xs
xsm
sm
md
lg

หม่องยังเงียบข่าวจับ จนท.ปูดอุโมงค์ลับเกาหลีเหนือ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเรือสินค้าเกาหลีเหนือ กังนาม 1 (Kang Nam 1) จอดที่ท่าเรือย่างกุ้งวันที่ 21 พ.ค.2550 เรือรบสหรัฐฯ เฝ้าติดตามเรือลำนี้ตลอด สื่อทางการพม่ารายงานว่าจะเข้าเทียบท่าเรือย่างกุ้งอีกในเดือน มิ.ย.ปีที่แล้วเพื่อไปบรรทุกข้าว แต่แล้วก็ไม่ได้ปรากฎตัว โลกตะวันตกสงสัยกันว่าอาจจะบรรทุกอุปกรณ์นิวเคลียร์เข้าพม่า เพื่อส่งต่อไปยังอิหร่าน สายสัมพันธ์ระหว่างระบอบทหารพม่ากับคอมมิวนิสต์ลัทธิสตาลินเกาหลีเหนือมีมานาน </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์/อิรวดี - ทางกาพม่ายังไม่ได้ปริปากใดๆ เกียวกับข่าวที่ศาลพม่าตัดสินประหารชีวิตเจ้าหน้าที่ 2 คน และจำคุกเจ้าหน้าที่อีก 1คนฐานรั่วข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างอุโมงลับรั่วไหล รวมทั้งการรั่วข่าวการเยือนเกาหลีเหนืออย่างลับๆ ของ พล.อ.ตูราฉ่วยมาน ผู้นำหมายเลข 3 ซึ่งสำนักข่าวของชาวพม่าในต่างแดนระบุว่า เป็นการเยือนเพื่อเจรจาความร่วมมือเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์

การเยือนรัสเซียเพื่อเจรจาซื้ออาวุธ ของ พล.อ.ฉ่วยมาน เมื่อ 3 ปีก่อน ก็เคยเป็นข่าวรั่วไหลออกไป ผู้ถูกจับ 2 ใน 3 คน เป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวอิรวดี

สองคนแรกถูกตัดสินประหารชีวิตหลังจากถูกจับกุมตัวในปี 2552 ในข้อหาฐานส่งข้อมูลรายละเอียดและรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลไปยังสื่อในต่างประเทศ โดยข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับการเดินทางของผู้นำทางทหาร และการก่อสร้างอุโมงค์ของกองทัพในพม่าที่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเกาหลีเหนือ ส่วนบุคคลที่ 3 ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี

"เจ้าหน้าที่ 2 นาย ได้ถูกตัดสินประหารชีวิตและอีก 1 นาย ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี ฐานทำให้ข้อมูลความลับรั่วไหล พวกเขาถูกตัดสินลงโทษโดยศาลพิเศษภายในเรือนจำอินเส่ง กรุงย่างกุ้ง วันพฤหัสที่ผ่านมา" เจ้าหน้าที่นายหนึ่ง กล่าว

ผู้ต้องหาทั้งสองคนที่ถูกตัดสินประหารชีวิตนั้น คือ นายวินนายจอ (Win Naing Kyaw) เป็นทหารชั้นนายพันที่เกษียณราชการแล้ว และนายตูราจอ (Thura Kyaw) เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ส่วนชายที่ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี คือ นายเพียงเส่ง (Pyan Sein) เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเช่นกัน

การตัดสินลงโทษในพม่ามีโทษสูงสุดคือประหารชีวิต แต่การตัดสินมักจะสิ้นสุดแค่การจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น

การรั่วข่าวของบุคคลทั้งสามได้เปิดเผยให้เห็นสายสัมพันธ์ระหว่างคณะผู้นำทหารในพม่ากับคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ ตอดจนความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อความร่วมมือด้านอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างสองฝ่าย ส่งผลให้สหรัฐฯ เกิดความวิตกกังวลถึงความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะมีนโยบายใหม่เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารพม่าก็ตาม

