xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามส่งออกข้าวลำบาก หลังพม่าตัดสินใจส่งออกอีกครั้ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มรอยเตอร์วันที่ 4 ส.ค. 2553 ชาวนาพม่าลากฟ่อนข้าวออกจากนา ชานกรุงย่างกุ้ง รัฐบาลพม่าประกาศส่งออกข้าวอีกครั้ง หลังหยุดส่งไปตั้งแต่ต้นปี ส่งผลให้เวียดนามต้องเจอกับคู่แข่งอีกรายนอกเหนือไปจาก ไทย ปากีสถาน และอินเดีย. --REUTERS/Soe Zeya Tun. </font></b>

เวียดนามเน็ต - พม่าวางแผนที่จะส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ 500,000 ตัน ในปี 2554 นี้ ขณะที่ ไทย ปากีสถาน และ อินเดีย เร่งเครื่องขายข้าวของตัวเอง จากปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เวียดนามต้องกดราคาข้าวส่งออกให้ต่ำลง เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาด

MRIA สมาคมข้าวของพม่า ได้แจ้งว่า รัฐบาลพม่ายกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกข้าว ซึ่งหมายความว่า นับตั้งแต่เดือน พ.ค.เป็นต้นไป ตลาดข้าวจะมีข้าวสำรองอีก 500,000 ตันจากพม่า ที่ราคาขายสามารถแข่งกับผู้ส่งออกรายอื่นๆ ได้ และคาดการณ์ว่า ประเทศรายได้ต่ำในทวีปแอฟริกา อิรัก และ ฟิลิปปินส์ จะหันมาซื้อข้าวจากพม่าแทนการซื้อข้าวจากเวียดนาม ไทย หรือ ปากีสถาน เช่นที่เคยทำในช่วงต้นปีที่ผ่านมา

นับตั้งแต่พม่าเปิดเผยการตัดสินใจที่จะส่งออกข้าวอีกครั้ง ราคาข้าวในตลาดโลกปรับลดลง และราคาข้าวผสมข้าวหัก 25% ของไทยปรับลดลง 5% เหลือ 440 ดอลลาร์ต่อตัน ส่วนข้าวของเวียดนาม มีราคา 430-435 ดอลลาร์ต่อตัน ขณะที่ข้าวปากีสถาน มีราคาขายที่ 450 ดอลลาร์ต่อตัน

นายหวี่งกงแท็ง ผู้อำนวยการบริษัท โฮจิมินห์ซิตี้ฟู้ด ยอมรับว่า บริษัทต้องเผชิญกับความยุ่งยากต่างๆ ในการหาสัญญาซื้อข้าวรายใหม่ เพราะราคาส่งออกลดลง ไม่เพียงข้าวคุณภาพต่ำเท่านั้น แต่ข้าวผสมข้าวหัก 5% ราคาอยู่ที่ 470-475 ดอลลาร์ต่อตัน และยังพบว่าเป็นการยากที่จะหาผู้ซื้อ แม้ว่าราคาจะลดลงไป 10 ดอลลาร์ต่อตันแล้วก็ตาม เมื่อเทียบกับราคาในเดือน เม.ย.

นับตั้งแต่ต้นปี 2554 นโยบายการปรับลดราคาขายข้าวให้ต่ำลงของไทย เป็นสาเหตุให้เวียดนามต้องเผชิญกับความลำบาก สำนักข่าวไซ่ง่อนเตี๊ยบถิ อ้างแหล่งข่าวว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 นักธุรกิจไทยเอาชนะผู้ส่งออกของเวียดนามได้ในการตกลงสัญญาส่งออกข้าวไปยังตลาดอินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์

