xs
xsm
sm
md
lg

พม่าสร้างเมืองบริวารอีก 3 แห่งรอบเมืองหลวงใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>ภาพรอยเตอร์วันที่ 4 ก.ค.2552 ป้าย ยินดีต้อนรับสู่เนย์ปีดอ ติดอยู่ริมทางมอเตอร์เวย์สายใหม่จากกรุงย่างกุ้งซึ่งเปิดให้ใช้อย่างไม่เป็นทางการ เนย์ปีดอเป็นป้อมปราการแห่งใหม่ของคณะปกครองทหารที่อยู่ในอำนาจมานายเกือบครึ่งศตวรรษ ที่นั่นปลอดการเดินขบวนประท้วงทุกชนิดที่เคยรบกวน และ ห่างไกลจากเรือปืนของนักล่าอาณานิคม </FONT></bR>

ซินหัว -- รัฐบาลทหารจะพัฒนา 5 เขตใหม่ขึ้นโดยรอบเมืองหลวง เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม 3 เมือง คือ เพียงมะนา (Pyinmana) เลเว (Lewe) กับเมืองทัตโคน (Tatkon) ที่ได้รับการพัฒนาในช่วงหลังจากการย้ายเมืองหลวงจากกรุงย่างกุ้งใหม่ๆ

นับตั้งแต่ขนย้ายศูนย์ราชการต่างๆ ไปที่นั่นในปี 2548 การก่อสร้างเหมืองหลวงแห่งใหม่ยังคงดำเนินต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งอาคารหน่วยงานของรัฐ ที่อยู่อาศัย ถนนสายหลัก ตลาด โรงแรมที่พัก ในบริเวณรอบเมือง แล้วเสร็จสมบูรณ์ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แต่ตัวเมืองก็ยังมีขนาดเล็กมากหากเทียบกับกรุงย่างกุ้ง

เขตเมืองที่กำหนดขึ้นมาในแผนการทั้งหมดใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อาวตารา (Oathara) เด็คกินา (Dekkina) ป็อบฟา (Poppha) ซาปุ (Zapu) และ เซยาร (Zeyar) ซึ่งมีฐานะเป็นเขตหรืออำเภอ ซึ่งเมื่อรวมกับส่วนที่สร้างเสร็จแล้ว เมืองหลวงใหม่เนย์ปีดอ ก็ตจะประกอบด้วยทั้งหมด 8 เขตบริหารหรือ 8 อำเภอ

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลทหารพม่ายังคงดำเนินการย้ายหน่วยงานของรัฐอีกจำนวนหนึ่งที่ยังอยู่ในกรุงย่างกุ้ง ไปยังที่ทำการแห่งใหม่ในเนย์ปีดอ ซึ่งเป็นช่วงของการโยกย้ายขั้นสุดท้ายหลังจากที่หน่วยงานส่วนใหญ่ได้ย้ายที่ทำการไปที่นั่นแล้ว ส่วนอาคารสำนักงานต่างๆ ของรัฐที่อยู่ในย่างกุ้งจะใช้ทำการในส่วนของสำนักงานภาคใต้ของประเทศแทน ทั้งนี้เป็นการรายงานของผู้สื่อข่าวท้องถิ่น

พม่าได้ย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปยังเนย์ปีตอตั้งแต่เดือน พ.ย. 2548 ที่นั่นอยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือราว 390 กม. โดยกรุงเนย์ปีดอตั้งอยู่ระหว่างแนวเขาพะโค (Bago) กับแนวเขาชาน (Shan) ทางทิศตะวันออก เมืองหลวงแห่งใหม่มีเนื้อที่ประมาณ 7,054.37 ตารางกม. และ ในปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 924,608 คน

