xs
xsm
sm
md
lg

จาก “ขปล.” เป็น “ขล.” สำนักข่าวลาวเปลี่ยนชื่อ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>ภาพทำขึ้นใหม่จากแถบชื่อบริการของสำนักข่าวสารปะเทดลาวในปัจจุบัน ทั้งภาษาลาวและภาษาอังกฤษ โดยจะเห็นมีทั้งคำว่า ข่าวสารปะเทดลาว (Khaosane Pathet Laos) กับ KPL ที่เป็นชื่อย่อ และ เขียนเป็น KPL News ในยามอ้างอิง แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีคำว่า Lao News Agency หรือ สำนักข่าวลาว อีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดความสับสนมาตลอด สำหรับผู้คนที่ไม่คุ้นเคย ทางการลาวใช้ชื่อเหล่านี้มานานกว่า 40 ปีและจะเปลี่ยนใหม่ในวันพฤหัสบดี 6 ม.ค.2554 นี้.</font>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- สำนักข่าวสารปะเทดลาว (Khaosane Pathet Laos) หรือ “ขปล.” เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ข่าวลาว” ที่สั้นลงกว่าเดิมและจำง่ายขึ้น ขณะที่สำนักข่าวของทางการแห่งนี้กำลังจะเริ่มขวบปีใหม่ที่สำคัญ

สำนักข่าวสารปะเทดลาวจะใช้ชื่อบริการภาษาอังกฤษเป็น Laos News หรือ “ข่าวลาว” แทนชื่อเดิม Lao News Agency ที่เคยใช้คู่กับ Khaosane Pathet Laos และ ทำให้เกิดความสับสนบ่อยๆ (โปรดดูรูปประกอบ)

ชื่อบริการใหม่นี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันพฤหัสบดี 6 ม.ค.2554 เป็นต้นไป อันเป็นวันครบรอบปีที่ 43 ของการก่อตั้ง ขปล.ประกาศเรื่องนี้ในช่วงวันสิ้นปีที่ผ่านมา ทั้งแสดงความหวังว่า ชื่อใหม่จะได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากมหาชนเช่นเดิม

“ในปีที่จะถึงนี้หนังสือพิมพ์ข่าวลาวรายวันจะทำอย่างถึงที่สุดเพื่อปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง ให้ทันกับการเรียกร้องต้องการของการพัฒนาประเทศชาติในยุคใหม่” ขปล.กล่าว ทั้งระบุว่า การเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นมติของคณะกรรมการบริหาร

สำนักข่าวสารปะเทดลาวก่อตั้งขึ้นในยุคที่ขบวนการปะเทดลาวกำลังนำประชาชนต่อสู้กับการครอบงำของสหรัฐฯ โดยนายสีซะนะ สีสาน อดีตผู้นำปฏิวัติคนหนึ่ง ที่เป็นโฆษกวิทยุคนแรกของรัฐบาลลาวฝ่ายต่อต้าน ภายใต้ร่มธง “พรรคประชาชนลาว” ในอดีต ซึ่งก็คือพรรคประชาชนปฏิวัติลาวในปัจจุบัน

หลังประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือน ธ.ค.2518 นายสีซะนะเป็นผู้แถลงข่าวของฝ่ายคอมมิวนิสต์ลาวที่ทั่วโลกรู้จักมากที่สุด ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าวคนแรก และ ดำรงตำแหน่งนี้ติดต่อกันมาอีกกว่า 10 ปี จนกระทั่งถึงเกษียนและถึงแก่กรรม

สำนักข่าวสารปะเทดลาวเป็นองค์หนึ่งในสังกัดกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม เป็นปากเสียงอย่างเป็นทางการของรัฐบาลลาว ถึงแม้ว่าหลายหน่วยงานจะได้ก่อตั้งสื่อของตนเองขึ้นมาอีกหลายแห่งก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์ประชาชนรายวันของศูนย์กลางพรรค และหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ของทางการนครเวียงจันทน์ เป็นต้น

ประเทศพัฒนามากขึ้นและสังคมเริ่มขยายตัวมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ปัจจุบันกระทรวงแถลงข่าวฯ ได้อนุญาตให้เอกชนตีพิมพ์เผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ได้อย่างหลากหลาย และอนุญาตให้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสีย กระทั่งสถานีโทรทัศน์ขึ้นมาได้

ทางการลาวยังอนุญาตให้กลุ่มทุนจากจีนกลุ่มหนึ่ง จัดตั้งและพัฒนาระบบโทรทัศน์ดิจิตอลผ่านดาวเทียมขึ้นมาอีกด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น