xs
xsm
sm
md
lg

เกย์หม่องน้อยใจขอเทียบชั้นเกย์ไทยให้สังคมยอมรับ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เกย์ชาวพม่า (กลาง) ร่วมชมงานแฟชั่นโชว์ในกรุงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2554 ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารนานเกือบ 50 ปี รวมทั้งความเชื่อทางศาสนา และสังคมแบบอนุรักษ์นิยม ทำให้ชาวเกย์หรือกลุ่มรักร่วมเพศต้องปกปิดสถานภาพตนเองไว้ .-- AFP PHOTO/Soe Than Win. </font></b>

เอเอฟพี - ทินโซ (Tin Soe) เริ่มตระหนักว่า ตัวเองจากเด็กผู้ชายคนอื่นๆ ในละแวกบ้าน เมื่ออายุได้เพียง 4 ขวบ แต่ด้วยการเติบโตในประเทศอนุรักษนิยม และปกครองโดยกองทัพ ทำให้ ทินโซ ต้องพยายามอย่างมาก เพื่อให้ความเป็นตัวตนของเขาได้รับการจากญาติพี่น้อง

“พี่สาวของปู่ผมบอกว่าถ้าผมบวชพระ ความรู้สึกเกี่ยวกับเพศของผมจะเปลี่ยนไป ผมบวชนาน 3 เดือน แต่ความรู้สึกเรื่องเพศของผมก็ไม่เคยเปลี่ยน” ชายวัย 30 ปี ในชื่อสมมติ กล่าว

ทินโซ ซึ่งทำงานรณรงค์ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ในกรุงเก่าย่างกุ้ง กล่าวว่า ด้วยนโยบายทางการเมือง มุมมองทางศาสนา และสังคมอนุรักษนิยมตามระบอบการปกครองเผด็จการทหาร ทำให้ชาวเกย์ในพม่าต้องปกปิดตัวตนไว้ แต่บรรดาชายรักชายก็ได้พัฒนาภาษาเฉพาะของตนเอง เพื่อใช้ในการสื่อความหมายและปกปิดเพศสภาพของพวกเขา

“เราต้องการเก็บเป็นความลับ และไม่ต้องการให้คนอื่นรู้สิ่งที่พวกเรากำลังพูด เราดัดแปลงการออกเสียง” ทินโซ กล่าว

สังคมชาวเกย์ของพม่ายังคงห่างไกลจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย ที่ชาวเกย์ได้รับการยอมรับในสังคม แม้ทั้งสองประเทศจะมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเช่นเดียวกันก็ตาม

พนักงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของพม่า อายุ 34 ปี กล่าวว่า ชาวพม่าจำนวนมากเดินทางไปไทย และได้พบเห็นสิ่งเหล่านั้น ในพม่าเกย์ยังคงถูกดูถูกดูหมิ่น เนื่องจากการรักร่วมเพศจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวกับผลกรรม ซึ่งหลายคนเชื่อว่า ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเกิดมาเป็นเกย์ เป็นเพราะในชาติก่อนเคยผิดประเวณี หรือข่มขืนผู้หญิง

นอกจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ถือเป็นความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้มาตั้งแต่ยุคอาณานิคม แม้จะไม่ได้บังคับใช้อย่างเคร่งครัดแล้วในตอนนี้ แต่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า กฎหมายเหล่านี้ยังคงถูกเจ้าหน้าที่พม่านำมาใช้เพื่อรีดไถ และเลือกปฏิบัติต่อชาวเกย์

“พวกเขาใช้กฎหมายเหล่านี้เป็นข้ออ้างเพื่อหารายได้และคุกคามผู้คน แต่พวกเขาไม่เคยนำคดีขึ้นสู่ศาล” นายอองเมียวมิน ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนพม่า สำนักงานในประเทศไทย กล่าว

นายมิน กล่าวด้วยว่า มีเหตุความรุนแรงทางเพศของชาวเกย์ เกิดขึ้นในที่สาธารณะเป็นจำนวนมาก แต่หลายเหตุการณ์ไม่ถูกรายงาน เนื่องจากเหยื่อเลือกที่จะเงียบ เพราะความอับอายหรือกลัวปฏิกิริยาตอบรับที่จะตามมา

ในประเทศที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพมานานเกือบ ทศวรรษ การพูดคุยถึงเรื่องการต่อต้านการเลือกปฏิบัติ หรือปัญหาสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นอ่อนไหวอย่างมาก

“ใครก็ตามที่เริ่มเรียกร้องสิทธิในชุมชนเกย์จะถูกส่งไปขังคุก” นักเคลื่อนไหวที่ทำงานรณรงค์ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเอดส์อีกรายหนึ่ง กล่าว

อินเทอร์เน็ตจึงเป็นช่องทางที่ทำให้ชาวเกย์ในพม่าได้พบปะกัน นับว่า มีความปลอดภัยกว่าพบปะกันในที่สาธารณะ ซึ่ง ทินโซ เอง ก็ได้พบกับแฟนหนุ่มของเขาผ่านเฟซบุ๊ก แต่ ทินโซ กล่าวว่า หลายคนกลัวที่จะนำภาพถ่ายของตนเองโพสต์ลงในเว็บไซต์เกย์

นอกจากนั้น การรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในด้านสุขภาพในกลุ่มชาวเกย์เป็นเรื่องที่ทำได้ยากในพม่า ตามรายงานของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติประจำปี 2553 ระบุว่า ในบางพื้นที่ เช่น กรุงย่างกุ้ง และ มัณฑะเลย์ ร้อยละ 29 ของชายรักชายพบว่ามีเชื้อเอชไอวีบวก

“เรามีนักเคลื่อนไหวจำนวนมากในพม่า แต่ไม่สามารถดำเนินการรณรงค์ได้อย่างเปิดเผยมากนัก เราจะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการในโรงแรม แต่จะไม่มีการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่หรือเครื่องขยายเสียง เราต้องดำเนินการไม่ให้เป็นที่สังเกตมากนัก” ทินโซ กล่าว

ขณะเดียวกัน กลุ่มหญิงรักหญิงก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องหลบซ่อนสถานะของตนเองในพม่า

แต่ อองเมียวมิน กล่าวว่า ผู้หญิงที่ต้องการเป็นผู้ชายจะได้รับการให้อภัยและยอมรับมากกว่าชายที่ต้องการเป็นหญิงในวัฒนธรรมที่ปกครองโดยทหารและสังคมชายเป็นใหญ่ แต่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่าสมัยที่เขายังเป็นวัยรุ่น ที่ผู้คนใช้หนังสติ๊กยิงใส่เมื่อพบเห็น

แต่ก็ยังคงเป็นหนทางอีกยาวไกลหากจะเป็นเช่นไทย ที่กลุ่มรักร่วมเพศได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมมากกว่าในพม่า

กำลังโหลดความคิดเห็น