xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามยันกังวลหนักผลกระทบโครงการเขื่อนลาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเดือน ก.ย.2552 เกษตรกรเวียดนามพายเรืออย่างเร่งรีบในเวลาเช้าตรู่ เพื่อนำหัวผักกาดไปจำหน่ายไปให้ทันตลาดน้ำในแม่น้ำเหิ่ว (Hau) นครเกิ่นเทอ (Can Tho) นี่คือ ลำน้ำสายหลักในช่วงที่แม่น้ำโขงแยกออกเป็น 7 สาขาในเขตที่ราบปากแม่น้ำ แน่นอนที่สุด.. เขื่อนกั้นลำน้ำโขงนับ 10 แห่งจะทำให้สภาพที่เห็นอยู่นี้เปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย การขนส่งทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของประชากรราว 30 ล้านคนในภาคใต้เวียดนาม.--ASTVผู้จัดการออนไลน์.</b>

เวียดนามเน็ต -- นักวิทยาศาสตร์ของเวียดนาม ต่างกังวลถึงโครงการเขื่อนไฟฟ้าไซยะบุรีในลาว ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงของประเทศที่เป็นปลายน้ำ

นักวิทยาศาสตร์ชาวเวียดนาม รวมกลุ่มกันหารือในหัวข้อ “ไซยะบุรีและแหล่งน้ำแม่น้ำโขง” ที่จัดขึ้นโดยสหภาพสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนาม (VUSTA) เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยโครงการเขื่อนไซยะบุรี ตั้งอยู่ในภาคเหนือของลาว เป็นโครงการก่อสร้างเขื่อนแห่งแรกจากเขื่อนไฟฟ้าทั้งหมด 12 แห่ง ที่กำหนดให้สร้างบนแม่น้ำโขงเส้นหลัก ที่ไหลผ่านจากจีนลงมายังประเทศปลายน้ำ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม

นายโห่ อวี เลียม (Ho Uy Liem) รองประธาน VUSTA กล่าวว่า การก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีจะสร้างความเสียหายต่อพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม ที่เป็นที่อยู่ของประชาชนเกือบ 20 ล้านคน และเป็นแหล่งผลิตข้าวประมาณ 50% จากทั้งหมด รวมทั้งแหล่งผลิตอาหารทะเลถึง 70% และผลไม้อีก 70% จากผลผลิตทั้งหมดของเวียดนาม

“หากเขื่อนดังกล่าวสร้างขึ้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และส่งผลต่อแหล่งสำรองอาหารของเวียดนามและภูมิภาค” เลียม กล่าว

นายด่าว จอง ตื๋ (Dao Trong Tu) อดีตเลขาธิการเครือข่ายแม่น้ำเวียดนาม (VRN) ยืนยันว่า หากสร้างเขื่อนไซยะบุรี เขื่อนจะเหมือนเป็นกระสุนปืนใหญ่นัดแรกของการก่อสร้างเขื่อนแห่งอื่นๆ บนทั้งเส้นทางน้ำของแม่น้ำโขง และนาย Tu ยังเน้นย้ำว่า การก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนอีก 11 แห่ง ตามเส้นทางแม่น้ำโขงไม่ส่งผลดีต่อพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง

รายงานของ MRC ระบุว่า ประโยชน์ที่เวียดนามจะได้รับจากเขื่อนไซยะบุรีมีน้อยมากเมื่อเทียบกับความสูญเสียที่ประเทศจะได้รับ

นายตู๋ กล่าวว่า เขื่อนไฟฟ้าจะดำเนินการในรูปแบบของ สร้าง-บริหาร-โอนถ่าย (BOT) ในระยะเวลา 25-30 ปี โดยนักลงทุนเอกชนหรือจากต่างชาติ ดังนั้น ลาวจะได้รับประโยชน์จากเขื่อนเล็กน้อยประมาณ 676-806 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับรายได้ที่คาดว่าจะมีประมาณ 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี นอกจากนั้น อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงอีกด้วย เนื่องจากการออกแบบเขื่อนไซยะบุรี และอีก 11 เขื่อนที่เหลือบนแม่น้ำโขงสาขาหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตไฟฟ้า ไม่ได้ออกแบบให้ควบคุมน้ำท่วม และว่า หากเขื่อนไซยะบุรีสร้างขึ้น 55% ของความยาวแม่น้ำโขงเส้นหลักจะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำซึ่งจะทำลายสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของแม่น้ำ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณตะกอนน้ำของแม่น้ำโขงที่มีประมาณ 165 ล้านตันต่อปี ตะกอนประมาณ 50% จะถูกกักอยู่กับเขื่อนจีน และอีก 25% จะอยู่ตามเขื่อนปลายน้ำ ในขณะที่พื้นที่เกษตรประมาณ 13.8-16.8 ล้านไร่ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในเวียดนามและกัมพูชาจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากปริมาณตะกอนที่พัดมายังพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงจะลดลงจากในปัจจุบัน 26 ล้านตันต่อปี เหลือเพียง 7 ล้านตันต่อปี

งานวิจัยของเหวียนหือว์เทียน (Nguyen Huu Thien) ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนสัตว์ป่าโลกเวียดนาม ระบุว่า พื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงจะสูญเสียสัตว์น้ำอพยพจาก 220,000 เป็น 440,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าที่ 500-1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นักวิทยาศาสตร์จาก VRN กล่าวว่า ยังมีทางออกของพลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่จะตอบสนองกับการพัฒนาเศรษฐกิจแทนการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าบนแม่น้ำโขง

ทางด้าน นางเหวียน เฟือง งา โฆษกกระทรวงต่างประเทศเวียดนาม กล่าวถึงมุมมองของเวียดนามเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าบนแม่น้ำโขงที่รวมถึงเขื่อนไซยะบุรีว่า แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาสังคมและเศรฐกิจ รวมทั้งต่อจิตใจและวัฒนธรรมของผู้คนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ

ในฐานะที่ประเทศตั้งอยู่ตามแนวแม่น้ำโขง เวียดนามต้องการให้ชาติที่เกี่ยวข้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการศึกษาผลกระทบจากโครงการเขื่อนไฟฟ้าบนแม่น้ำโขงสายหลักอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจดำเนินการสิ่งใดๆ กับโครงการเหล่านี้ เพื่อเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมทางระบบนิเวศ และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วทั้งลุ่มแม่น้ำโขง และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกชาติและประชาชนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาค โฆษกเวียดนามกล่าว
<br><FONT color=#000033> ภาพแผนที่แสดงตำแหน่งจุดก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีบนแม่น้ำโขง ในภาคเหนือของลาว ซึ่งเป็น 1 ใน 12 เขื่อนที่จะสร้างขึ้นบนแม่น้ำโขง ทำให้เวียดนามที่เป็นประเทศปลายน้ำวิตกถึงผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนเหล่านี้ ที่อาจส่งผลให้ที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรอีกหลายชนิดได้รับผลกระทบไปด้วย. -- (ภาพ: vietnamnet). </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น