xs
xsm
sm
md
lg

ขึ้นจากอุดรฯ โดนสอยในลาว 41 ปี สองเสืออากาศสหรัฐฯ จึงได้หลับอย่างเป็นสุข

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มจากเว็บไซต์กองทัพบกสหรัฐฯ ทีมค้นหาจากฮาวายซึ่งประกอบด้วยนักโบราณคดี นักชีววิทยาและนักมานุษยวิทยา รวมทั้งนักอาชญวิทยา ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายลาวขุดค้นหาหลักฐานในจุดเครื่องบินตกแห่งหนึ่ง ในป่าแขวงเซกองของลาว กระทรวงสหรัฐฯ เพิ่งจะฝังศพนักบินอีก 2 นาย ในวันศุกร์ 14 ม.ค.ศกนี้ หลังจากเครื่องบินตกในแขวงคำม่วนเมื่อ 41 ปีก่อน จนถึงวันนี้ยังมีทหารอเมริกากันอีกราว 300 คน ยังไม่ได้กลับจากลาว. </font>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ต้องใช้เวลานานถึง 41 ปี เสืออากาศอเมริกัน 2 คน ซึ่งเคยประจำการที่ฐานทัพสหรัฐฯ ในจังหวัดอุดรธานีของไทย จึงได้พักผ่อนอย่างสงบในบ้านเกิด แม้ว่าจะได้กลับไปยังสหรัฐฯ มานานถึง 5 ปีแล้วก็ตาม

ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามกำหนดการของกระทรวงกลาโหม พิธีฝังศพบุคคลทั้งสองก็จะมีขึ้นอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ 14 ม.ค.ศกนี้ ที่สุสานแห่งชาติฮิวสตัน-ฟอร์ตเวิร์ธ นครฮิวสตัน รัฐเทกซัส ถิ่นเดิมของพวกเขา

นาวาอากาศตรี โรเบิร์ต แอล ตุ๊กชี (Leon L Tucci) กับ นาวาอากาศเอก ยูจีน เดนนานี (Eugene F Dennany) จะถูกฝังพร้อมกันในพิธีเดียวกัน และ ในหลุมศพที่อยู่ติดกัน
<bR><FONT color=#000033>น.อ.เจมส์ ยูจีน เดนนานี (James Eugene Dennany) 41 ปีผ่านไปได้พบกับความสงบเสียที. </font>
เสืออากาศทั้งสองขึ้นบินทำหน้าที่คุ้มครองเครื่องบินติดปืน หรือ “Gunship” แบบ C-130 ที่ออกโจมตีขบวนลำเลียงของฝ่ายเวียดนามเหนือ บนเส้นทางโฮจิมินห์ในแขวงคำม่วนของลาว โดยนำเครื่อง F-4D (Phantom) บินขึ้นจากฐานทัพอุดรธานี และถูกปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานของข้าศึก เครื่องไอพ่นชั้นเยี่ยมที่ใช้ได้ในหลายภารกิจแห่งยุคนั้น ได้รับความเสียหายและตกลงในดินแดนลาว

นั่นคือ เป็นปฏิบัติการครั้งสุดท้าย ในคืนวันที่ 12 พ.ย.2512 อันเป็นช่วงที่สงครามเวียดนามกำลังร้อนระอุ

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ดัลลาสมอร์นิ่ง อัฐิกับสิ่งของเครื่องใช้ของ น.ต.ตุ๊กชี กับ น.อ.เดนนานี จะส่งตรงจากมลนครโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย ไปถึงฟอร์ตเวิร์ธ ในเช้าวันศุกร์นี้ และ ในระหว่างพิธีจะมีเครื่องบินรบ F-16 “Falcon” จำนวน 3 ลำ กับ F-4 ที่ปลดประจำการไปแล้วอีก 1 ลำ ขึ้นบินผ่านด้วย เพื่อเป็นเกียรติ

ในคืนที่เครื่อง F-4D ถูกยิงตก ทีมค้นหาไม่อาจจะขึ้นปฏิบัติการได้ เนื่องจากการยิงที่หนักหน่วงรุนแรงจากภาคพื้นดิน ประโยคสุดท้ายที่ได้ยินผ่านทางวิทยุจาก น.ต.ตุ๊กชี ซางทำหน้าที่นักบิน ก็คือ “ไฟกำลังไหม้..”