หลังจากย้ายเมืองหลวงแห่งใหม่ รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นโดยมี นายโซตา (Zoe Tha) รัฐมนตรีวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งประธาน เพื่อจัดการประมูลอาคารที่รัฐเป็นเจ้าของบางส่วนในย่างกุ้ง การประมูลยังครอบคลุมถึงโครงการก่อสร้างที่พักอาศัยที่ดำเนินการภายใต้การดูแลของรัฐและแปลงที่ดินที่เกี่ยวข้อง
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพรอยเตอร์วันที่ 3 ก.ค.2552 ถนนสายหนึ่งในย่านนอกเมืองเนย์ปีดอที่ยังสร้างไม่เสร็จ ที่นั่นยังคงมีการก่อสร้างอะไรอีกหลายอย่าง หลังย้ายหน่วยราชการไปยังเมืองหลวงแห่งใหม่ตั้งแต่ปลายปี 2548 การก่อสร้างอาคาร สถานที่ จะยังดำเนินต่อไปตลอดทศวรรษข้างหน้า  </FONT></bR>
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้จัดสรรที่ดินในเนย์ปีตอให้กับพนักงานของรัฐที่ทำงานมายาวนานด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการพัฒนาเมืองหลวงแห่งใหม่ และให้สิทธิพิเศษแก่พนักงานของรัฐที่ทำงานรับใช้ประเทศมาแล้วอย่างน้อย 10 ปี และ อีก 2 ปีในเนย์ปีดอ สามารถซื้อที่ดินที่กำหนดไว้ได้

ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา คณะกรรมการพัฒนาเมืองเนย์ปีดอได้เชิญนักลงทุนในท้องถิ่นเข้าลงทุนพัฒนาเมืองหลวง โดยรัฐเสนอที่ดินให้เป็นการแลกเปลี่ยน และพัฒนาให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ แหล่งการค้า และ ศูนย์กลางทางหลวง

ในขณะเดียวกัน พม่ากำลังพัฒนาการคมนาคมขนส่งเชื่อมต่อกับเมืองหลวงเนย์ปีดอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองหลวง ประกอบด้วยทางหลวง 8 ช่องจราจรเส้นใหม่ เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเนย์ปีดอ และสร้างโดยบริษัทเอกชน 12 บริษัท ซึ่งจะเปิดให้ใช้อย่างสมบูรณ์ในเดือนมี.ค. 2553 นี้

ทางหลวงสายย่างกุ้ง-เนย์ปีดอ ระยะทาง 323.2 กม. เป็นส่วนหนึ่งในโครงการทางหลวงสาย ย่างกุ้ง-เนย์ปีดอ-มัณฑะเลย์ รวมระยะทาง 563 กม.
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพเอเอฟพีวันที่ 4 ก.ค.2552 พระมหาเจดีย์อุปปตศานติ ซึ่งจำลองแบบไปจากมหาเจดีย์ชเวดากอง ในกรุงย่างกุ้งก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ แต่ทำพิธีบวงสรวงและเปิดใช้ไปแล้วในเดือน มี.ค.ปีเดียวกัน ยังจะต้องมีการก่อสร้างอะไรต่างๆ อีกมากมายตลอดช่วง 10 ปีข้างหน้า รวมทั้งเขตเมืองบริวารอีก 3 แห่งด้วย </FONT></bR>
พม่ายังมีโครงการสร้างสถานีรถไฟขึ้นอีก 1 แห่งในเนย์ปีดอ ถัดจากสถานีในเพียงมะนาที่สร้างขึ้นในปี 2549 และ จะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้เพื่อให้การเดินทางไปยังเนย์ปีดอมีความสะดวกสบายมากขึ้น โครงการนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และสำรวจพื้นที่ก่อสร้าง

ทางการยังมีแผนการสร้างสวนสาธารณะ น้ำพุ สวนสัตว์ สวนบริเวณใจกลางเมือง และศูนย์การค้าแห่งใหม่อีก 42 แห่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนเมืองหลวงแห่งใหม่

ทางการยังมีแผนการก่อสร้างอาคารทันสมัยต่างๆ สำหรับหน่วยงานรัฐ ส่วนที่พักอาศัย โรงพยาบาลเอกชน ธนาคาร อาคารสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพพม่า (UMFCCI) และ โครงการศูนย์การค้าระดับนานาชาติ เป็นโครงการที่จะดำเนินไปตลอดทศวรรษข้างหน้า เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัยของเมืองหลวงแห่งใหม่ในอนาคต.
กำลังโหลดความคิดเห็น