xs
xsm
sm
md
lg

กระเรียนหัวแดงอาจหายไปจากเวียดนามในอีก 3 ปีข้างหน้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพ ถ่ายชื่อว่า การกลับมาของฤดูใบไม้ผลิ โดยช่างภาพที่ชื่อว่าเจื่อง หวู ที่ถ่ายภาพนี้ไว้ได้ในบริเวณทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งอยู่อาศัยของนกกระเรียนหัว แดงในจังหวัดเกียนซยาง ในช่วงก่อนปี 2548 และในปัจจุบันพื้นที่บริเวณดังกล่าวถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ก่อสร้างโครงการ โรงงานผลิตซีเมนต์.-- ภาพ: Tuoi Tre. </font>

เตื่อยแจ๋ - การอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาลของกระเรียนหัวแดงโดยปกติจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง และดำเนินเช่นนี้มาเป็นเวลายาวนาน แสดงให้เห็นว่า จังหวัดเกียนซยาง (Kien Giang) ในพื้นที่ราบปากแม่น้ำโขงของเวียดนามประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากลับพบว่าการรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง

ทั้งพื้นที่เกษตรและสิ่งก่อสร้างเริ่มขยายวงกว้างรุกล้ำป่าและพื้นที่น้ำท่วมขังมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้นกหายากชนิดนี้อพยพมายังจังหวัดเกียนซางน้อยลง แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นที่สถานที่ดั้งเดิมที่นกชนิดนี้จะมาอาศัยอยู่นานหลาย 10 ปีแล้วก็ตาม

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติจัดให้นกกระเรียนหัวแดงเป็นนกสายพันธุ์หายาก และนกกระเรียนพันธุ์นี้มักจะอพยพย้ายถิ่นมาจากภาคเหนือของกัมพูชา และจากบริเวณป่าในพื้นที่ราบสูงภาคกลางของเวียดนามมายังพื้นที่น้ำท่วมขังในบริเวณที่ราบปากแม่น้ำโขงเพื่อหาอาหารระหว่างช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม แต่ในฤดูแล้งปีนี้กลับแตกต่างออกไป บรรดานกกระเรียนอาจเปลี่ยนเส้นทางอพยพไปยังทะเลสาบตนเลสาบของกัมพูชาแทนที่จะมาเวียดนามเหมือนก่อน

ผลการสำรวจของมูลนิธินกกระเรียนระหว่างประเทศ ระบุว่า ในฤดูร้อนปี 2552 มีนกกระเรียนหัวแดง 321 ตัว อพยพย้ายถิ่นมายังจังหวัดเกียนซาง และลดลงเหลือ 134 ตัว ในปี 2553 และมีเพียง 30 ตัวที่พบในพื้นที่แห่งนี้ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระบุว่า การลดลงของจำนวนนกกระเรียนมีสาเหตุหลักจากการที่ประชาชนรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ทุ่งหญ้าและเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทำเกษตรกรรม
<bR><FONT color=#000033>พื้นที่ ทุ่งหญ้ากว้างในจังหวัดเกียนซยางที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนหัว แดงเมื่อถึงฤดูการอพยพ้ายถิ่น ได้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นเขตก่อสร้างของบริษัทผลิตซีเมนต์.-- ภาพ: Tuoi Tre.</font>
ดร.เจิ่น เจี๊ยต ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธินกกระเรียนระหว่างประเทศประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า พื้นที่ชุ่มน้ำของจังหวัดเกียนซางได้รับการคุ้มครองเป็นอย่างดีเพื่อเป็นแหล่งอาหารของนกกระเรียนตั้งแต่ปี 2543 และก่อนหน้า แต่ในปี 2547 พื้นที่กว่า 18,000 ไร่ ที่เต็มไปด้วยหญ้าป่าที่เติบโตในพื้นที่ดังกล่าวและทำหน้าที่เป็นที่หลบภัยและแหล่งอาหารสำหรับนกกระเรียนถูกเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่เกษตร ใน 2 ปีถัดมา พื้นที่อีก 30,000 ไร่ ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทำการเกษตร และเมื่อไม่นานนี้ เจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดได้อนุมัติมอบที่ดินอีก 12,000 ไร่ ให้กับบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ และแบ่งสัดส่วนที่ดินให้บริษัทหินแกรนิต นอกจากนั้น บรรดาเกษตรกรท้องถิ่นใช้พื้นที่รวมประมาณ 200,000 ตารางเมตร และซื้อเครื่องจักรขุดคลองสร้างเขื่อนทำชลประทาน

ดร.เจี๊ยต ระบุว่า สิ่งหล่านี้ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของนกกระเรียน และนอกจากการรุกล้ำพื้นที่โดยมนุษย์แล้ว เพลิงไหม้ไฟป่ายังคุกคามบรรดานกกระเรียนเหล่านี้ด้วย แค่เฉพาะในปี 2553 ที่ผ่านมา เกิดเหตุไฟไหม้ 23 ครั้งทำลายพื้นที่ไปประมาณ 1,200 ไร่ และว่าหากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจไม่ได้เห็นนกกระเรียนกลับมายังพื้นที่นี้อีกในอีก 3 ปีข้างหน้า

นกกระเรียนหัวแดงเป็น 1 ใน 15 สายพันธุ์นกกระเรียนทั่วโลก และส่วนมากจะพบนกกระเรียนสายพันธุ์นี้ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อนกกระเรียนหัวแดงยืนจะวัดความสูงได้ 6 ฟุต ซึ่งมีความสูงมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และมีความกว้างปีกประมาณ 8 ฟุต
กำลังโหลดความคิดเห็น