ตามรายงานของกระทรวงกลาโหม F-4D ที่ถูกยิงตกเป็น 1 ใน 3 ลำที่ออกปฏิบัติภารกิจเดียวกัน

ตามรายงานของลูกเรือ เครื่องบิน “Gun Ship” เข้าโจมตีรถบรรทุกของข้าศึกจำนวน 6 คัน ในนั้น 2 คันเกิดไฟลุกไหม้ แสงไฟที่สว่างจ้าทำให้เครื่องช่วยมองในเวลากลางคืนจากเครื่องบิน C-130 ไม่สามารถมองเห็นเป้าหมายที่เหลืออยู่ จึงขอให้ F-4 ของ น.ต.ตุ๊คชี เข้าโจมตี

ลูกเรือของเครื่อง C-130 ให้การว่า ระหว่างนั้นเห็นลำแสงปืนต่อสู้อากาศยานจากภาคพื้นดินพุ่งตรงขึ้นสู่เครื่อง F-4D เคราะห์ร้าย ติดตามด้วยเสียงระเบิดกึกก้อง ไม่ได้ยินเสียงวิทยุติดต่ออีก และ ไม่เห็นมีร่มชูชีพใดๆ..

สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากเวียดนามก่อนที่สงครามจะสิ้นสุดลงเดือน เม.ย.2518 แต่การสู้รบในลาวยังดำเนินต่อมาอีกหลายเดือน ซึ่งในช่วงนั้นหลายฝ่ายยังเชื่อว่า ยังมีทหารอเมริกันอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักบินกับลูกเรือที่ถูกยิงตก ยังคงถูกควบคุมตัวในค่ายลับๆ ของลาว แม้ว่าทางการคอมมิวนิสต์ปฏิเสธมาตลอด

เสืออากาศทั้งสองยังไม่ถูกประกาศเป็นผู้สูญหาย หรือ MIA (Missing in Action) จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2521 หรืออีก 9 ปีต่อมา เมื่อมีข้อมูลมากขึ้นจากเชลยศึกในลาวที่ได้รับการปล่อยตัว กระทรวงกลาโหมจึงประกาศให้เป็นผู้สูญหาย

(โปรดเลื่อนลงเพื่ออ่านต่อ)
 <bR><FONT color=#000033>เดือน พ.ย.ปีที่แล้วทางการลาวได้มอบอัฐิและสิ่งของเครื่องใช้ที่ขุดได้จากแหล่งเครื่องบินตก 3 จุด ในแขวงสาละวันกับเซกองในภาคใต้ เพื่อนำกลับไปพิสูจน์ในมลรัฐฮาวาย ไม่เพียงแต่จะมีการค้นหาทหารอเมริกันที่สูญหายเท่านั้น ในลาวขณะนี้ยังมีการค้นหา ทหารอาสาเวียดนาม ที่เสียชีวิตในช่วงสงครามด้วยเช่นกัน หลายปีมานี้ส่งกลับบ้านเกิดแล้วนับหมื่นราย.</font>
3

ปฏิบัติการของ "กันชิป"



แต่การค้นหาเริ่มขึ้นได้ก็อีกกว่า 10 ปีหลังจากนั้น เมื่อความร่วมมือด้านมนุษยธรรม ระหว่างสหรัฐฯ กับคอมมิวนิสต์ลาวเริ่มพัฒนาขึ้น

ในปี 2537 หรือ 25 ปี หลังจากวันที่เครื่องบินถูกยิงตก ทีมผสมเจ้าหน้าที่อเมริกัน-ลาว ได้ลงเก็บกู้มูลเป็นครั้งแรก โดยการสัมภาษณ์ราษฎรในท้องที่เกิดเหตุ

ในปลายปี 2538 ทีมค้นหาจากโฮโนลูลูจึงได้มีโอกาสเดินทางไปถึงจุดที่เครื่องบิน F-4D ตกเป็นครั้งแรก ขุดค้นอย่างละเอียดยุติลงโดยไม่ได้ข้อสรุปใด แม้จะพบซากเศษกระดูกของมนุษย์ในแหล่งขุดค้น แต่ก็ไม่สามารถสกัดดีเอ็นเอออกมาพิสูจน์ได้ ดัลลาสมอร์นิ่ง ระบุ

จนกระทั่งในปี 2542 ราษฎรลาวในท้องถิ่นคนหนึ่งจึงได้นำปืนพกกึ่งอัตโนมัติกระบอกหนึ่ง มอบให้กับฝ่ายสหรัฐฯ ซึ่งเป็นปืนประจำกายของ น.ต.ตุ๊กชี จึงเป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญ เป็นหลักฐานที่ช่วยยืนยันอีกทางหนึ่งว่า เจ้าของได้เสียชีวิตแล้ว

เสืออากาศทั้งสองถูกระบุตัวตนโดยปราศจากการพิสูจน์ดีเอ็นเอ แต่ด้วยหลักฐานและพยานแวดล้อม กับเครื่องมืออันทันสมัยทางอาชญวิทยาของหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ในนครโฮโนลูลู

