xs
xsm
sm
md
lg

ชินคันเซนเวียดแล่นไวปานจรวด ฮานอย-โฮจิมินห์ 5 ชั่วโมงครึ่ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากวิกิพีเดียที่ไม่ได้ระบุวันถ่ายทำ รถไฟหัวกระสุนชินคันเซน ซีรีส์ 300 และ 700 จอดที่สถานีแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว บริษัทที่ปรึกษาได้เสนอให้เวียดนามเลือกใช้ชินคันเซน รุ่นล่าสุดที่สามารถความเร็วระดับ 300 กม./ชม. ได้อย่างสบายๆ วิ่งเหนือ-ใต้ใช้เวลาเพียงประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง จาก 28-30 ชั่วโมงโดยรถไฟธรรมดาปัจจุบันนี้</FONT>

ASTVผู้จัดการรายวัน -- โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงฮานอย-โฮจิมินห์ได้ข้อสรุปแล้ว หลังจากบริษัท Japan Consultancy Joint Venture (VJC) ได้ทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการลงทุนในโครงการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย และ ด้วยระบบที่เลือกใช้จะทำให้สามารถร่นระยะเวลาเดินทางตลาดสายเหลือเพียง 5 ชั่วโมงเศษ จากที่เคยคิดคำนวณได้ 8 ชั่วโมงก่อนหน้านี้

ด้วยการใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงชินคันเซนของญี่ปุ่น และระยะทางตลอดสายที่มีความยาวถึง 1,570 กม. จะทำให้รถไฟสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 300 กม.ต่อชม.

ด้วยความเร็วขนาดนี้ จะทำให้สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยัง จ.นราธิวาส ทางตอนใต้สุดของไทยโดยใช้เวลาเพียงประมาณ 4 ชั่วโมง ด้วยระยะทาง 1,149 กม.

และด้วยอัตราเดียวกันนี้จะทำให้สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยัง จ.เชียงใหม่ ระยะทาง 696 กม.ด้วยเวลาเพียง 2 ชั่วโมงกับ 26 นาทีเท่านั้น

รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ-ใต้ของเวียดนาม จะมีสถานีจอด 27 แห่ง เริ่มต้นที่กรุงฮานอยไปสิ้นสุดที่สถานีหว่าฮืง (Hoa Hung) รอบนอกนครโฮจิมินห์ โดยใช้เวลาเพียง 5 ชม.กับ 30 นาที เท่านั้น

รถไฟระบบใหม่ยังสามารถร่นระยะทางให้สั้นลงได้อย่างมาก เทียบกับรถไฟธรรมดาสายเหนือใต้ที่ในปัจจุบันรวมระยะทางทั้งหมดกว่า 1,700 กม. และ ใช้เวลาเดินทางตลอดสาย 28-30 ชั่วโมง สื่อของทางการเวียดนามอ้างรายงานผลการศึกษา

บริษัทที่ปรึกษาได้เสนอให้เวียดนามเลือกใช้ระบบซินคันเซนรุ่นล่าสุด ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 55,800 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากที่เคยคิดคำนวณเมื่อปีที่แล้ว ที่เคยคาดว่าจะสูงกว่า 63,000 ล้านดอลลาร์

งบประมาณกว่าครึ่งหนึ่่งคือราว 31,000 ล้านดอลลาร์ จะใช้สำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนที่เหลือจะใช้ในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือและการปรับพื้นที่ในการก่อสร้าง
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ www.cknaus.net มีบรรยายใต้ภาพระบุว่า ถ่ายในเดือน เม.ย.2548 เป็นรถไฟหัวกระสุนชินคันเซ็นต่างรุ่นกันในกรุงโตเกียว บริษัทที่ปรึกษาได้เสนอให้รัฐบาลเวียดนามเลือกใช้ระบบล่าสุด   </FONT>
โครงการแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยจะก่อสร้างพร้อมกันทั้งหมด ตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ให้ไว้ตั้งแต่ปี 2551 เพื่อให้แล้วเสร็จและเปิดใช้บริการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

เฟสที่ 1 ช่วง ฮานอย-วีง (Hanoi-Vinh) จ.เหงะอาน (Nge An) คือส่วนทางเหนือ กับโฮจิมินห์-ญาจาง (Nha Trang) ใน จ.แค็งฮว๊า (Khanh Hoa) ซึ่งเป็นส่วนใต้ จะบริการได้พร้อมกันในปี 2563

เฟสที่ 2 ช่วงวีง-นครด่าหนัง (Da Nang) และ ด่าหนัง-ญาจาง ซึ่งเป็นช่วงกลางของเส้นทาง และเป็นช่วงยาวที่สุด จะเปิดใช้พร้อมกันในปี 2578 หรือ 15 ปี หลังจากเฟสที่ 1

บริษัท VJC เป็นบริษัทลงทุนร่วมกันระหว่าง บริษัทร่วมทุนที่ปรึกษาการก่อสร้างและลงทุนในการขนส่งของเวียดนาม (TRICC) กับ 3 บริษัทพันธมิตรจากญี่ปุ่น คือ บริษัทที่ปรึกษาด้านการคมนาคมขนส่งญี่ปุ่น (JTC) บริษัทให้บริการด้านเทคนิครถไฟญี่ปุ่น (JARTS) กับนิปปอนโคเอะ (Nippon Koei)
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพแฟ้มวันที่ 19 ส.ค.2549 ผู้โดยสารกำลังหิ้วสัมภาระที่สถานีรถไฟกรุงฮานอย อีกราว 10 ปีข้างหน้าที่นี่จะเป็นเพียงสถานีรถไฟชุมชนเช่นเดียวกับสถานีอื่นๆ ตลอดเส้นทางไปยังนครโฮจิมินห์ที่อยู่ไกลออกไป 1,5470 กม. และกำลังจะมีรถไฟฟ้าหัวกระสุนแล่นคู่ขนานไปตามรางที่กว้างขึ้นเป็นขนาด 1.435 เมตร </FONT>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 28 พ.ย.2552 ถ่ายจากรถโดยสารขณะแล่นข้ามทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ ในเขต อ.เติ่นบี่ง (Tan Binh) ทางตอนเหนือนครโฮจิมินห์ รถไฟหัวกระสุนที่จะสร้างขึ้นใหม่ จะไม่แล่นเข้าสู่เขตชั้นในของตัวเมือง แต่จะมีระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเมืองไปเชื่อมต่อถึงสถานี </FONT>
กำลังโหลดความคิดเห็น