xs
xsm
sm
md
lg

โชกโชนชีวิต.. สาวขายบริการในพม่าเป็นเทพธิดาคลินิกเอดส์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 4 พ.ค. ในกรุงย่างกุ้ง ขณะเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ทดสอบตัวอย่างเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีที่คลินิกพิเศษในโครงการท็อป ที่เป็นโครงการให้ความรู้และให้การรักษา ดำเนินการทั้งหมดโดยผู้ที่ทำงานค้าบริการทางเพศ. --AFP PHOTO. </font></b>

เอเอฟพี - ธิดา วิน สาวชาวพม่าที่ได้รับเชื้อเอชไอวีหลังจากขายบริการทางเพศให้กับลูกค้าบนถนนสายหนึ่งในกรุงย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงเก่าของพม่า ได้เปลี่ยนเส้นทางมาเป็นผู้ให้บริการทางสาธารณสุขให้กับผู้ร่วมอาชีพในประเทศที่บริการทางสาธารณสุขย่ำแย่

โครงการท็อป (Top) ที่ดำเนินการทั้งหมดโดยผู้ค้าบริการทางเพศ เป็นสถานที่รักษาและเป็นแหล่งอาชีพ ที่ช่วยให้หญิงสาวรายนี้แยกตัวออกมาจากมลทิน ทั้งจากการเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีและการค้าบริการทางเพศ

"ในตอนนี้ฉันทำงานเป็นพนักงานให้บริการทางด้านสาธารณสุขให้กับชุมชนของฉัน และช่วยให้ลืมความคิดว่าฉันมีเชื้อเอชไอวี ฉันภูมิใจกับงานในโครงการนี้ และคิดว่าจะทำงานให้กับพวกเขาไปตลอดชีวิต" หญิงสาววัย 33 ปี กล่าว

โครงการท็อปและโครงการทางสาธารณสุขที่คล้ายคลึงกันอื่นๆ เป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศที่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนทุนในภาคส่วนของการให้บริการทางสาธารณสุข รวมทั้งประชาชนขาดการศึกษา เป็นสาเหตุให้พม่าเป็นประเทศที่่มีการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีที่เลวร้ายที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย

"ฉันตรวจพบเชื้อตอนที่กำลังตั้งท้อง และพวกเขาบอกฉันถึงวิธีที่จะทำให้ลูกของฉันปลอดภัย ลูกของฉันไม่มีเชื้อเอชไอวี ฉันดีใจมาก" ธิดา วิน กล่าว

ตามตัวเลขเมื่อปี 2551 เกือบ 1 ใน 5 ของหญิงขายบริการทางเพศทั้งหมดประมาณ 60,000 คนในพม่าพบมีเชื้อเอชไอวี และ รายงานของสหประชาชาติเมื่อเดือนส.ค. 2553 กล่าวว่า ข้อจำกัดทางกฎหมายและการเลือกปฏิบัติทำให้เป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึงผู้ค้าบริการทางเพศซึงพม่าถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย

นายฮาบิบ ราห์มาน ผู้ก่อตั้งโครงการท็อปและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการ กล่าวว่า การให้บริการสถานที่ที่ปลอดจากข้อห้ามและปล่อยให้ประชาชนได้แบ่งปันปัญหาของกันและกันเป็นกุญแจสำคัญของโครงการ

"แม้แต่คนทำความสะอาดก็มาจากกลุ่มผู้ค้าบริการทางเพศ ที่ปรึกษาเองก็เป็นผู้ค้าบริการทางเพศ นั่นเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ตัดสินใจคัดเลือกคนมาจากชุมชน เพื่อจะได้ไม่มีการเลือกปฏิบัติ" นายราห์มานกล่าว

เขายังกล่าวอีกว่าผู้หญิงหลายคนที่ให้บริการทางเพศไม่มีความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น "ผมไม่คิดว่าจะมีการให้ความรู้เรื่องเพศในโรงเรียน"

โครงการนี้รับสมัครพนักงานที่เป็นอดีตหรือยังคงทำอาชีพค้าบริการทางเพศเพื่อช่วยให้ความรู้กับคนอื่นๆ เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลความรู้จากความไว้เนื้อเชื่อใจกันในกลุ่ม

"เราไม่สามารถบอกใครๆ ให้หยุดค้าบริการทางเพศได้ แม้แต่กับผู้ที่มีเชื้อบวกก็ตาม แต่สิ่งที่เราทำคือบอกพวกเขาถึงวิธีที่จะรักษาสุขภาพและป้องกันลูกค้าติดเชื้อด้วยการใช้ถุงยางอนามัย"

