xs
xsm
sm
md
lg

พม่ารณรงค์ลดถุงพลาสติกหนุนใช้กระดาษ-ผ้าและใบตอง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#663399>ภาพรอยเตอร์วันที่ 16 ก.ค.2552 ชายชาวพม่าเดินผ่านสถานที่ทิ้งขยะเขตชานกรุงย่างกุ้ง ทางการกำลังรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้วัสดุหีบห่อจากทำธรรมชาติแทน ถุงพลาสติกบางชนิดที่ต้องใช้เวลานานนับศตวรรษก่อนจะเปื่อยยุ่ยไป กระดาษหรือใบตองกำลังจะเป็นตัวเลือก</FONT></br>

ซินหัว - พม่าเตรียมลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในประเทศ โดยมีประเทศญี่ปุ่นช่วยพม่าผลิตพลังงานจากขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งในแต่ละวันทั่วกรุงย่างกุ้ง ทั้งนี้เป็นเปิดเผยของแหล่งข่าวในคณะบริหารกรุงย่างกุ้งกล่าวเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา

บรรดาประชาชนชาวพม่าได้รับการแนะนำให้จัดการแยกขยะพลาสติกออกไว้ต่างหากเพื่อให้สามารถจัดเก็บได้ง่ายก่อนนำไปเผากำจัด

พม่าเริ่มห้ามการใช้ถุงพลาสติกขนาดเล็กและบางตามเมืองต่างๆ มาตั้งแต่เดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ในตอนแรกโครงการห้ามใช้ถุงพลาสติกนี้เริ่มขึ้นที่เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) แหล่งท่องเที่ยวพุกาม และที่เมืองหลวงแห่งใหม่เนปิตอว์ (Nay Pyi Taw)

ส่วนในกรุงย่างกุ้ง แม้ว่าการห้ามใช้ถุงพลาสติกขนาดเล็กและบางยังไม่ได้เริ่มขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ แต่ทางเจ้าหน้าที่ได้สั่งให้ผู้ผลิตถุงพลาสติกหยุดการผลิตและให้เลิกอย่างเด็ดขาดตั้งแต่สิ้นเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา

ตามที่ทางการร้องขอไปยังผู้ผลิตเหล่านั้น เจ้าหน้าที่ได้ขยายเวลาให้อีก 4 เดือนเพื่อหยุดการผลิตถุงพลาสติก หากตรวจสอบพบว่าบริษัทผู้ผลิตเหล่านั้นยอมรับนโยบาย 3อาร์ (3Rs) การลด การใช้ซ้ำ และการแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดไว้

ในขณะเดียวกัน พม่าได้เปิดตัวโครงการเก็บขยะถุงพลาสติกในเมืองและการนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อนำไปผลิตเป็นท่อพลาสติกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยจำนวนของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกในกรุงย่างกุ้งที่มีโรงงานทั้งหมด 146 แห่ง การกำจัดถุงพลาสติกใช้แล้วในเมืองจึงมีมากกว่า 200 ตันต่อวัน

ทางเจ้าหน้าที่ได้เรียกร้องให้ประชาชนหันมาใช้ถุงกระดาษ ถุงผ้า หรือใบตอง แทนการใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุอาหารหรือใส่สิ่งของ เนื่องจากจำนวนถุงพลาสติกใช้แล้วในกรุงย่างกุ้งมีมากกว่า 31 ล้านตัน ที่ถูกกำจัดไปในแต่ละปี

นอกจากนั้นพม่าได้เริ่มโครงการสร้างเขตปลอดถุงพลาสติกที่เมืองมีตจีนา (Myitgyina) และเมืองสะกาย (Sagaing) ทางภาคเหนือของประเทศ เป็นการนำร่อง

โดยทั่วไปชาวพม่านิยมใช้ถุงพลาสติกขนาดเล็กใส่อาหารจากตลาดหรือร้านอาหาร หรือนำไปใส่ขยะก่อนโยนทิ้ง ซึ่งทำให้ปริมาณถุงพลาสติกที่กลายเป็นขยะมีจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน
กำลังโหลดความคิดเห็น