุดทองที่นี่ได้นาน” นายก๊วก กล่าว ขณะร่อนหินมองหาเศษทอง เขายังกล่าวว่า เหล่านักขุดทองท้องถิ่นได้รับแจ้ง มีบริษัทซื้อพื้นที่บริเวณนี้และไม่อนุญาตให้ชาวบ้านขุดเหมืองต่อไป

กัมพูชามีแหล่งทองคำอยู่อย่างน้อย 19 แห่ง ซึ่งดึงดูดความสนใจจากบริษัทเหมืองแร่ต่างชาติ ทั้งออสเตรเลีย จีน เกาหลีใต้ และ เวียดนาม แม้ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมประเมินว่ากัมพูชาสามารถสกัดทองคำได้นานไปอีกประมาณ 5 ปี แต่ก็ยังไม่มีใครทราบปริมาณที่มีอยู่ทั้งหมด

ในปี 2553 บริษัท โอซีมิเนอรัล จากออสเตรเลีย ประกาศว่า พบทอง 605,000 ออนซ์ ใน จ.มณฑลคีรี แต่เมื่อไม่นานนี้ได้ระบุว่าโครงการขุดเจาะอาจยุติลง

อย่างไรก็ตาม นายริชาร์ด สแตนเจอร์ ประธานสมาคมบริษัทสำรวจและทำเหมืองแร่กัมพูชา กล่าวว่า อุตสาหกรรมเหมืองแร่อาจจะเป็นส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชาในอนาคต

เหมืองโอคลอ ซึ่งดำเนินการอย่างผิดกฎหมาย ตั้งอยู่ในเปรยเมียส (Prey Meas) ที่แปลว่า Gold Forest ห่างจากเมืองแสนมโนรม (Sen Monorom) ของ จ.มณฑลคีรี ประมาณ 5 ชม. ผ่านเส้นทางขรุขระ

นักขุดทองอย่างนายก๊วกได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ในพื้นที่นี้ตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งกลายเป็นบ้านของเขาไปแล้ว

รัฐบาลกัมพูชาได้มอบสิทธิให้บริษัทจากจีนเข้าสำรวจโลหะมีค่าในผืนป่าแห่งนี้ และได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ซึ่งอยู่ถัดไปจากเหมืองโอคลอ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สัมปทานของบริษัท

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในบริเวณดังกล่าวระบุว่า บริษัทที่เข้าสัมปทานชื่อว่า Rong Chheng แต่รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับบริษัทหรือสัญญาสัมปทานนั้นมีเพียงเล็กน้อยและขาดความโปร่งใส นักวิจารณ์กล่าวว่า เป็นลักษณะปกติของการทำเหมืองในกัมพูชา

ราคาทองพุ่งสูงเป็นประวัติกาลในตลาดระหว่างประเทศและพุ่งไปถึง 1,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในเดือน เม.ย.เนื่องจากนักลงทุนต่างกักตุนไว้เมื่อต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อสูง

ขณะเดียวกัน นักขุดทองผิดกฎหมายในพื้นที่ “ป่าทอง” ก็สามารถทำรายได้จากการขายเศษทองให้กับผู้ค้าท้องถิ่นได้เงินหลายร้อยดอลลาร์ต่อเดือน

“เราอยู่รอดได้เพราะทองคำมีราคาสูงขึ้นในตอนนี้” นายสุมสุคูน (Sum Sokhon) อายุ 51 ปี กล่าว แต่ระบุว่าการใช้ชีวิตในเหมืองทองผิดกฎหมายไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะพื้นที่เต็มไปด้วยสิ่งสกปรก

“เรากังวลเกี่ยวกับสุขภาพของพวกเรา หลายคนล้มป่วย” นายสุคูน กล่าว

นายเกลน เค็นดอล (Glenn Kendall) ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNPD) ในกัมพูชา กล่าวว่า วัตถุอันตรายเช่น ปรอท หรือ ไซยาไนด์ มักนำไปใช้ในกระบวนการสกัดทองในเหมือทองผิดกฎหมาย และสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง

สารเคมีสามารถส่งผลให้เกิดอาการตั้งแต่ปวดหัวไปจนถึงทำลายระบบประสาท นอกจากนั้นมาตรการรักษาความปลอดภัยยังมีเพียงเล็กน้อย เหตุเหมืองระเบิดและอุโมงถล่มได้คร่าชีวิตคนไปแล้วหลายรายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่เหมืองโอคอลแห่งนี้

“การทอำเหมืองขนาดเล็กเป็นสิ่งที่อันตรายมาก” นายเคนดอล กล่าว

เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวด้วยว่า ปัญหาความยากจนผลักดันให้ประชาชนต้องกลายมาเป็นคนงานเหมืองผิดกฎหมาย ชะตากรรมของบรรดาคนงานผิดกฎหมายเหล่านี้อยู่ในมือของรัฐบาล หากมีกฎระเบียบที่เหมาะสม คนงานเหมืองขนาดเล็กก็จะสามารถอยู่ร่วมกับบริษัทเหมืองที่เป็นมืออาชีพได้

นายก้องประสิทธิ์ (Kong Pisith) หัวหน้าสำนักงานอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และพลังงาน จ.มณฑลคีรี กล่าวว่า คนงานเหมืองในป่าแห่งนี้ อาจต้องหยุดการทำเหมืองผิดกฎหมาย และว่าเมื่อเหมืองทองเริ่มดำเนินกิจการ ชาวบ้านจะไม่สามารถทำเหมืองที่นี่ได้อีก อาจไปเป็นคนงานให้กับบริษัทต่างชาติหรือเปลี่ยนอาชีพ
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 13 ม.ค. 2554 ก้อนแร่ที่ชาวบ้านขุดขึ้นมาจากเหมืองโอคลอ ในช่วงที่ราคาทองคำกำลังพุ่งสูง ชาวบ้านต่างทยอยเดินทางมาหาโชคจากการขุดทอง บางรายทำเงินได้มากถึง 12.50 ดอลลาร์ต่อวัน . -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 13 ม.ค. 2554 ชายชาวกัมพูชามองหาเศษทองคำในถาดร่อน. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 13 ม.ค. 2554  ผงทองที่สกัดได้จากเหมืองโอคลอ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่ยากจนในพื้นที่ห่างไกลของกัมพูชา. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น