นายราห์มาน กล่าวว่า ผู้ให้ความรู้แบบชั่วคราวของโครงการเป็นผู้ที่เลือกจะค้าบริการต่อไป แต่ได้รับการร้องขอให้ป้องกันทุกครั้ง ขณะที่พนักงานของโครงการที่ทำงานเต็มเวลาจะต้องหยุดการขายบริการทั้งหมด
.
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 4 พ.ค. ในกรุงย่างกุ้ง เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ (ซ้าย) กำลังเจาะเลือดจากหญิงชาวพม่าเพื่อทดสอบหาเชื้อเอชไอวีที่คลินิกพิเศษในโครงการท็อป ซึ่งตั้งอยู่ใน 19 เมืองทั่วพม่า มีพนักงานทำงานอยู่ในโครงการทั้งหมด 350 คน โดย 95% ของพนักงานมาจากชุมชมเป้าหมาย. --AFP PHOTO. </font></b>
.
"มี้นมี้น" ซึ่งติดเชื้อเอชไอวีหลังจากการทำงานในซ่องโสเภณี หลังจากเธอเลิกรากับสามี กล่าวว่า ลูกค้าของเธอที่ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าปลาและถั่ว มักลังเลที่จะใช้ถุงยางอนามัย

"ฉันต้องเผชิญกับความรุนแรงจากลูกค้าที่ไม่ต้องการใช้ถุงยางอนามัย นั่นเป็นปัญหาใหญ่ ฉันคิดว่าลูกค้าไม่รู้เกี่ยวกับถุงยางอนามัย พวกเขาคิดว่ามันเป็นถุงพลาสติก" หนึ่งในผู้ให้ความรู้ในระหว่างกลุ่มเพื่อนของโครงการกล่าว และ เธอยังคงขายบริการให้กับลูกค้าเก่าของเธอจำนวนหนึ่ง

รายงานของสหประชาชาติระบุว่า การติดเชื้อโรคเอดส์ในพม่ามีสาเหตุเบื้องต้นจากการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้าบริการทางเพศและลูกค้า รวมทั้งชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายด้วยกันและคู่นอน ในขณะที่การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันมีโอกาสติดเชื้ออยู่ที่ 36%

รัฐบาลพม่าตั้งงบประมาณในส่วนของการให้บริการทางสาธารณสุขเพียงแค่ 0.9% ของงบประมาณทั้งหมด ในปี 2550 และปล่อยให้ประเทศผู้บริจาคดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาโรคเอดส์ในประเทศ

รัฐบาลชุดใหม่ของพม่าที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา หวังที่จะให้ประเทศผู้บริจาคลงทุนในส่วนของการให้บริการทางสาธารณสุขในประเทศเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่คาดว่าราว 20% ของงบประมาณปีนี้จะถูกแบ่งให้กับภาคส่วนทหาร

ในปี 2552 สหประชาชาติประเมินว่ามีชาวพม่า 240,000 คน ติดเชื้อเอชไอวี และ แม้จะมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น แต่สถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง อัตราการแพร่ระบาดของเอชไอวีเอดส์ในพม่าสูงเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชีย ตามหลังไทย กับปาปัวนิวกินี

นายโซ เนียง จากองค์กร UNAIDS ในพม่ากล่าวว่า "การแพร่เชื้อเอชไอวีในพม่ามีแนวโน้มลดลง และกลุ่มผู้ติดเชื้อมีจำนวนลดลงเช่นกัน แต่ยังคงมีจำนวนสูงอยู่" และ ประชาชนลังเลที่จะเข้าหาผู้ให้บริการรักษาเพราะประเด็นความเป็นส่วนตัวและคุณภาพของการให้บริการ

คลินิกของโครงการท็อปจัดหาให้ทุกอย่างตั้งแต่การตรวจทดสอบโรคและให้คำปรึกษาไปจนถึงการให้บริการทางการแพทย์ประจำวัน

ในปี 2553 ที่ผ่านมา คลินิกแห่งนี้ให้การรักษาและให้คำปรึกษากับหญิงค้าบริการแล้ว 11,770 คน และชายอีก 10,727 คน และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 และร้อยละ 82 ของผู้ที่เข้ารับการทดสอบเอชไอวีตามลำดับ

โครงการนี้ตั้งขึ้นโดยองค์กร Population Services International (PSI) เมื่อ 7 ปีก่อนปัจจุบันมีพนักงาน 350 คน โดย 95% ของพนักงานเป็นหญิงขายบริการและกลุ่มชายรักชาย ใน 19 เมืองของประเทศ

ในปี 2550 สหรัฐฯ ประเมินว่าชาวพม่าทุกๆ 1 ใน 3 คน มีสถานะอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน และปัญหาด้านการเงินเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ประชาชนต้องค้าบริการทางเพศ ซึ่งรวมถึงธิดา วิน ที่ยังคงเป็นเพียงนักศึกษาเมื่อเข้าสู่การค้าบริการทางเพศครั้งแรก

เธอกล่าวว่าปัญหาการเงินทำลายครอบครัวของเธอกับลูก เป็นเหตุผลที่ทำให้เธอตัดสินใจค้าบริการ.
กำลังโหลดความคิดเห็น