xs
xsm
sm
md
lg

ตัวใครตัวมัน.. เวียดนามยันใช้เทคโนโลยีไฟฟ้าปรมาณูรัสเซีย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>มัจจุราชยามค่ำคืน-- เหตุเกิดวันที่ 16 เม.ย.2529 เวลาตีหนึ่งเศษ ทั่วทั้งยุโรปกำลังหลับไหล สหภาพโซเวียตในอดีตปิดเรื่องเงียบเอาไว้หลายวัน จนกระทั่งทั่วภูมิภาคตกใจตื่น เมื่อพบปริมาณกัมมันตะรังสีปนเปื้อนในอัตราสูง ตั้งแต่ยุโรปตะวันออกถึงสแกนดิเนเวียและยุโรปเหนือ มหันตภัยนิวเคลียร์เชรโนบีลยังอยูในความทรงจำของผู้คน และคำว่าเทคโนโลยีนิวเคลียร์รัสเซีย ยังทำให้ทุกคนผวาได้เสมอ อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเตาปฏิกรณ์แรกของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียดนามก็จะเริ่มทำงาน แตในสาธารณรัฐยูเครนกลายเป็นสุสานชั่วนิรันดร </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- เวียดนามได้ตัดสินใจเลือกเซ็นสัญญากับบริษัทพลังงานปรมาณูของรัสเซียเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวในวันอังคาร (9 ก.พ.)

"นี่เป็นการตัดสินใจในหลักการ ... เราต้องดูว่ามันมีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลสำเร็จ.. ดูเหมือนว่ารัสเซียจะดันเรื่องให้เป็นข้อตกลงทางยุทธศาสตร์ที่กว้างขึ้น" แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมนิวเคลียร์กล่าวกับเอเอฟพี

ข้อตกลงในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ตกเป็นของบริษัทรอสอะตอม (Rosatom) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านพลังงานปรมาณูของทางการรัสเซีย การไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) ได้แนะนำให้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างระยะแรก ทั้งนี้เป็นการรายงานของหนังสือพิมพ์นิกเกอิ (Nikkei) ในญี่ปุ่น ฉบับวันอังคารโดยอ้างแหล่งที่มาจากหลายแห่ง

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามยืนยันเรื่องที่นิเกอิรายงาน แต่เจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตรัสเซียยังไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของเวียดนามระยะแรกจะมีกำลังปั่นไฟ 2,000 เมกะวัตต์ เชื่อว่าจะได้รับอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีเหวียนเติ๋นยวุ๋งในเร็วๆ นี้

ระหว่างการเดินทางเยือนมอสโกอย่างเป็นทางการในเดือน ธ.ค. 2552 ที่ผ่านมา บริษัท EVN และ Rosatom ได้ทำการลงนามในบันทึกความร่วมมือ ในขณะที่นายยวุ๋ง กล่าวโดยไม่เปิดเผยรายละเอียดมากนักว่า เวียดนามได้รับเชิญอย่างเป็นทางการจากรัสเซีย "เพื่อความร่วมมือในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังปรมาณูแห่งแรกในเวียดนาม"
<bR><FONT color=#3366ff>แผนที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเท็กซัสในปี 2539 หลังเกิดเหตุ 10 ปี แสดงให้เห็นอาณาบริเวณที่ปิดตาย (สีแดง) อาณาบริเวณที่ต้องควบคุม และบริเวณที่ยังต้องเฝ้าจับตาความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ถึงวันนี้ผ่านไป 14 ปีแต่ความหวาดผวาต่อพิษภัยจากนิวเคลียร์ก็ยังคงดำรงอยู่ </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>อนุสรณ์สถานเชรโนบีลสร้างขึ้นพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิต ผู้พิกลพิการ ผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้ที่ล้มตายแบบผ่อนส่งเนื่องจากได้รับสารกัมมันตะรังสี กับอีกหลายพันคนที่ต้องพยพโยกย้ายถิ่นฐาน เตือนใจชนรุ่นหลัง </FONT></bR>
บันทึกดังกล่าวมาพร้อมกับข้อตกลงของรัฐบาลเวียดนามในการซื้อเรือดำน้ำและเครื่องบินรบ จากรัสเซีย

นอกจากนั้นจีน ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นรวมทั้งสหรัฐฯ ต่างแสดงความสนใจในโครงการพลังงานนิวเคลียร์ของเวียดนามเช่นกัน

ในเดือนพ.ย. 2552 รัฐสภาเวียดนามได้มีมติอนุมัติการสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แห่งแรก โดยรัฐบาลวางแผนให้ประกอบด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จำนวน 4 เครื่อง มีกำลังการผลิตรวม 4,000 เมกะวัตต์ โดยที่เตาปฏิกรณ์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องควรจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ตั้งแต่ปี 2563

นักวิจารณ์ออกทักท้วงที่เวียดนามยังขาดแรงงานที่มีคุณภาพสำหรับโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ และตัวบทกฎหมายที่ยังไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับสถานการณ์ให้เหมาะสม รวมทั้งยังมีช่องโหว่ในการจัดการรักษาความปลอดภัยด้วย
<bR><FONT color=#3366ff>เฉียดไปเฉียดมา-- แม้ในหลายประเทศที่มีเทคโนโลยีที่ได้รับความเชื่อถือเช่นเยอรมนี ก็ยังเกิดเหตุการณ์ที่เข้าใกล้กับหายนะได้ตลอดเวลา ภาพแฟ้มวันที่ 28 มิ.ย.2550 เกิดไฟไหม้ที่หม้อแปลงไฟฟ้า โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์กรูมเมล (Kruemmel) ห่างจากนครฮัมบวร์ก (Hamburg) ไปทางใต้ราว 30 กม. โชคดีกับไฟได้ทัน เตาปฏิกรณ์ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ  </FONT></CENTER>
ก่อนหน้านั้นเชื่อกันว่า เวียดนามจะเลือกเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นซึ่งพร้อมจะหาแหล่งสนับสนุนให้ทั้งด้านเงินทุนและอุปกรณ์ทันสมัย รวมทั้งช่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่กับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้

นักวิเคราะห์มองว่า เวียดนามเลือกเทคโนโลยีของรัสเซียในท่ามกลางความกังขาของชาวโลก ด้วยเหตุผลด้านการเมืองกับความมั่นคงปลอดภัยการซื้อเรือดำน้ำกับเครื่องบินรบ อาจจะช่วยยืนยันว่า เวียดนามกำลังพยายามกระชับความสัมพันธ์กับมหามิตรเก่า เพื่อถ่วงดุลกับการคุกคามจากจีน

อย่างไรก็ตาม เวียดนามเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วด้วยอัตราความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 10% ต่อปี.
กำลังโหลดความคิดเห็น