“พวกเขา (นักธุรกิจไทย) ปรับลดราคาข้าวลงต่ำมาก เพื่อให้ได้สัญญาส่งออก ขณะที่ข้าวในประเทศในเวียดนามนั้น มีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ส่งออกเวียดนามไม่สามารถลดราคาลงได้มากกว่านี้ ส่งผลให้เราเสียโอกาสไป” ผู้อำนวยการบริษัทส่งออก กล่าว
<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มรอยเตอร์วันที่ 7 ธ.ค. 2553 คนงานฟิลิปปินส์ขนกระสอบข้าวขึ้นรถในบริเวณคลังสินค้าของสำนักงานอาหารแห่งชาติ ชานกรุงมะนิลา เวียดนามระบุว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 นักธุรกิจไทยเอาชนะผู้ส่งออกของเวียดนามได้ในการตกลงสัญญาส่งออกข้าวมายังตลาดฟิลิปปินส์ เพราะการปรับลดราคาขาย แต่เวียดนามไม่สามารถลดราคาลงได้มากกว่านี้ทำให้เสียสัญญาไป. --REUTERS/Romeo Ranoco. </font></b>
<br><FONT color=#000033>คนงานไทยประคองกระสอบข้าวที่กำลังบรรจุลงเรือสินค้าที่อยุธยา เมื่อวันที่ 27 ม.ค. อินโดนีเซียทำสัญญาซื้อข้าวจากไทย 820,000 ตัน หลังไทยออกนโยบายการปรับลดราคาขายข้าวให้ต่ำลง. --REUTERS/Sukree Sukplang. </font></b>
ในวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา ราคาข้าวที่ปลูกในฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ ในพื้นที่ราบปากแม่น้ำโขงลดลงต่ำสุด โดยราคาข้าวที่ยังไม่ได้สีตกลงเหลือ 400-500 ด่งต่อกิโลกรัมจาก 7,800 ด่ง

พ่อค้ารายย่อยที่รวบรวมข้าวจากเกษตรกรเพื่อขายให้กับผู้ส่งออก กล่าวว่า บริษัทส่งออกหลายรายระงับซื้อข้าวจากพวกเขาตั้งแต่สัปดาห์ก่อน

“อัตราดอกเบี้ยในตอนนี้สูงมาก แล้วเราก็ยังไม่สามารถหาสัญญาส่งออกใหม่ได้ ทำให้เราต้องพิจารณาใหม่อีกครั้งที่จะรับซื้อข้าวตอนนี้” ผู้อำนวยการบริษัทส่งออกข้าวรายหนึ่ง กล่าว

สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) ระบุว่า เวียดนามต้องส่งออกข้าวตามสัญญาจำนวน 4 ล้านตัน และจนถึงกลางเดือน พ.ค.ได้ส่งออกแล้วทั้งหมด 2.746 ล้านตัน มูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์ บรรดาเกษตรกรในพื้นที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในฤดูกาลเพาะปลูก ฤดูหนาว-ใบไม้ผลิ เสร็จแล้ว และเตรียมตัวที่จะปลูกในฤดูกาลต่อมา แต่ราคาข้าวภายในประเทศและส่งออกที่ลดลงนี้จะสร้างความยากลำบากให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างแน่นอน

นายฝ่าม กวาง เสี่ยว ผู้เชี่ยวชาญจาก Agromonitor บริษัทวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์ทางการเกษตร แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตลาดส่งออกข้าวในช่วงเวลานี้ว่า ไตรมาสแรกของปี 2554 เกษตรกรชาวเวียดนามยังมีอำนาจในการควบคุมตลาด แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 มีแนวโน้มอย่างมากว่าการควบคุมจะถูกโอนถ่ายไปยังผู้ประกอบการแทน และว่าผู้ส่งออกอาจประสบกับปัญหาใหญ่ในเดือนสุดท้ายของปี นับตั้งแต่หลายประเทศเริ่มเร่งการส่งออก แต่ความเดือดร้อนจะไม่ตกอยู่กับผู้ประกอบการแต่จะเป็นเกษตรกรมากกว่า
<br><FONT color=#000033>แม่ค้าขายข้าวนอนพักข้างกระบะที่มีข้าวอยู่เต็มในกรุงฮานอย เมื่อวันที่ 9 ม.ค. ราคาข้าวในประเทศปรับเพิ่มสูงกระทบราคาข้าวส่งออกที่ไม่สามารถปรับลดได้เท่ากับผู้ส่งออกจากประเทศอื่นๆ สร้างความยากลำบากในการหาสัญญาซื้อ โดยเฉพาะประเทศยากจนในแอฟริกา อิรัก และฟิลิปปินส์ อาจเปลี่ยนใจไปซื้อข้าวจากพม่าที่ราคาถูกกว่าแทน. --REUTERS/Kham. </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น