ญาติๆ ของบุคคลทั้งสองที่ส่วนใหญ่ไปจากรัฐมิชิแกนที่อยู่ทางภาคเหนืออันเป็นพื้นเพเดิม จะเข้าร่วมในพิธีศพอย่างพร้อมหน้า แต่การกลับสู่บ้านเกิดก็สายเกินไปสำหรับนายลีออน เจ ตุ๊กชี (Leon J Tucci) บิดาของผู้พัน ซึ่งเสียชีวิตในปี 2552 หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันกล่าว

(โปรดเลื่อนลงเพื่ออ่านต่อ)
 <bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์กองทัพอากาศสหรัฐฯ เครื่องบิน C-130 เฮอร์คิวลีส แบบเดียวกับที่ปฏิบัติการในลาวและเวียดนาม ยิงพลุร้อนอันเป็นมาตรการป้องกันตัวเองระหว่างออกปฏิบัติการโจมตีทำลาย ใช้งานมานาน 50 ปี แต่พัฒนามาเป็นลำดับ ปัจจุบันมีใช้อยู่ในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก รวมเป็นจำนวนเกือบ 2 หมื่นลำ เป็นเครื่องบินขนส่งลำเลียงเอนกประสงค์ยอดนิยมตลอดกาล ผลิตโดยบริษัทล็อคฮี้ดมาร์ติน.</font>
4
<br><FONT color=#00033f>ภาพจากเว็บไซต์เครือข่ายวิทยุโทรทัศน์สหรัฐฯ ในประเทศไทย เป็นเครื่องบิน F-4B สองลำ ประจำการที่ฐานทัพอากาศอุดรธานี ซึ่งระบุว่าถ่ายวันที่ 15 พ.ย.2515 หรือ 2 ปีหลังจากเสืออากาศ 2 คนถูกยิงตก ในช่วงสงครามอินโดจีน แฟนธ่อม เป็นจ้าวเวหาอยู่ในย่านนี้. </b>
5

ภาพเหตุการณ์จริงของกองทัพอากาศ



ในปีแรกๆ ของสงคราม น.ต.ตุ๊กชี ได้เข้าประจำการที่ฐานทัพด่าหนัง (Danang) ในเวียดนาม ออกบินปฏิบัติการมาแล้วจำนวน 181 เที่ยว ทั้งในฐานะนักบินร่วมและเจ้าหน้าที่อาวุธ จากนั้นได้กลับไปฝึกอบรมในรัฐฟลอริดา เพื่อเป็นผู้บังคับฝูงบิน F-4 และ ได้อาสากลับสู่สมรภูมิในอินโดจีนอีกครั้ง คราวนี้ประจำการที่อุดรธานี

จากฐานทัพในประเทศไทย เสืออากาศที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ได้ออกบินปฏิบัติการด้วยตัวเองมาแล้ว 32 เที่ยว ก่อนจะขึ้นบินเที่ยวสุดท้าย

เมื่อสงครามยุติลง สหรัฐฯ ได้แจ้งให้ฝ่ายลาวทราบว่า มีทหารอเมริกันยังไม่ได้กลับจากประเทศนี้จำนวน 575 คน และ สื่อของทางการลาวกล่าวว่านับตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา ที่สองฝ่ายได้มีความร่วมมือกันในเรื่องนี้ รัฐบาลได้มอบอัฐิทหารอเมริกันให้ฝ่ายสหรัฐฯ แล้วทั้งหมด 240 ชุด และยังได้มอบเศษอัฐิ ซาก สิ่งของเครื่องใช้ที่เชื่อว่าเป็นของทหารอเมริกันอีกจำนวนมาก ให้ฝ่ายสหรัฐฯ นำกลับไปพิสูจน์

การค้นหาทหารที่สูญหายในสงครามเป็นภาระหน้าที่ของศูนย์บัญชาการร่วมค้นผู้สูญหายและเชลยศึก (U.S. Joint POW/MIA Accounting Command) ในฮาวาย หลายปีมานี้ได้ลงปฏิบัติการในพื้นที่มาแล้ว 116 ครั้งในลาว

วันที่ 16 พ.ย.ปีที่แล้วเป็นครั้งล่าสุด ฝ่ายลาวมอบกระดูกกับสิ่งของเครื่องใช้ของทหารอเมริกันอีกจำนวนหนึ่ง หลังจากคณะวิชาการของสองฝ่ายร่วมกันสำรวจและขุดค้นหา ในแขวงคำม่วน สะหวันนะเขตและเซกอง ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์ “กองทัพประชาชน” ที่ออกในนครเวียงจันทน์

ตามรายงานกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายครั้งล่าสุด ดำเนินไปเป็นเวลา 35 วัน เป็นการขุดค้นแหล่งที่เครื่องบินถูกยิงตกใน 3 จุดด้วยกัน รวมนักบินกับลูกเรือจำนวน 12 คน ซึ่งทุกคนจะต้องได้กลับบ้าน
กำลังโหลดความคิดเห็น