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ได้กล่าวแสดงความห่วงใยต่อเรื่องระหว่างมาร่วมการประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในอินโดนีเซียเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ได้ชื่นชมทางการพม่าในขณะเดียวกันที่ได้หยุดดำเนินการเรื่องดังกล่าว ซึ่งหลังจากความลับรั่วออกไปได้ทำให้การดำเนินการทุกอย่างหยุดชะงักลง
<bR><FONT color=#3366ff>อุโมงค์ลับ?-- สำนักข่าวดีวีบีนำภาพนี้ออกเปิดเผยในเดือน มิ.ย.ปีที่แล้วโดยระบุว่า เป็นอุโมงค์ลับที่ผู้เชี่ยวชาญจากเกาหลีเหนือช่วยรัฐบาลทหารพม่าสร้างขึ้นมาในเขตเมืองหลวงเนย์ปีดอเพื่อเป็นที่หลบภัย สัปดาห์ที่แล้วศาลพม่าได้ตัดสินจำคุกนายทหารนอกราชการกับเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศรวม 3 คนฐานรั่วข้อมูลที่เกี่ยวกับเกาหลีเหนือและการเยือนรัสเซียของผู้นำทหาร.</FONT></bR>
การตัดสินคดีในวันพฤหัสสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติฉุกเฉินการทำให้ข้อมูลลับทางทหารรั่วไหล โดยเว็บไซต์นิตยสารอิระวดีที่มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทยระบุว่า ยังมีผู้ถูกตัดสินความผิดต้องถูกจำคุกในข้อหาเดียวกันนี้ที่กรุงย่างกุ้งอีกจำนวนหลายร้อยคน

ส่วนวินนายจอ ยังได้รับโทษจำคุก 20 ปี สำหรับการละเมิดกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการถือครองเงินตราต่างประเทศอย่างผิดกฎหมายด้วย โดยพระราชบัญญัตินี้ได้ห้ามการส่งข้อมูล ภาพถ่าย หรือภาพ ที่สร้างความเสียหายให้กับระบบการปกครองไปยังต่างประเทศผ่านทางอินเทอร์เน็ตด้วย

ข้อมูลลับทางทหารที่รั่วไหลในครั้งนี้จากชายทั้ง 3 คน ยังรวมถึงข้อมูลรายละเอียดการเดินทางของ พล.อ.ตูระ ฉ่วย มาน (Thura Shwe Mann) ผู้นำหมายเลข 3 ของรัฐบาลทหารพม่า ที่เดินทางไปยังเกาหลีเหนือ ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ เกี่ยวข้องกับการจัดหาอาวุธ การสร้างอุโมงค์ และเรื่องอื่นๆ เว็บไซต์สำนักข่าวอิระวดีกล่าว

ชายที่ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตและจำคุกทั้ง 3 คนนี้ ยังได้ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ที่ทำให้ภาพเครือข่ายอุโมงค์ลับที่สร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญจากเกาหลีเหนือในพม่ารั่วไหล เนื่องจากมีการนำไปเผยแพร่ในเดือน มิ.ย. โดยสำนักข่าวดีวีบี (Democratic Voice of Myanmar) หรือ “เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า” ที่ตั้งอยู่ในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์

นอกจากนั้นยังมีเอกสารที่แสดงให้เห็นว่า พล.อ.อาวุโส หม่อง เอ (Maung Aye) ผู้นำหมายเลข 2 ของรัฐบาลทหารพม่าได้เดินทางไปรัสเซียในปี 2549 เพื่อเจรจาเกี่ยวกับการจัดหาอาวุธและระบบจรวดนำวิถีกับเจ้าหน้าที่ของรัสเซีย ทั้งนี้เป็นการรายงานของเว็บไซต์ดีวีบีเมื่อวันศุกร์ (8 ม.ค.) ที่ผ่านมา

รัฐบาลพม่าไม่ได้ให้ความเห็นในข้อกล่าวหาเหล่านี้แต่อย่างใด.
กำลังโหลดความคิดเห็น